ขอตัวอย่าง วิบากจิต คะ....
คือชาติของจิต มี ๔ ประเภทนั้น....กุศลจิต อกุศลจิต กิริยาจิต....พอจะเข้าใจค่ะว่า
อย่างไรและที่เข้าใจว่า...กุศล อกุศล กิริยา นั้นมีเจตนาเป็นตัวแยกว่า เจตนานั้นเป็น
อกุศล หรือ กุศล หรือ ไม่เจตนาซึ่งคือกิริยาจิตของพระอรหันต์...
ส่วนวิบากจิตนั้น เป็นอย่างไรคะ ตัวอย่างเช่น จิตมักชอบคิดมาก คิดร้าย...อันนี้เป็น
วิบากจิตได้ไหมคะ หรือเป็นอกุศลจิต แต่เป็นเพราะเหตุว่ามันเป็นอนุสัย เป็นอาสวะ
เป็นความเคยชินของคนคนนั้น....ที่มักทำเช่นนั้นนี้เป็นผลของอกุศลกรรมที่เคยทำ
ไว้มานานแสนนานจึงเป็นปัจจัยนำไปสู่การมักคิดแบบนั้น
ถูกหรือผิดคะ หากผิดขอตัวอย่างของวิบากจิตด้วยค่ะ
กราบขอบพระคุณค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จิตเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้ เมื่อจิตเกิดขึ้น
ก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เจตสิกที่มี 52 เจตสิก ประกอบกับจิตเกิดร่วมกับจิต ทำให้
จิตมีความแตกต่างกันไป ตามเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ครับ จิต จึงแบ่ง เป็นชาติ 4 ชาติ
ครับ ซึ่งก่อนอื่นก็เข้าใจ คำว่า ชาติก่อน ครับ
ชาติ ไม่ได้หมายความว่าเป็นชาติต่างๆ เช่น ชาติไทย ชาติจีน ฯลฯ และ ไม่ใช่ ชน
ชั้นวรรณะแต่เป็น "สภาพของจิต" ชาติ (ชา- ติ) จึงหมายถึงการเกิด คือ การเกิดขึ้น
ของจิตและเจตสิกเกิดขึ้น ต้องเป็นชาติหนึ่ง ชาติใด คือ กุศลชาติ อกุศลชาติ วิบาก
ชาติ กริยาชาติ จะไม่เป็นชาติหนึ่งชาติใดไม่ได้เลย ครับ
ชาติของจิต หรือ ประเภทของจิตที่มีการเกิดขึ้น มี 4 ชาติ ดังนี้ ครับ
1.กุศลจิต หรือ กุศลชาติ2.อกุศลจิต หรือ อกุศลชาติ3.วิบากจิต หรือ วิบากชาติ4.กิริยาจิต หรือ กิริยาชาติ
กุศลชาติ กุสล (กุศล) + ชาติ (การเกิด , จำพวก , หมู่ , เหล่า , ชนิด) คือ การเกิดที่เป็นกุศล , จำพวกกุศล หมายถึง กุศลจิต ๒๑ ดวง และเจตสิกที่เกิด
ร่วมด้วย เป็นชาติที่เป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบาก เมื่อจิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ มีเจตสิก
เกิดร่วมด้วยหลายดวงทั้งจิตและเจตสิกจะต้องเป็นชาติเดียวกัน เช่น ขณะที่เมตตา
เกิดขึ้น ขณะนั้น จิตเป็นกุศลจิต ประกอบด้วยเจตสิกที่ดี มี ศรัทธาเจตสิก เป็นต้น
อกุศลชาติ อกุสล (อกุศล) + ชาติ (การเกิด , จำพวก , หมู่ , เหล่า , ชนิด) คือการเกิดเป็นอกุศล , จำพวกอกุศล หมายถึง อกุศลจิต ๑๒ ดวง และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็นชาติที่เป็นเหตุให้เกิดอกุศลวิบาก เช่น โลภมูลจิต จิตที่ติดข้อง โทสะ
มูลจิต เป็นต้น
วิบากชาติ วิปาก (ความสุกวิเศษ , ผล) ชาติ (การเกิด , จำพวก) คือการเกิดเป็น
วิบาก , จำพวกวิบาก หมายถึง วิบากจิต ๓๖ ดวง และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็น
ชาติที่เป็นผลของกรรม คือ กุศลวิบากเป็นผลของกุศลกรรม อกุศลวิบากเป็นผลของ
อกุศลกรรม เช่น ขณะที่เกิด ปฏิสนธิจิต เป็นผลของกรรม ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น
ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส เป็นต้น เป็นวิบากจิต ที่เป็นผลของกรรมในชีวิตประจำวัน
กิริยาชาติ กิริยา (สักว่ากระทำ) + ชาติ (การเกิด , จำพวก , หมู่ , เหล่า , ชนิด) การเกิดเป็นกิริยา , จำพวกกิริยา หมายถึง กิริยาจิต ๒๐ ดวงและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็นชาติที่ไม่ใช่เหตุ และไม่ใช่ผล เพียงเกิดขึ้นกระทำกิจการงานแล้วก็ดับ
ไปเท่านั้น เช่น จิตของพระอรหันต์ ขณะที่เกิดจิตที่ดี ของท่าน แต่เป็นกิริยาจิต เป็นต้น
การศึกษาเรื่องชาติของจิต หรือ ประเภทของจิต จึงเป็นไปเพื่อเข้าใจความจริง
ของจิต ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ทำให้รู้จักตนเองตามความเป็นจริง เพราะตนหรือ
เราก็คือ จิต เจตสิกที่เกิดขึ้นเป็นไป และเมื่อเข้าใจว่าเป็นแต่เพียงความเป็นไปของจิต
แต่ละชาติ แต่ละประเภท ปัญญาที่เข้าใจดังนี้ ก็ค่อยๆ เป็นไปเพื่อไถ่ถอนความยึดถือ
ว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล ละความเห็นผิด เป็นสำคัญ นี่คือ ประโยชน์ของการศึกษา
เรื่องชาติของจิต คือ เข้าใจว่ามีแต่ธรรม ไม่ใช่เรา ครับ
วิบากจิต คือ จิตที่เป็นผลอันสุกวิเศษ หมายถึง จิตที่เป็นผลของกรรม เมื่อ
กรรมมีทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม วิบากจิตซึ่งเป็นผล จึงมีทั้งที่เป็นกุศลวิบากจิต
๒๙ ดวง และอกุศลวิบากจิต ๗ ดวง รวมวิบากจิต ๓๖ ดวง ซึ่ง วิบากจิต ก็
เช่น ปฏิสนธิจิต ทวิปัญจวิญญาณจิต 10 เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน เป็นต้น ภวังคจิต
เป็นต้น
ซึ่งจากคำถามที่ว่า
ส่วนวิบากจิตนั้น เป็นอย่างไรคะ ตัวอย่างเช่น จิตมักชอบคิดมาก คิดร้าย...อันนี้
เป็นวิบากจิตได้ไหมคะ หรือเป็นอกุศลจิต แต่เป็นเพราะเหตุว่ามันเป็นอนุสัย เป็น
อาสวะเป็นความเคยชินของคนคนนั้น....ที่มักทำเช่นนั้นนี้เป็นผลของอกุศลกรรม
ที่เคยทำไว้มานานแสนนานจึงเป็นปัจจัยนำไปสู่การมักคิดแบบนั้น
- ขณะที่จิตคิดมาก ขณะที่จิตคิดทางใจ ที่เป็นกุศลจิต อกุศลจิตที่คิดมาก ไม่ใช่
วิบาก ไม่ใช่ผลของกรรม เพราะ เป็นจิตชาติ กุศล ชาติ อกุศล ครับ ขณะนั้นเป็นเหตุ
ที่เป็นกุศลจิต อกุศลจิต ไม่ใช่ผลที่เป็นวิบาก เพราะฉะนั้น วิบากที่มีในชีวิตประจำวัน
เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส เช่น รู้ร้อน รู้เย็น รู้อ่อน รู้แข็ง เป็นต้น
เป็นวิบากในชีวิปตระจำวัน ขณะที่ภวังคจิตเกิดขึ้น ก็เป็นวิบาก ขณะที่หลับสนิท
ภวังคจิตเกิดต่อเนื่อง เป็นจิตที่เป็นผลของกรรม ขณะที่เกิด ขณะแรก ปฏิสนธิจิต
ก็เป็นผลของกรรม ขณะที่ตาย คือ ขณะจุติจิตเกิดขึ้น ก็เป็นผลของกรรม ครับ รวม
ความว่า เมื่อกล่าวถึง วิบากจิต จะต้องเป็นผของกรรม ที่เกิดจากเหตุที่เป็นกุศลกรรม
อกุศลกรรมที่ได้ทำมา ทำให้เกิดวิบาก คือ เกิดปฏิสนธิจิต เกิดวิบาก คือ เห็นดี ไม่ดี
ได้ยินเสียงดี ไม่ดี เป็นต้น ครับ ดังนั้นขณะที่คิดมาก คิดร้าย ด้วยอกุศล เป็นอกุศล
จิต คิดทางใจ ไม่ว่าจะคิดอย่างไร ในทางกุศล อกุศล ไม่ใช่วิบาก แต่เป็นกุศลชาติ
อกุศลชาติ หรือ กิริยาจิตก็ได้ หากเป็นการคิดของพระอรหันต์ ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
วิบาก เป็นจิตที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ถ้าเป็นผลของกุศลกรรม ก็เป็นกุศล
วิบาก ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม ก็เป็นอกุศลวิบาก กล่าวได้ว่าวิบากทั้งหมดที่เกิดขึ้น
เป็นไป ต้องมาจากกรรมที่ได้กระทำแล้ว ซึ่งไม่ได้ห่างไกลจากชีวิตประจำวันเลย มี
จริงๆ ในชีวิตประจำวัน ต้องอาศัยพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเท่านั้น
ถึงจะมีความเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงได้
กรรมมี ๒ อย่างใหญ่ๆ คือ กุศลกรรม กับ อกุศลกรรม, กุศลกรรม ดับไปแล้วจริง
สามารถเป็นปัจจัยให้กุศลวิบากซึ่งเป็นผลของกุศลกรรมเกิดได้ และอกุศลกรรมดับ
ไปนานแล้วก็จริง แต่ก็เป็นปัจจัยให้อกุศลวิบาก ซึ่งเป็นผลของอกุศลกรรมเกิดได้
เพราะฉะนั้น กุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก ในชีวิตประจำวัน ก็คือ ทางตาที่เห็น
ทางหูที่ได้ยิน ทางจมูกที่ได้กลิ่น ทางลิ้นที่ลิ้มรส ทางกายที่กระทบสัมผัส ถ้าเป็น
ผลของกุศลกรรม ก็ทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสใน
สิ่งที่ดี ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แต่ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมแล้วจะตรงกัน
ข้ามเลย คือ ทำให้ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสในสิ่งที่ไม่
ดี ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ โดยที่ไม่มีใครทำให้ เป็นเพราะอดีตกรรม
ที่ตนเองได้กระทำไว้แล้วเท่านั้น ถึงคราวให้ผล ผลเช่นนั้นจึงเกิดขึ้น ทั้งหมดล้วน
เป็นธรรมที่มีจริงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น
ขณะที่คิดร้าย เป็นอกุศล ไม่ใช่วิบาก แต่เป็นการสะสมเหตุที่ไม่ดี และถ้ามี
กำลังมากขึ้น ก็อาจจะถึงกับล่วงเป็นทุจริตกรรม เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อนได้และ
ปกติคิด ก็มี ๒ อย่างใหญ่ คือ คิดดี กับ คิดไม่ดี ถ้าคิดดี เป็นกุศล ถ้าคิดไม่ดี ก็
เป็นอกุศล เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่เรา แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่งไม่
เหมือนกันเลย ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่จะอุปการะเกื้อกูลให้กุศลเจริญขึ้นใน
ชีวิตประจำวัน คิดก็คิดดี ตลอดจนถึงพูดและกระทำในสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ด้วยครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขณะที่คิดไม่ดี ไม่ใช่วิบาก แต่ วิบาก คือ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่เป็น เห็น ได้ยิน
ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ค่ะ
เริ่มงงแล้วคะ ยากจริงๆ เลยคะ
กุศลวิบาก (อกุศลวิบาก) กับ วิบากชาติ (หรืิอ วิบากจิต)
คำว่าวิบากในกรณีนี้ ความหมายต่างกันหรือ เหมือนกันอย่างไรคะ
ขอตัวอย่างของวิบากชาติอีกครั้งคะ
และขอถามว่าวิบากชาติเป็นผลของกรรมเป็นปัจจัยหรือปล่าวคะ
เรียนความเห็นที่ 5 ครับ
คำว่า ชาติ หมายถึง การเกิดของจิต นั่นเอง ครับ ดังนั้น เมือ่ใช้คำว่า ชาติ ก็หมายถึง
ประเภทของจิต คำว่า วิบากชาติ ก็คือ ประเภทของจิตที่เป็นวิบาก วิบากชาติ กับ
วิบากจิต จึงมีความหมายเดียวกัน ครับ
ดังนั้น วิบากชาติ วิบากจิต ทีมีความหมายเหมือนกัน ตัวอย่าง เช่น จิตเห็น จิตได้ยิน
จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้กระทบสัมผัส เป็นต้น ครับ ขออนุโมทนา
สรุปว่า...วิบากจิต.....คือจิตที่เกิด เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้เย็น-ร้อน
อ่อน-แข็ง ตึง-ไหว ปฏิสนธิจิ ภวังคจิต จุติจิต แต่ถ้าเป็นทางมโนทวาร
(การคิดนึก) ...จะจัดอยู่ในชาติของจิตที่เหลือ....คือกุศล อกุศล หรือกิริยา
เข้าใจแบบนี้ถูกหรือผิดคะ
กราบขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ