อุปาสกสูตร.. ผู้ไม่มีเครื่องกังวลเป็นสุขในโลก

 
pirmsombat
วันที่  5 ก.ย. 2556
หมายเลข  23524
อ่าน  1,145

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓หน้า188

. อุปาสกสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่มีเครื่องกังวลเป็นสุขในโลก

เชิญคลิกอ่านที่นี่

[อุปาสกสูตร ว่าด้วยผู้ไม่มีเครื่องกังวลเป็นสุขในโลก อุทาน]


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 5 ก.ย. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 6 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 6 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 6 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณหมอเพิ่มสมบัติเป็นอย่างยิ่งนะคะ

ที่นำเสนอพระธรรมมาให้ศึกษาพิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ เนื

ต่อไปนี้ ขอเรียนถาม เพื่อความรู้ความเข้าใจ ค่ะ

๑.อุบาสกชาวบ้านอิจฉานังคละคนหนึ่ง

อิจฉานังคละ คงเป็นชื่อเฉพาะของหมู่บ้านหนึ่ง ใช่ไหมคะ

ชื่อนี้ มีความหมาย หรือ แปลความหมายได้ ว่าอย่างไรคะ

มีประวัติที่มาลักษณะเด่นของหมู่บ้านนี้ อย่างไรบ้างคะ

๒.ดูก่อนอุบาสก ท่านกระทำปริยายนี้ เพื่อมา ณ ที่นี้ โดยกาลนานแล

กระทำปริยาย หมายความว่าอย่างไรคะ

ประโยคนี้ทั้งหมดหมายความว่าอย่างไรคะ

๓.จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

เปล่งอุทาน มีลักษณะและมีความหมายว่าอย่างไรคะ

๔.กิเลส เครื่องกังวล ย่อมไม่มีแก่ ผู้ใดใด

กิเลส เครื่องกังวล คืออะไร ได้แก่ธรรมอะไรบ้างคะ

๕.ความสุข ย่อมมีแก่ ผู้นั้นหนอ

ความสุข คืออะไร ได้แก่ธรรมอะไรบ้างคะ

๖.ผู้มี ธรรม อันนับได้แล้ว เป็น พหูสูต

ธรรม อันนับได้แล้ว หมายความว่าอย่างไรคะ

พหูสูต เป็นธรรมอย่างไร มีลักษณะอย่างไรบ้างคะ

๗.บุคคล ผู้มี กิเลสเครื่องกังวล เดือดร้อนอยู่

เดือดร้อนอยู่ เป็นธรรมอย่างไร มีลักษณะอย่างไรบ้างคะ

๘.ชน ผู้ปฏิพัทธ์ในชน ย่อมเดือดร้อน.

ผู้ปฏิพัทธ์ในชน หมายความว่าอย่างไรคะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำตอบคำอธิบายนะคะ

และขออนุโมทนาในกุศลทุกประการของทุกๆ ท่าน

ด้วยความเคารพ จาก ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียน ความคิดเห็นที่ ๔

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความจากอรรถกถาได้ที่นี่ครับ

อรรถกถา อุปาสกสูตร [ขุททกนิกาย อุทาน]

กิจ ๑๖ อย่าง [ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค]

-อิจฉาลังคละ เป็นชื่อเฉพาะ อย่างในพระสูตรนี้ เพียงแต่แสดงว่า เป็นหมู่บ้าน

พราหมณ์ตำบลหนึ่งในแคว้นโกศล

[เคยจำคำแปลที่ อ.นิภัทร ได้กล่าวไว้ คือ ต้องการไถสำหรับไถไร่น่า

(อิจฺฉา = ต้องการ, นงฺคล = ไถ) คงจะเป็นชุมชนที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับไร่นา

ที่จะต้องมีการไถ]

-ปริยาย มีความหมายหลายอย่าง ทั้ง เหตุ ความเป็นไป โดยอ้อม เป็นต้น

แต่ในพระสูตรนี้ ในอรรถกถาแก้ว่า หมายถึง คราวหนึ่ง เพราะปกติอุบาสกคนนี้

จะเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนืองนิตย์ แต่ช่วงหนึ่งมีงานมาก ๒ - ๓ วัน

ไม่ได้เข้าเฝ้า เมื่อเสร็จงานก็เลยมีโอกาสได้เข้าเฝ้า แสดงถึงการเข้าเฝ้าเกิดขึ้นช้า

เพราะมีกิจการงานมาก

-พระอุทาน หมายถึง คำเปล่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประกอบด้วยโสมนัสญาณ

(ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสมนัส)

-กิเลสเป็นเครื่องกังวล ไม่พ้นไปจากกิเลสประการต่างๆ โดยเฉพาะโลภะ ความติดข้อง

ยินดีพอใจ

-ความสุขในที่นี้ แสดงถึงความเป็นแห่งบุคคลผู้ไม่มีความติดข้องต้องการ ไม่มีเหตุที่จะ

ทำให้ตนเองเดือดร้อนวุ่นวายเลย

-ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว หมายถึง บุคคลผู้ที่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ตั้งแต่ขั้นพระโสดาบัน

จนถึงความเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ เป็นผู้มีธรรมอันนับได้แล้วอย่างสมบูรณ์ เป็นผู้

เสร็จกิจที่จะต้องกระทำเพื่อการดับกิเลสแล้ว

-พหูสูต คือ ผู้สดับตรับฟังพระธรรม มาก มีความละเอียดมาก ไม่พ้นไปจากสภาพจิต

ที่ดีงาม ที่ฟังความจริงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ผลสูงสุดแห่งการเป็นพหูสูต

คือสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสตามลำดับขั้นได้

-เดือดร้อน ก็ไม่พ้นไปจากสภาพจิตที่เป็นอกุศล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความไม่

สบายใจ ความวุ่นวายใจ อันเนื่องมาจากความติดข้องยินดีพอใจ หรือ เพราะมีกิเลสเป็น

เครื่องกังวล นั่นเอง ที่จะต้องมีการแสวงหาในสิ่งที่ตนเองต้องการ เมื่อได้มาแล้วก็ทำการ

เก็บรักษาด้วยความเป็นห่วงกังวลกลัวสูญหาย เป็นต้น

-ปฏิพัพธ์ แปลว่า ผูกพันเกี่ยวข้องด้วยอำนาจแห่งตัณหาหรือโลภะ ดังนั้น ปฏิพัทธ์ในชน

ก็คือ ติดข้องในชน ไม่ว่าจะเป็นบุตร ภรรยา สามี เป็นต้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pirmsombat
วันที่ 7 ก.ย. 2556

ขอบพระคุณและอนุโมทนาคุณคำปั่นและคุณใหญ่ราชบุรีครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 7 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ