ความงามในพระพุทธศาสนา

 
lovedhamma
วันที่  9 ก.ย. 2556
หมายเลข  23560
อ่าน  11,918

พอดีผมได้ซื้อหนังสือ ชื่อตามหัวข้อเลยนะครับ มาจากร้านหนังสือse-ed book

center ซึ่งในหนังสือก็ได้อธิบายเกี่ยวกับความงามไว้หลายอย่าง แต่ที่สนใจคือ

ลักษณะหรือรูปแบบของความงามที่หนังสือบอก เช่น เบญจกัลยาณี หรือที่เปรียบ

เทียบความงามของบุรุษว่า พราหมณ์รูปหนึ่งมีผิวกายเหมือนดอกบัวขาว งดงามดุจ

เสาระเนียดเงิน ศีรษะมีสีดำดุจมรกต ลูกตาทั้งสองข้างเหมือนดอกบัวเขียว เขาเป็นผู้

มีร่างกายงดงามมาก ก็เลยอยากจะทราบว่า การเปรียบเทียบในลักษณะนี้มีอยู่จริง

ในพระไตรปิฎกไหมครับ? ว่า ความงามของผู้ชาย และผู้หญิง เปรียบกับอะไรบ้าง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่นี่ครับ

โปกขรสาติพราหมณ์ [ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อัมพัฏฐสูตร]

เบญจกัลยาณี [ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท]

งามด้วยอะไร [กัลยาณสูตร]

ความงาม ความดี?

สิ่งที่่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง นั้น คือ แต่ละบุคคลที่เกิดมานั้น จะงาม หรือ ไม่งาม

ไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ภายนอก แต่อยู่ที่จิตเป็นสำคัญ เพราะเหตุว่าเมื่อจิตดี คือเป็น

กุศลจิต ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามก็ชื่อว่างาม เพราะงามด้วยความดี ในขณะที่กุศลธรรม

เกิดขึ้นเป็นไป แต่เมื่อจิตไม่ดี คือ เป็นอกุศลจิต ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามเช่นเดียวกัน

ก็ชื่อว่าไม่งาม ยิ่งถ้าเป็นอกุศลกรรมที่มีกำลังถึงขั้นล่วงเป็นทุจริตกรรม ประการต่างๆ

แล้ว ยิ่งไม่งามเป็นอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น จะถือเอารูปลักษณ์ภายนอกเป็นประมาณ

ไม่ได้เลย ดังนั้น จิต จึงมีความสำคัญมาก ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นจิตที่ดี หรือ ไม่ดี เท่านั้น

ซึ่งเป็นไปตามการสะสมมาของแต่ละบุคคลจริงๆ ไม่เหมือนกันเลย

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดง ตลอด ๔๕ พรรษา ไม่ว่าจะเป็น

ส่วนใดของคำสอนก็ตาม ก็เป็นเครื่องเตือนที่ดีอยู่เสมอ เตือนให้เป็นผู้ไม่ประมาทใน

ชีวิต และ เป็นประโยชน์ทุกกาลสมัยด้วย แต่จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ศึกษาและน้อม

ประพฤติปฏิบัติตามเท่านั้น บุคคลผู้เห็นประโยชน์ของกุศลธรรม และ เห็นโทษของ

อกุศลธรรม โดยอาศัยการฟังพระธรรม บ่อยๆ เนืองๆ สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ

จิตใจย่อมน้อมไปในทางกุศลขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน เพิ่มมากยิ่งขึ้นได้ เป็นผู้

ค่อยๆ มีความงดงามด้วยความดี

จะถึงความเป็นผู้งามอย่างแท้จริง นั้น ก็ต่อเมื่อถึงความเป็นพระอริยบุคคลดับกิเลส

ตามลำดับขั้นสูงสุด คือ ถึงความเป็นพระอรหันต์ ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น

ไม่มีกิเลสซึ่งเป็นความสกปรกของจิตเกิดขึ้นอีกเลย ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ถ้ากล่าวละเอียดลึกลงไปถึง สภาพธรรมที่มีจริง ที่มี สภาพธรรมที่เป็น รูปธรรม

และนามธรรมแล้ว ที่เป็นจิต เจตสิก รูป ความงามมีได้ ก็เพราะอาศัย สภาพธรรมที่มี

จริง ที่เป็นจิต เจตสิก รูป ครับ ซึ่งความงามภายนอกที่เห็นกันอยู่ ก็เพราะอาศัยสภาพ

ธรรมที่มีจริง ที่เป็นรูปธรรมนั่นเอง ที่เป็นสภาพธรรมที่เป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น

รส โอชา เป็นต้น ซึ่งรูป ก็มีการแบ่งความละเอียด ลงไปอีก คือ รูปเหมือนกัน แต่

มีความแตกต่างกัน ตรงความประณีต และ ความหยาบของรูปที่ไม่เหมือนกัน รูปบาง

อย่าง ที่เกิดจากอุตุ อากาศที่ดี และ เกิดจากกรรมที่เป็นเหตุ เป็นสมุฏฐานให้เกิด ก็

ทำให้รูนั้นประณีตมาก จึงสมมติบัญญัติว่าสวยงาม สมมติบัญญัติว่าเป็นชายที่มีรูปร่าง

ผิวพรรณ งดงาม รวมทั้งผู้หญิงด้วยก็เพราะเกิดจากกรรมดี ที่เป็นสมุฏฐาน เป็นเหตุให้

เกิด เช่น การไม่มักโกรธ การถวายผ้า เป็นต้น ก็เป็นเหตุให้มีผิวพรรณที่สวยงาม ก็คือ

มีรูปที่ประณีตนั่นเอง และ อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์เป็นประจำ ก็ทำให้ มีรูปร่าง ทรวดทรง

ที่องอาจ สง่างาม ก็ไม่พ้นจากเรื่องของกรรมเป็นปัจจัยด้วย ทำให้มีความแตกต่าง

ของรูปร่างกายที่แตกต่างกัน ผู้ที่มักโกรธเป็นต้น ผลของกรรมที่ทำไม่ดี ทางกาย

วาจา ด้วยความโกรธ มักโกรธ ก็ทำให้ผิวพรรณทราม รูปไม่ประณีต ดังนั้น อาศัยเหตุ

ที่แตกต่างกัน ที่เป็นกุศลกรรม อกุศลกรรม ก็เป็นเหตุให้รูป มีความแตกต่างกันไปได้

ในแต่ละคน เมื่อ กุศลกรรมมีกำลัง ผลก็ต้องประณีต รูปก็ต้องประณีตตามไปด้วย ซึ่ง

หากเข้าใจความจริงรูปก็มีความประณีต และ ไม่ประณีต หยาบเช่นกัน แต่การมีสมมติ

บัญญัติชายหญิง เป็นเบญจกัลาณี เป็นต้น ก็เป็นเพียงสมมติบัญญัติ ที่บัญญัติขึ้น

เพราะมีสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นรูปธรรมที่เกิดจากเหตุต่างๆ คือ กรรม หรือ อุตุ

เป็นต้น อันแสดงถึงความเป็นไปของสภาพธรรมที่หลากหลาย และควรเข้าใจว่าเพราะ

ความไม่รู้ อวิชชานี้เอง ที่ยึดถือว่างาม ว่าเป็นสัตว์ บุคคล แท้ที่จริงเป็นแต่เพียงสภาพ

ธรรมที่เป็นเพียงรูปธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใครที่งามเลย พระพุทธเจ้าทรง

แสดงธรรม ที่งามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และ งามในที่สุด งามด้วยความเป็นสภาพ

ธรรมที่เป็นนามธรรมที่เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี คือ กุศลรรม มี ปัญญา เป็นต้น เพราะ

อาศัย ความงามของสภาพธรรมที่ดีงามเหล่านี้ ย่อมละสภาพธรรมที่ไม่งาม คือ กิเลส

อกุศล อวิชชา เป็นต้นได้หมดสิ้น ถึงความเป็นผู้งามที่แท้จริง คือ งามด้วยคุณธรรม

สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า เป็นผู้ที่ยังหมู่ให้งาม ไม่ใช่งามด้วยรูปธรรม แต่

งามด้วยนามธรรมคือ คุณธรรมที่ละกิเลส มีปัญญา เป็นความงามที่ประเสริฐและสูงสุด

ครับ ดังนั้น จึงควรอบรมธรรมที่งาม เพราะ ละความยึดถือละสภาพธรรมที่ไม่งาม คือ

กิเลส ก็จะไม่เดือดร้อน หวั่นไหวไปในรูปธรรมที่งาม หรือไม่งาม เพราะ ประกอบด้วย

ความงาม คือ ปัญญา ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 10 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
raynu.p
วันที่ 10 ก.ย. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nopwong
วันที่ 11 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ขอนอบน้อม
วันที่ 15 ก.ย. 2556

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ