เหตุของการหลุดพ้นกรรม

 
สิริพรรณ
วันที่  15 ก.ย. 2556
หมายเลข  23608
อ่าน  1,439

ได้อ่านพบว่า จิตเป็นสภาพที่สืบต่อกรรมและกิเลส ขอรบกวนผู้รู้อธิบายข้อสงสัยคือ

1. เป็นความหมายเดียวกับอนันตรปัจจัยหรือไม่

2. นางกุณฑลเกสี ที่ท่านผลักโจรตกเหวแล้วหลังจากนั้นได้พบท่านพระสารีบุตรจน

เป็นปัจจัยให้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นเหตุไม่ต้องเกิดอีก ก็ไม่ต้องรับกรรมที่ผลัก

โจรตกเหวอีก มีข้อที่ควรนำมาพิจารณาได้อย่างไรคะ

3.การที่เราจะหนีกรรมไม่ดีที่เคยทำเมื่อตอนเด็กๆ จะมีทางเป็นไปได้ไหม ด้วยเหตุใด

หรือเป็นไปไม่ได้ ด้วยมีหลักข้อ 1 ที่ต้องเป็นไป แล้วอย่างนั้น นางกุณฑลเกสีท่านมี

เหตุปัจจัยอย่างไร ที่หลุดพ้นกรรมได้ เกี่ยวข้องกับสภาพจิตที่เข้าใจแจ่มแจ้งว่า

ไม่มีเราหรือไม่คะ กราบขอบพระคุณมาล่วงหน้าค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 15 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของจิต คือ เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้ง

ซึ่งอารมณ์ ทุกขณะ ไม่เคยขาดจิตเลย มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย จิตเกิด

ขึ้นแล้วดับไป แต่เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย การเกิด

ดับสืบต่อกันทำให้จิตสะสมอุปนิสสัยที่เคยทำไว้ทุกขณะจิต สำคัญที่ความเข้าใจถูก

เห็นถูกจริงๆ เพราะจิตเป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยหลายอย่าง ไม่ได้เกิด

ขึ้นมาเองลอยๆ

สำหรับประเด็นที่ว่าจิตเป็นสภาพที่สืบต่อกรรมและกิเลส เป็นความหมายเดียวกับ

อนันตรปัจจัยหรือไม่

ต้องเข้าใจถึงความหมายของอนันตรปัจจัยก่อนว่า คืออะไร คือ ความเป็นปัจจัย

โดยไม่มีจิตอื่นคั่น กล่าวคือ เมื่อจิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) เกิดขึ้นแล้วดับไป

เป็นปัจจัยให้จิต (และเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) ขณะต่อไปเกิดขึ้นโดยไม่มีระหว่างคั่น

โดยอนันตรปัจจัย ซึ่งจิตขณะต่อไปที่เกิดขึ้น (รวมทั้งเจตสิก) นั้น ก็เป็นผลของ

อนันตรปัจจัยนั่นเอง

ในประเด็นคำถาม ไม่ได้หมายถึงเพียงอนันตรปัจจยเท่านั้น ยังเป็นโดยอนันตรูป-

นิสสยปัจจัย ด้วย กล่าวคือ เมื่อจิตขณะหนึ่งดับไปเป็นปัจจัยที่อาศัยที่มีกำลังให้จิต

ขณะต่อไปเกิดสืบต่อ สิ่งที่เคยสะสมไว้ทั้งกรรมและกิเลสก็ไม่สูญหายไปไหน สะสม

สืบต่อในจิตทุกขณะ

ก็ขอให้ทุกท่านได้พิจารณาอีกทีนะครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่

จิตทุกดวงเป็นอนันตรปัจจัย

-ตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีปัญญาถึงขั้นที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสถึงความ

เป็นพระอริยบุคคล ก็ยังมีเหตุปัจจัยให้กระทำอกุศลกรรมประการต่างๆ ได้ ตาม

เหตุปัจจัย ซึ่งก็เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร

ทั้งสิ้น ความประพฤติเป็นไปของผู้ก่อนที่จะได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ถึงความเป็น

พระอริยบุคคลนั้น ก็มีความประพฤติเป็นไปตามฐานะของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ ถึงกับล่วง

เป็นทุจริตกรรมได้ แต่ต้องไม่ถึงการกระทำที่เป็นอนันตริยกรรมซึ่งเป็นกรรมที่หนัก

ท่านพระกุณฑลเกสีเถรีก็เช่นเดียวกัน ก่อนหน้านั้นท่านได้กระทำอกุศลกรรม คือฆ่า

ผู้ที่เป็นสามี เมื่อท่านได้บวชในพระพุทธศาสนา ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็น

พระอรหันต์ ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง ไม่มีการกระทำที่เป็นบุญหรือเป็น

บาปอีกต่อไป และเมื่อท่านดับขันธปรินิพพานแล้ว ไม่มีการเกิดอีก ไม่มีการได้รับ

ผลของกรรมอีกต่อไป แม้จะมีกรรมที่ท่านได้เคยกระทำไว้ก่อนการได้บรรลุเป็นพระ

อรหันต์ก็ตาม กล่าวได้ว่า เป็นผู้สิ้นทั้งกรรมและสิ้นผลของกรรม เพราะไม่มีการเกิด

ก็ย่อมจะไม่มีเหตุให้ได้รับผลของกรรมอีกต่อไป

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

เรื่องพระกุณฑลเกสีเถรี [ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท]

-ตราบใดที่ยังเป็นผู้มีกิเลสอยู่ ก็อาจจะมีบ้างที่เคยกระทำในสิ่งที่ผิด เป็นบาป-

อกุศลกรรม สิ่งที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไป เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ แต่

สามารถสะสมอบรมในสิ่งที่ดีใหม่ต่อไปได้ เพราะสังสารวัฏฏ์ยังอีกยาวไกล สิ่งที่จะ

เป็นที่พึ่งได้จริงๆ ก็คือ กุศลธรรมเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ปัญญา ความเข้าใจ

ถูกเห็นถูก เป็นที่พึ่งได้ทุกระดับ, การรู้แจ้งอริยสัจจธรรมจนถึงความเป็นพระอรหันต์

เป็นเรื่องที่ไกลมาก เป็นได้ด้วยปัญญา และสำหรับผู้ที่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์นั้น

เป็นผู้ที่ห่างไกลจากกิเลสโดยประการทั้งปวง ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย ความ

ประพฤติเป็นไปของท่านก็เป็นไปอย่างผู้ที่ดับกิเลสแล้ว คือ มีจิตเพียงแค่ ๒ ชาติ

เท่านั้น คือ วิบากกับกิริยา และเมื่อดับขันธปรินิพพานแล้วไม่เกิดอีก ไม่มีสภาพธรรม

ใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย เพราะดับเหตุที่ทำให้มีการเกิด คือกิเลส แล้วนั่นเอง ขณะนี้เรา

ยังไม่กล่าวถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมก็ได้ แต่ก็สามารถสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก

จากการฟังพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวันพร้อมกับสะสมกุศลประการต่างๆ ละ

เว้นจากทุจริตกรรมโดยประการทั้งปวงนี้แหละ คือ สิ่งที่สำคัญที่สุด ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

กรรมดีลบล้างกรรมชั่วได้หรือไม่

เราจะมีวิธีลบล้างกรรมเก่าได้อย่างไร

....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 15 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรัหนตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. เป็นความหมายเดียวกับอนันตรปัจจัยหรือไม่

สภาพธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย แม้แต่การเกิดขึ้นของสภาพธรรม

ทีเป็น จิต เจตสิกขณะต่อไปก็เพราะอาศัยการเกิดขึ้นของสภาพธรรมทีเป็นจิต เจตสิก

แล้วดับไป เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดจิตดวงใหม่เกิดขึ้น เพราฉะนั้น จิตที่ดับไปเป็น

อนันตตรปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น ตราบใดที่ไม่ใช่จุติจิตของพระอรหันต์ ซึ่ง

ในความเป็นจริงนั้น อนันตตรปัจจัย ไม่ได้เป็นการแสดงถึงการสะสม สืบต่อของ

กิเลสเป็นสำคัญ แต่ เป็นการแสดงว่า การดับของจิตในขณะนี้ เป็นปัจจัยให้จิตดวง

ต่อไปเกิดขึ้น ตราบใดที่ยังมีกิเลส หากแต่ว่า เพราะอาศัย ปัจจัยที่เรียกว่า ปกตูป-

นิสสยปัจจัย จึงทำให้มีการสะสม ทั้งงฝ่าย กุศล และ อกุศล ในจิตต่อไปที่เกิดดับ

สืบต่อ สะสมทั้งสภาพธรรมที่ดี และ สะสมสภาพธรรมที่ไม่ดี และอาศัยกรรมปัจจัย

ที่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย เป็นปัจจัยให้เกิด ผล คือ วิบาก หลังจากมีการเกิด

ดับของจิตที่มีการกระทำ กุศล หรือ กุศลกรรมไปแล้ว เป็นเหตุให้เกิดผล ในขณะ

จิตต่อไปได้ อันสมควรกับประเภทของกรรม ครับ

-------------------------------------------------------

2. นางกุณฑลเกสี ที่ท่านผลักโจรตกเหวแล้ว หลังจากนั้นได้พบท่านพระสารีบุตร

จนเป็นปัจจัยให้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นเหตุไม่ต้องเกิดอีก ก็ไม่ต้องรับกรรม

ที่ผลักโจรตกเหวอีก มีข้อที่ควรนำมาพิจารณาได้อย่างไรคะ

ธรรมข้อคิดจากเรื่องนี้ ก็มีหลายประการ

ข้อคิดประการแรก แสดงถึง การสะสมมาของกิเลสไม่ได้หายไปไหน เมื่อเหตุ

ปัจจัยพร้อม ก็สามารถทำบาปได้ สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชน มีการหลงรักโจรจนยอมไป

อยู่กับโจรได้ ทั้งๆ ที่ชาตินั้นก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ก็เกิดความรักที่มีกำลัง

ได้ นี่แสดงถึงความเป็นปกติของปุถุชน ที่จะต้องดำเนินไปตามกิเลสทีเกิดขึ้น เป็น

ปกติ และ เมื่อกิเลส มีกำลังแล้ว เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ก็สามารถล่วงศีล ทำบาปที่

มีกำลังได้ คือ การฆ่าผู้อื่น มีการฆ่าโจร โดยการผลักให้ตกเหว เป็นต้นได้ ครับ

จึงเป็นเรื่องน่าพิจารณาครับว่า ผู้ที่เข้าใจหนทางการอบรมปัญญา และ ได้เริ่ม

ศึกษาธรรมจึงไม่ควรประมาทกิเลส ว่าได้ศึกษาธรรมแล้ว จะต้องเป็นคนดีอย่างมาก

เพราะปัญญาขั้นการฟังทำอะไรกิเลสไม่ได้เลย เพียงค่อยๆ รู้ขึ้น จากไม่เคยรู้ในขั้น

การฟัง ก็ค่อยๆ รู้ขึ้นในขั้นการฟังมากขึ้น ครับ และก็ย่อมมีเหตุปัจจัยให้เกิดอกุศล

ทำอกุศลได้ ซึ่งหนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้องคือ เข้าใจถูกว่าเป็นแต่เพียงธรรม

และ เป็นอนัตตา แม้แต่สภาพธรรมที่จะเกิดขึ้น ที่เป็นอกุศลธรรม ครับ

ข้อคิดประการที่สอง แสดงถึงการสะสมธรรมฝ่ายดี คือ ปัญญา ว่าเมื่อมีการสะสม

ปัญญามาแล้ว แม้จะทำอกุศลกรรม คือ การฆ่าผู้อื่น แต่เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็

สามารถบรรลุธรรมได้ จึงแสดงหนทางการอบรมปัญญาที่ถูกต้องว่า ไม่ใช่การจะ

ทำให้ ศีล 5 บริสุทธิ์ก่อน จึงจะ เจริญอบรมปัญญาได้ เป็นไปไม่ได้เลย เพราะ ผู้ที่

จะรักษาศีล 5 สมบูรณ์ คือ พระโสดาบัน ดังนั้น แม้จะเกิดกิเลส มีการทำบาป ตาม

ธรรมดาของปุถุชน แต่ ส่วนกิเลส ส่วนบาป ก็เป็นคนละส่วน กับความดีที่เป็นปัญญา

เพราะฉะนั้น เมื่อได้สะสมปัญญามาแล้ว ก็สามารถบรรลุธรรมได้ แม้จะเคยเป็นคน

ไม่ดี ล่วงศีลมาก่อน ครับ ความดี และ ปัญญาจึงไม่ได้หายไปไหน ก็ควรสะสม

ความดีต่อไป พระสูตรนี้จึงเป็นเครื่องเตือนให้เห็นคุณค่าของการสะสมปัญญา ที่

จะทำให้ถึงการดับกิเลสได้ในที่สุด ครับ

ข้อคิดประการที่ สาม คือ ปัญญาไม่ได้เลือกเพศ ปัญญา เป็นสภาพธรรมที่เป็น

นามธรรม ปัญญาจึงไม่ได้มีเพศ ไม่มีชาย มี หญิง เพราะเป็นแต่พียงสภาพธรรม

ฝ่ายดี ที่เป็นความเห็นถูก เป็นไป ที่เกิดกับจิตที่ดีงาม เป็นต้น เพราะฉะนั้น ปัญญา

ก็สามารถเกิดกับใคร บุคคลใดก็ได้ ไม่ว่าเป็นชาย หรือ หญิง ขอเพียงได้สะสม

ปัญญา ความดีมาเท่านั้น ครับ

สมดัง ในพระสูตรนี้ ที่ได้กล่าวยกย่อง ปัญญาของสตรีว่า ตอนหนึ่งว่า

"บุรุษนั่น เป็นบัณฑิตในที่ทุกสถาน ก็หาไม่,

แม้สตรี ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ก็เป็นบัณฑิตได้

ในที่นั้นๆ ."

ข้อคิดประการที่สี่ของพระสูตรนี้ ในพระคาถาสุดท้าย แสดงถึงพระธรรมที่น่า

คิดที่ว่า คาถา ตั้งร้อย ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ ธรรมเพียงบทเดียว ที่ฟังแล้ว

สงบ ประเสริฐ กว่า แสดงให้เห็นคุณค่าของพระธรรม แม้หากไม่ได้ฟัง ไม่ว่าจะมาก

หรือ จะน้อย แต่ ก็เป็นคำที่มีประโยชน์ทำให้เกิดปัญญา ต่างกับ คำของชาวโลก ที่

แม้จะฟังมาก กล่าวมาก แต่ ทำให้เกิดกิเลส ไม่ได้นำมาซึ่งประโยชน์คือ ความสงบ

จากกิเลสเลย จึงควรเห็นค่าของการแบ่งเวลาในการฟังพระธรรมเป็นสำคัญ ครับ

---------------------------------------------------------

3.การที่เราจะหนีกรรมไม่ดี ที่เคยทำเมื่อตอนเด็กๆ จะมีทางเป็นไปได้ไหม ด้วย

เหตุใด หรือเป็นไปไม่ได้ ด้วยมีหลักข้อ 1 ที่ต้องเป็นไปแล้วอย่างนั้น นางกุณฑล-

เกสีท่านมีเหตุปัจจัยอย่างไร ที่หลุดพ้นกรรมได้ เกี่ยวข้องกับสภาพจิตที่เข้าใจแจ่ม

แจ้งว่าไม่มีเราหรือไม่คะ กราบขอบพระคุณมาล่วงหน้าค่ะ

- พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งกรรม มีทั้งให้ผลก็มี รวมทั้งกรรมที่ทำแล้ว

ไม่ให้ผลก็มี แต่ ไม่มีใครู้และบังคับ กะเกณฑ์ได้เลย เพราะเป็นไปตามเหตุปัจจัย

ที่สำคัญที่สุด ที่คิดว่าหนีกรรมใด ใครหนี ก็เพราะ คิดว่ามีเรา มีตัวตน จึงมีเราที่จะ

หนี แต่ ในความเป็นจริง มีแต่ธรรม ไม่มีเรา เพราฉะนั้น จึงไม่มีเราที่หนี มีแต่จิต

เจตสิกทีเกิดขึ้น ซึ่งจิต เจตสิกจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยเหตุปัจจัยหลายๆ ประการ ด้วย

กัมมปัจจัย คือ อาศัยกรรมเป็นปัจจัยให้เกิด วิบากจิตที่ดี ไม่ดี ที่เป็นผลของกรรม

ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีการทำกรรมแล้ว กรรมจะต้องให้ผลเสมอไป

ก็แล้วแต่ กรรมใด จะมีเหตุปัจจัยใด ซึ่งหลากหลายมากมาย ทั้งอาศัย คติ สถานที่

เกิด ทำให้เกิด ผลของกรรมก็ได้ หรือ ห้ามผลของกรรมก็ได้ ในเฉพาะชาตินั้น เช่น

เกิดในสวรรค์ ก็ห้ามกรรมไม่ดีบางอย่างไม่ให้ผล แต่ไม่ได้หมายความว่า จะไม่เป็น

โอกาสของกรรมนั้นจะให้ผล ก็เป็นชาติถัดๆ ไปก็ได้ ตราบใดที่ยังมีขันธ์ 5 เหมือน

สุนัขล่าเนื้อที่ไล่ไป ทันเมื่อไหร่ก็กัดเมื่อนั้น แต่ เมื่อพระอรัหนต์ดับกิเลสแล้ว ก็คือ

ไม่มีกิเลส ที่เป็นต้นเหตุให้เกิด การทำกรรม เมื่อไม่มีการทำกรรม ก็ไม่เกิดวิบาก

และ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิต เจตสิก เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านพระกุณฑลเกสีเถรี แม้จะ

ฆ่าผู้อื่น และ ท่านพระองคุลีมาล แม้จะฆ่าผู้อื่น กรรมที่จะทำให้เกิดในนรก ก็ย่อม

ไม่ให้ผล เพราะเป็นกรรมของชาติถัดไป แต่เพราะไม่มีการเกิดแล้ว ไม่มีการเกิดจิต

เจตสิก ที่เป็นธรรมไม่ใชเรา ก็ไม่มีการได้รับวิบาก เพราะ วิบาก การเกิดที่เป็นปฏิ-

สนธิจิต ก็เป็นธรรม เช่นกัน ก็ไม่ต้องรับผลของกรรมครับ ดังนั้น การจะได้รับผลของ

กรรม ไม่ได้รับผลของกรรม ก็ตามแต่ปัจจัยของแต่ละปัจจัย เป็นสำคัญ ครับ โดย

ไม่ได้ตายตัวว่า สามารถหนีกรรม หรือ ไม่สามารถหนีกรรมได้ เพราะความเข้าใจว่า

หนี หรือ ไม่หนีได้ เป็นความเข้าใจที่ผิด ที่ตั้งอยู่ในความยึดถือว่ามีเราที่หนี แท้

ที่จริงมีแต่ธรรมที่เป็นไป ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 15 ก.ย. 2556

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ทั้งสองเป็นอย่างสูงที่เมตตาให้ความกระจ่าง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ

สิริพรรณ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 17 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
orawan.c
วันที่ 24 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ