การคุยธรรมะทุกกาลเวลา ถือว่าบ้า หรือเปล่า

 
เสือ
วันที่  7 ก.ย. 2556
หมายเลข  23542
อ่าน  1,919

เช่นพาแฟนไปเที่ยวห้างสรรพสินค้า แล้วเดินผ่านเห็นผู้ชายหน้าตาดี

แฟนบอกดูคนนั้นสิหน้าหล่ออย่างกับพระเอกละคร ผิวหยวกดั่งหยก

เราก็บอกว่าดูให้มันลึกๆ สิ ภายใต้หน้าเต็มไปด้วยน้ำเหลือง กระโหลก ท้องเต็มไปด้วย

ลำไส้คดๆ อยู่ มีของมูด ไหลออกมาจากทวารทั้ง7 ตลอดเวลา น่ามอง น่าดมอยู่ไหม

จากนั้นแฟนด่าเปลิงเลยทีเดียว

หรือแม้แต่กินข้าว อาหารอร่อย จัดจานสวย กลิ่มหอม

เราก็บอกอร่อย หอม ดูตอนถ่ายออกมาสิ มันน่าหลงไหลได้ปลื้มไหม

จากนั้นคงไม่ต้องบอก ว่าจะโดนอะไร

(นี่ผมสมมติเหตุการณ์นะครับ)

แต่ถ้าเราพูดทุกกาลเวลา เขาจะหาว่าบ้าหรือเปล่า


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ทุกคำมีค่า ควรแก่การศึกษา และสนทนา แต่

คำจริงแท้มีประโยชน์ แม้อย่างนั้น พระพุทธเจ้าก็ต้องดูกาลเทศะ ในการพูดด้วย ซึ่ง

พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดังนี้ ครับ

คำใด ไม่จริง ไม่ควรพูดโดยประการทั้งปวง

คำใด จริง แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อันไม่นำมาซึ่งกุศลธรรม ก็ไม่ควรพูด

คำใดจริง แท้ และประกอบด้วยประโยชน์ที่เป็นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรง

แสดง ก็ต้องดูกาละ ในการพูด

การพูดธรรม ก็ต้องพิจารณา เหตุการณ์ บุคคล เวลาเป็นสำคัญครับ หากเป็นเวลา

ที่ทานอาหาร หรือ เวลาที่บุคคลนั้นไม่พร้อมจะฟัง การพูดนั้นก็ไม่เป็นประโยชน์ แต่มี

โทษได้ เพราะอาจทำให้คนนั้นเกิดความหงุดหงิด เกิดอกุศลได้ เพราะไม่รู้จักกาละ

เวลาที่ควรพูด ครับ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในเรื่อง

คำพูดที่ดี และคำพูดที่ชั่ว ว่าเป็นอย่างอย่างไร

ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงชาดก ในอดีตกาลว่า พระโพธิสัตว์ เป็นผู้กล่าวธรรม

อย่างดี ได้กล่าวคำสุภาษิตให้พระราชาฟัง พระราชาผู้เป็นบัณฑิตใฝ่ธรรมอยู่แล้ว

ยินดีในคำพูดของพระโพธิสัตว์ ให้บ้านสวย ทรัพย์สมบัติมากมาย เพราะ คำสุภาษิต

นี้ เป็นคำพูดที่ดี ที่ชอบใจของบัณฑิต แต่เมื่อพระโพธิสัตว์จะข้ามเรือ แต่ไม่ได้มีเงิน

พกมา จึงขอกล่าวเป็นคำสุภาษิตให้คนแจวเรือฟัง คนแจวเรือจึงตีพระโพธิสัตว์ เพราะ

เหตุของการพูดคำสุภาษิตนั้น จนศีรษะแตก นี่คือ คำดี ย่อมเป็นคำพูดชั่วของคนที่ไม่

รักธรรม ไม่ยินดีในธรรม สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓- หน้าที่ 329

๗. ทุกถาสูตร

ว่าด้วยพูดดีเป็นชั่วและพูดดีเป็นดี

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวก เป็นไฉน? คือถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑ ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ได้สดับ-น้อย ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑.

---------------------------------------------------

ดังนั้น การกล่าวธรรม แม้จะต้องดูกาละเวลาที่เหมาะสมแล้ว ก็ควรพิจารณา

บุคคลที่เราพูดด้วยว่า เป็นผู้ยินดีในธรรม หรือ ไม่ เพราะ หากพูดไป แต่ ทำให้

ผู้นั้นที่ไม่สนใจธรรมเกิดอกุศลมากขึ้น ก็ไม่ควรพูด เพราะเป็นโทษกับคน

ที่ได้รับฟังเอง เพราะ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่สนใจในพระธรรม ครับ

ดั่งเช่นพระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงแสดงธรรม ทุกกาละเวลา ทรงรอโอกาสที่เหมาะ-

สมและทรงแสดงพระธรรม กับบุคคลที่สะสมอุปนิสัยที่ดีมา แต่ผู้ที่ไม่สนใจ ไม่

ชอบ พระองค์ก็ไม่ทรงแสดง เพราะทรงอาศัยความอนุเคราะห์ คือ ไม่อยากให้

เขาได้รับโทษ คือ เกิดอกุศลที่จะตำหนิพระองค์ และ ทำบุคคลนั้นได้รับโทษไป

อบาย ครับ

การพูดธรรม คำจริง มีประโยชน์จึงควรดูกาลเทศะ และ บุคคลที่รับฟัง เป็น

สำคัญด้วย ครับ ตามที่กล่าวมา ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
panasda
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เสือ
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ผมก็ตรงๆ ไปไม่คิดเหมือนกัน ขอบพระคุณคุณเผดิมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขณะที่อกุศลเกิดขึ้นเป็นไป นั้น มีโมหะซึ่งเป็นความหลงความไม่รู้เกิดร่วมด้วยทุกครั้ง

อกุศลเกิดขึ้นเป็นไปมากในชีวิตประจำวัน ก็ทำให้มีการสะสมโมหะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

หนทางเดียวเท่านั้นที่จะเป็นไปเพื่อขัดเกลาอกุศลขัดเกลาความไม่รู้ก็คือ หนทางแห่ง

การอบรมเจริญปัญญา

เป็นธรรมดาของผู้ที่ได้ยินได้ฟังพระธรรม ก็มีความประสงค์จะให้คนอื่นได้ยินได้ฟัง

ความจริง ด้วย ก็มีการกล่าว มีการแนะนำ เท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็จะต้องดูความเหมาะ

สมในเรื่องของกาลเวลาที่เหมาะสมและเข้าใจถึงการสะสมของแต่ละบุคคลด้วย

สิ่งที่ควรจะได้พิจารณาอยู่เสมอเกี่ยวกับการพูดในชีวิตประจำวัน คือ จะต้องพูดคำจริง

พูดพอประมาณ พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ พูดถูกกาละ พูดประกอบด้วยจิตที่ประกอบด้วย

เมตตา ถ้าเขารับฟังในเหตุในผล ในความจริง ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเขาไม่ชอบฟัง

ไม่อยากฟัง การพูดนั้นก็ไร้ประโยชน์ อาจจะเป็นเหตุให้อกุศลของผู้นั้นเพิ่มขึ้นก็ได้

ไม่ใช่เฉพาะคนนั้น เท่านั้นที่เกิดอกุศล บางทีเราเองอาจจะเกิดอกุศลก็ได้ เช่น เสียใจ

ทุกข์ใจ ที่เขาไม่ยอมรับฟัง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ธรรมไม่จำเป็นต้องพูดตลอดเวลา เพราะธรรมก็มีอยู่ตลอดเวลาแล้ว ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เสือ
วันที่ 8 ก.ย. 2556

khampan.a

กราบอนุโมทนาครับ บางทีเราอาจเกิดอกุศลได้ที่เขาไม่ยอมฟัง

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
nopwong
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
papon
วันที่ 8 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
j.jim
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขณะที่จิตเป็นอกุศลเรียกว่าวิปลาส..การคุยธรรมจิตไม่เป็นกุศลก็ได้ เช่น.คุยเพื่อข่ม

ว่าตนเองรู้ธรรมะมากกว่าเป็นต้น..แม้คุยด้วยกุศลจิตแต่ผู้ฟังไม่มีศรัทธาหรือไม่ถูกเวลาผู้ฟังอาจถือว่าบ้าได้แต่โดยสภาพธรรมไม่ถือว่าผู้พูดวิปลาสแต่ไม่ควรพูด

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ขอนอบน้อม
วันที่ 13 ก.ย. 2556

บางครั้งทำตัวให้ดูเป็นตัวอย่างดีกว่าครับ เข้าใจธรรมเข้าใจตนเองชนะใจตนเองก็ จะเข้าใจผู้อื่นด้วย (ตามระดับปัญญา) หรืออดทนในทุกๆ สิ่ง ให้เขาเกิดความเลื่อมใส ว่า ธรรมมะช่วยให้อดทนได้ ใจเย็นได้ นิ่งได้ เป็นคนดีขึ้น แล้วค่อยปลูกศรัทธาทีละนิดๆ ต้อง อาศัยเวลา (อาจ) นานเหมือนกันครับ แต่ดูว่าเขาสนใจหรือเปล่า ผิดพลาดไปก็ขออภัยครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ขอนอบน้อม
วันที่ 16 ก.ย. 2556

ขอเพิ่มเติมนะครับ ไม่ควรหวังให้คนอื่นเห็นว่าตนดี แต่เพื่อการละคลายครับ คนอื่นจะเห็นความดีของเราหรือไม่เป็นเรื่องของเขาครับ หน้าที่เราคือทำดีขึ้นเรื่อยๆ และ ศึกษาธรรมที่กำลังปรากฏครับ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ