ลักษณะของทุกขลักษณะ

 
asp
วันที่  9 ก.ย. 2556
หมายเลข  23555
อ่าน  6,331

สามัญลักษณะของสิ่งที่มีจริงทั้งปวงมี 3 เมื่อกล่าวถึงทุกข์มักจะต้องโยงไปว่า

เพราะไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เหตุใดจึงต้องอ้างถึงไม่เที่ยงด้วย ทุกข์ไม่มีลักษณะ

เฉพาะตัวหรือ ถ้าต้องอ้างถึง สามัญลักษณะก็มีเพียง 1 เดียวก็พอคือ อนิจจัง

ขอความกรุณาอธิบายด้วยครับผม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไตรลักษณ์ เป็น ลักษณะของความจริงของสภาพธรรมที่มีจริง ที่เรียกว่า เป็น

สามัญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปของสภาพธรรมที่จะต้องมี ซึ่งสภาพธรรมที่มีจริง

คือ นามธรรม รูปธรรม จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่พ้นจากความ

จริงที่เป็นไตรลักษณ์เลย

ซึ่งลักษณะ ความจริงที่เป็นไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

อนิจจัง สภาวะ ลักษณะที่ไม่เที่ยงหมายถึง ลักษณะที่เป็นสาธารณะแก่สังขาร

ธรรมทั้งปวงจิต เจตสิก รูป เป็นอนิจจัง เพราะมีอนิจจลักษณะ คือ มีการเกิดขึ้นและ

ดับไป อนิจจลักษณะ เป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะ ๓ (ไตรลักษณ์ หรือสามัญญ

ลักษณะ)

ทุกขัง สภาวะ ลักษณะที่ทนได้ยาก หมายถึง ลักษณะของสภาพธรรมที่ทนอยู่ใน

สภาพเดิมไม่ได้คือต้องเปลี่ยนแปลง มีการเกิดขึ้นและดับไป ดังที่ พระผู้มีพระภาค

ตรัสถาม พระปัญจวัคคีย์ ในอนัตตลักขณสูตรว่า "สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือ

เป็นสุขเล่า"

พระปัญจวัคคีย์ทูลตอบว่า " เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า " ...

อนัตตา สภาวะลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน หมายถึง ลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่อยู่ใน

อำนาจบังคับบัญชาของผู้ใด คือ เป็นสภาพนามธรรมอย่างหนึ่ง มีลักษณะที่น้อมไปรู้

อารมณ์ จะมีผู้ใดผู้หนึ่งบังคับให้นามธรรมเป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ก็ไม่ได้ หรือ สภาพ

ที่เป็นรูปธรรม มีลักษณะที่ไม่รู้อารมณ์ ใครจะบังคับให้รู้ เปลี่ยนมาเป็นสภาพที่รู้

อารมณ์ก็ไม่ได้ หรือสังขารธรรมเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ใครจะบังคับให้สังขาร

ธรรมเป็นสภาพที่เที่ยง เป็นสุข ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สังขารธรรมที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

จึงเป็นอนัตตา และแม้วิสังขารธรรมซึ่งหมายถึงพระนิพพาน เป็นสภาพที่เที่ยง (เพราะ

ไม่เกิดดับ) เป็นสุข (เพราะทนอยู่ในสภาพเดิมได้) แต่ก็ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน

แปลงสภาพของนิพพานให้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ได้ วิสังขารธรรมที่เที่ยง เป็นสุขนั้น

จึงเป็นอนัตตาด้วย

จึงโยงประเด็นมาที่คำถามที่ว่า

เมื่อกล่าวถึงทุกข์มักจะต้องโยงไปว่า เพราะไม่เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เหตุใดจึงต้องอ้าง

ถึงไม่เที่ยงด้วย ทุกข์ไม่มีลักษณะเฉพาะตัวหรือ ถ้าต้องอ้างถึง สามัญลักษณะก็มี

เพียง 1 เดียวก็พอคือ อนิจจัง ขอความกรุณาอธิบายด้วยครับผม

- ซึ่ง ควรเข้าใจคำว่า สามัญญลักษณะ ที่เป็นไตรลักษณะ ลักษณะทั้ง 3 นั้นเกี่ยว

เนื่องกันอยู่ คือ เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันนั่นเอง ซึ่ง สภาพธรรมทั้งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง

เช่น จิต เจตสิก รูป เมื่อเกิดขึ้นและดับไป ซึ่ง การเกิดขึ้นและดับไป เป็นลักษณะ

ของความไม่เที่ยง ที่เป็นอนิจจัง ซึ่งเพราะความที่สภาพธรรมที่ไม่เที่ยงนั่นเอง ก็

เป็นการแสดงลักษณะอีกอย่าง คือ ทนอยู่ไม่ได้ ที่เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่

เป็นทุกขลักษณะ ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้เลย นี่ก็เป็นคนละลักษณะของความ

ไม่เที่ยง การเกิดขึ้นและดับไป เป็นอนิจจลักษณะ แต่ การทนอยู่สภาพเดิมไม่ได้

เป็นทุกขลักษณะ และเพราะทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ เพราะ สภาพธรรมที่เป็นสุข

จริงๆ ที่เราคิดเอง คือ ความไม่แปรปรวนอยู่กับเราไปตลอด แต่เพราะทนอยู่ใน

สภาพธรรมเดิมไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ ไม่ควรแก่การยินดีเพลิดเพลิน ครับ นี่แสดงถึง

ความเกี่ยวเนื่อง เกี่ยวข้องกัน ของลักษณะ ของสามัญลักษณะ แต่ละอย่าง และ

เพราะ ทนอยู่ไม่ได้และเกิดขึ้นและดับไป แสดงถึงความไม่มีสัตว์ บุคคล เป็น

อนัตตา เพราะไม่สามารถบังคับบัญชาให้อยู่ที่เดิม คงที่ไม่เกิดดับได้เลยครับ และ

สูญจากความเป็นสัตว์บุคคลด้วย นี่ก็แสดงถึง อนัตตลักษณะที่เกี่ยวเนื่องมาจาก

อนิจจลักษณะ และ ทุกขลักษณะ ครับ

สามารถอ่านคำบรรายเพิ่มเติม โดยท่านอาจารย์สุจินต์ได้ในประเด็นนี้ ครับ

คุณอดิศักดิ์ คำว่า อนิจจัง แปลว่า ไม่เที่ยง

คำว่า ทุกขัง แปลว่า ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

ลักษณะ มันก็เหมือนกัน ทำอย่างไรจึงจะเข้าใจได้ชัดแจ้ง ขอให้อาจารย์

อธิบายให้ละเอียดหน่อย

ท่านอาจารย์ ลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้น ควรจะเป็นลักษณะที่พึงเห็น หรือควรเห็น

ว่าเป็นทุกข์ ทุกข์ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าให้เศร้าโศก แต่หมายความว่า ไม่ควร

เป็นที่เพลิดเพลินยินดี ตรงกันข้ามกับลักษณะที่น่าเพลิดเพลินยินดี

เพราะฉะนั้น อรรถหรือความหมายอีกอย่างหนึ่งของสภาพธรรมที่เป็นทุกข์ก็

คือ ตรงกันข้ามกับเป็นสุข เพราะว่าถ้าสภาพธรรมใดเป็นสุข ก็เป็นที่ยินดีพอใจ

แต่ทำอย่างไรจึงจะคลายความเพลิดเพลินยินดีได้ ถ้ายังคงเห็นลักษณะนั้นน่าพอ

ใจ ถ้ายังคงเป็นลักษณะที่น่าพอใจอยู่ ก็จะติดและจะเพลินอยู่เรื่อยๆ จนกว่า

จะเห็นว่า ลักษณะนั้นไม่น่าพอใจเลย ไม่ควรจะเป็นที่ติด ที่ยินดี เพราะฉะนั้น

ลักษณะนั้นตรงกันข้ามกับสุข

นี่คือความหมายของคำว่า "ทุกข์" ไม่ใช่ ให้เจ็บปวดให้ทรมาน หรือไม่ใช่ให้

เศร้าโศกเสียใจ แต่เห็นว่าไม่ใช่สภาพธรรมที่ควรติด หรือว่าควรยินดี ควรเพลิด

เพลินอีกต่อไป ทั้งๆ ที่สภาพธรรมในขณะนี้ ทุกคนก็เห็นว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้ว

ดับไปจริงๆ อย่างเสียง เป็นต้น ปรากฏนิดเดียวชั่วขณะหนึ่งแล้วก็หมดไป แล้ว

ทำไมไม่เห็นว่าเป็นทุกข์ คือ ยังไม่ยอมเห็นว่าเป็นสภาพที่ไม่น่ายินดี ไม่น่าจะ

ติด ไม่น่าที่จะยินดีเพลิดเพลิน ต้องการ

เพราะฉะนั้นลักษณะที่เป็น "ทุกขลักษณะ" ซึ่งเป็นไตรลักษณ์เป็นสภาพที่เห็น

ยาก ไม่ใช่ว่าจะเห็นง่ายเพราะว่าจะต้องประจักษ์ถึงความเกิดขึ้นและดับไป

จึงสามารถจะเห็นว่าลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ เป็นทุกข์

เพราะไม่ควรพลิดเพลินยินดีทั้งนั้น ถ้ายังไม่ประจักษ์ ก็ยังคงพอใจอยู่แน่นอน

เพราะว่าสภาพธรรมใดดับไปแล้ว สภาพธรรมอื่นก็เกิดสืบต่อทันที ทำให้ไม่

ประจักษ์ในการดับไปของสภาพธรรมก่อน เพราะว่ามีสภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นสืบ

เนื่องทันที ดูไม่น่าประหวั่นพรั่นพรึงเลยใช่ไหมคะ พราะว่าไม่น่าประจักษ์การขาด

ตอนของของการดับไป และการเกิดขึ้นของสภาพธรรมแต่ละขณะ

คุณอดิศักดิ์ เมื่อไม่อยู่ในสภาพเดิมก็แปลว่าไม่เที่ยง มันก็น่าจะเหมือนกัน

ท่านอาจารย์ พอไหมล่ะคะ ไม่เที่ยงก็ไม่เที่ยง แต่ไม่เที่ยงแล้วไม่เห็นว่าเป็น

ทุกข์นี้สิคะ เพราะฉะนั้น จึงต้องแสดงลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้น ควรเห็นว่าเป็นทุกข์

เพราะว่าลักษณะจริงๆ เป็นอย่างนั้น คือ เป็นสภาพที่ไม่ควรยินดี คำว่าทุกข์ที่นี่

หมายความถึงสภาพที่ไม่ควรยินดี ตรงกันข้ามกับสุข ถ้าบอกว่า ไม่เที่ยง ก็ไม่มี

การสลด ไม่เที่ยงก็ไม่เที่ยง เพราะว่าไม่ประจักษ์ว่าลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้นเป็นทุกข์

จึงต้องทรงแสดงทั้ง ๓ ของสภาพธรรมที่เกิด ว่าสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับแล้วนั้น

เป็นทุกข์ด้วยไม่เพียงแต่ไม่เที่ยงเฉยๆ ค่ะ ไม่ควรเป็นที่ยินดี เพลิดเพลินหรือ

พอใจ แต่จะต้องประจักษ์ ลักษณะที่เกิดดับจริงๆ จึงจะเห็นว่าเป็นทุกข์อย่างไร

เป็นทุกข์โดยที่ว่าไม่น่ายินดี พอใจ ในสภาพที่เพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง

จะให้แต่แสดงลักษณะที่ไม่เที่ยง และไม่ให้แสดงว่า ลักษณะที่ไม่เที่ยงนั้นเป็น

ทุกข์ด้วยหรือคะ ไม่จำเป็นหรือคะ ซึ่งความจริงแล้ว จำเป็นมาก เพราะว่า ที่จะ

รู้ว่าไม่เที่ยง ต้องเห็นว่าเป็น ทุกข์ด้วย

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
asp
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอบคุณมากๆ ๆ ครับ ที่ช่วยกรุณาตอบจนความสงสัยพังทลายลงได้

โดยไม่ต้องสอบถามเพิ่มเติมอีกเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สิ่งที่มีจริงๆ เป็นธรรม ทุกขณะเป็นธรรมไม่เคยขาด มีจิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูป เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา จิต เจตสิก รูปนั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ที่ไม่เที่ยงนั้นเพราะเกิดแล้วดับไป สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับไปนั้น เป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะเหตุว่าตั้งอยู่ไม่ได้ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เมื่อไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร ลักษณะทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นลักษณะที่ทั่วไปแก่สภาพธรรมที่เป็นสังขารธรรมทั้งหมด ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด ยากที่จะเข้าใจ แต่ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ การศึกษาธรรม เป็นการศึกษาถึงสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง เนื่องจากคุ้นเคยกับความเป็นตัวตน คุ้นเคยกับความเป็นเรา พร้อมทั้งได้สะสมความไม่รู้มาอย่างเนิ่นนาน จึงหลงยึดถือสภาพธรรมที่กำลังปรากฏว่าเป็นต้วตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นเรา ดังนั้น ธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้นจึงควรที่จะศึกษา เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกตามความเป็นจริง ซึ่งจะเป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้ ละความเห็นผิดในสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้ในที่สุด ครับ. ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ทุกข์ เป็น สภาพธรรมที่บีบคั้น ทนไม่ได้ เกิดจากการเกิดดับ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 10 ก.ย. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 10 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ