ไม่เข้าใจเรื่องผัสสเจตสิก

 
papon
วันที่  9 ก.ย. 2556
หมายเลข  23552
อ่าน  1,026

เมื่อมีจักขุปสาทรูป จักขุวิญญาณ รูปารมณ์แล้วทำไมต้องมีผัสสะอีกด้วยครับ

ขอความอนุเคราะอาจารย์สองท่านช่วยอนุเคราะห์อธิบายอย่างละเอียดด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหนตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปนั้น

ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่าง ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองลอยๆ แสดงถึงความเป็นจริง

ของธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอย่างสิ้นเชิง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร

ทั้งสิ้น แม้แต่ในขณะที่เห็นขณะหนึ่งในขณะที่จักขุวิญญาณเกิดขึ้นนั้น ต้องมีสภาพ

ธรรมที่ประชุมพร้อมกันในขณะนั้น ยังมีอยู่ ยังไม่ดับไป ได้แก่ มีจักขุปสาทะ อันเป็น

ที่เกิดของจักขุุวิญญาณ มีรูปารมณ์ คือ สี มีจักขุวิญญาณ เกิดขึ้นทำกิจเห็น และในขณะ

ที่จักขุวิญญาณเกิดขึ้นนั้น ไม่ใชว่าจะมีเฉพาะจิตอย่างเดียวจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย

๗ ประเภท เกิดพร้อมกันกับจิต ดับพร้อมกับจิตรู้อารมณ์เดียวกันกับจิต และ อาศัยที่เกิด

ที่เดียวกันกับจิต ในขณะที่จักขุวิญญาณเกิดขึ้นจะขาดเจตสิกหนึ่งเจตสิกใด ใน ๗

ประเภท ไม่ได้ เช่น ถ้าไม่มีผัสสะ กระทบกับสี จิตเห็นก็เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นต้น แสดงให้

เห็นถึงความเป็นจริงของธรรมที่จะต้องอาศัยกันและกัน นี้คือ ความจริง ที่พระสัมมาสัม

พุทธเจ้าทรงตรัสรู้และทรงแสดง

เจตสิก ๗ ประเภท ได้แก่ ผัสสะ (สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์) เวทนา (สภาพธรรม

ที่รู้สึก) สัญญา (สภาพธรรมที่จำอารมณ์) เจตนา (สภาพธรรมที่จงใจขวนขวายให้เจตสิก

ที่เกิดร่วมกันทำกิจของตนๆ ) เอกัคคตา (สภาพธรรมที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งในอารมณ์) ชีวิตินทริยะ (สภาพธรรมที่รักษาธรรมที่เกิดร่วมกันให้ดำรงอยู่จนกว่าจะดับไป) และ

มนสิการะ (สภาพธรรมที่ใส่ใจ สนใจในอารมณ์)

ทั้งหมด ล้วนแล้วเป็นธรรมที่มีจริง ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา

ของใครทั้งสิ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้าเคยได้ยินคำว่า อายตนะ คือ การประชุมพร้อมกันของสภสพะรรม ย่อมเป็น

ปัจจัยให้เกิด สภาพธรรมอีกอย่างขึ้นได้ นั่นแสดงว่า สภาพธรรมแต่ละอย่าง

ทีเกิดขึ้น ล้วนแล้วแต่จะต้องอาศัย เหตุปัจจัยหลายๆ อย่างประชุมกัน จึงทำให้เกิด

สภาพธรรม อย่าง เช่น รูปะรรม ที่เป็น จักขุปสาทรูป ก็ไม่ใช่มีเพียงรูปเดียว แต่

ก็ต้องมี รูปอื่นๆ ทีเกิดพร้อมกัน เกิดร่วมกันและเป้นปจจัยให้เกิด จักขุปสาทรูปด้วย

คือ อวินิพโภครูป 8 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา อันเป็นปัจจัให้ จักขุปสาท

รูปเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับ สี ที่เป็น รูปารมณ์ ก็ต้องอาศัย มหาภูตรูป4 คือ ดิน น้ำ

ไฟ และลม เกิดร่วมกด้วย รวมทั้ง รูปอื่นๆ คือ กลิ่น รส และ โอชา ครับ

และ จักขุวิญญาณ ที่เป็นจิตเห็น จะเกิดขึ้นได้ ก็ต้องอาศัย การประชุมรวมกันของ

สภาพธรรมอื่นๆ ซึ่ง จักขุวิญญาณ ก็คือ สภาพธรรมที่เป็นจิต แต่ จิตจะเกิดอย่าง

เดียวไม่ได้ ตามกฎของสภาพธรรมที่เป็นสัจจะ จิตเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกเกิดร่วม

ด้วย เสมอ และ ต้องมีอย่างน้อย 7 ประเภท ซึ่ง ผัสสเจตสิก ก็เป้นเจตสิกหนึ่งที่

ธรรมทำหน้าที่กระทบ อันเป็นปัจจัยให้ ตา กระทบ กับ รูป และเ กิดการเห็น ถ้า

ไม่มีกากระทบกัน ก็ไม่มีการเห็นเกิดขึ้นเลย ซึ่ง ผัสสเจตสิก จึงเป็นเจตสิกที่สำคัญ

มาก ที่จะทำให้เกิด อายตนะ การประชุมรวมกันของสภาพธรรมที่ทำให้เกิดสภาพ

ธรรมหนึ่ง ธรรมใด ซึ่ง พระพุทธเจ้า ทรงแสดง ทุกข์อีกนัยหนึ่ง คือ ผัสสะ เป็น

ตัวทุกข์ และ เป็นเหตุแห่งทุกข์ เพรา อาศัย ผัสสะ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดสภาพธรรม

แต่ละอย่าง เพราะทำหน้าที่กระทบกัน และ เกิดประชุมรวมกัน เป็นที่ต่อที่ทำให้เกิด

สภาพธรรม เมื่อเกิดสภาพธรรม ก็ชือ่ว่าเกิดทุกข์ เพราะ อาศัย ตา รูป และ อาศัย

ผัสสะ และ อาศัยเจตสิกอื่นๆ ด้วย ย่อมเกิด สภาพธรรมอื่นๆ คือ จิตเห้น เป้นต้นได้

ก็ชื่อว่าเกิดทุกข์ เพราะผัสสะ ผัสสะจึงเป็นเหตุแห่งทุกข์อีกนัยหนึ่ง และ การดับ

ผัสสะ ชื่อว่า เป็นการถึงพระนิพพาน เพราะ เมื่อไม่มีผัสสเจตสิกเกิดขึ้น ก็ไม่มี

แม้จิตเห็น ไม่ใช่เพียงเท่านั้น จิตอื่นๆ ก็ไม่เกิดขึ้นเลย ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีการ

ประชุมรวมกันของสภาพธรรม ก็เป็นการดับสนิทจริงๆ เพราะไม่มีการเกิดขึ้นของ

ผัสสะ อันเป็นเหตุให้เกิดสภาพธรรมทั้งปวง ครับ

และ เมื่อว่าโดยละเอียดลงอีก ครับ ตามที่ผู้ถามให้แสดงโดยละเอียด ผัสสะ ก็เป็น

ปัจจัยหนึ่ง คือ เป็น ผัสสาหาร คือ เป็นอาหาร เป็นเหตุให้เกิดสภาพธรรม เพราะ

อาศัยผัสสะ ก็เป็นเหตุให้เกิดสภาพธรรมต่างๆ นั่นเอง ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านมากครับที่ให้ปัญญา

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
j.jim
วันที่ 10 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ