ปฐมโพธิสูตร ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม

 
chomchean
วันที่  15 ก.ย. 2556
หมายเลข  23610
อ่าน  1,690

[เล่มที่ 44] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ -หน้าที่1

[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้-

โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียว ตลอด ๗ วัน

ครั้งนั้นแล พอสัปดาห์นั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธิ

นั้น ไค้ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นอนุโลมด้วยดีตลอดปฐมยาม

แห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์

ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น

ย่อมสิ้นไปเพราะมารู้แจ้งธรรมพร้อมด้วยเหตุ.

จบปฐมโพธิสูตรที่ ๑


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
panasda
วันที่ 17 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Suth.
วันที่ 8 ต.ค. 2556

พระธรรมเป็นสิ่งที่ละเอียดและลึกซึ้ง ดังนั้นการศึกษาพระธรรมจึงต้องศึกษาอย่างละเอียดจริงๆ เอกสารหลักฐานที่จารึกพระธรรมไว้ก็มีหลายระดับ ตั้งแต่พระไตรปิฎก อรรถกถาลงไปตามลำดับ ผู้มีปัญญาดี อาจมีสติระลึกรู้สภาพธรรมได้ เพียงได้ฟังหัวข้อธรรม แต่บุคคลประเภทอื่นๆ จำเป็นต้องฟังคำอธิบายรายละเอียด แม้เพียงความเข้าใจในระดับการคิดนึก หรือที่เรียกว่าจินตามายปัญญาก็ตาม ในที่นี้เป็นพระสูตรซึ่งกล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นอนุโลม และทรงทราบเนื้อความด้วยปัญญา กระผมอยากทราบว่าถ้าจะศึกษารายละเอียดของปฏิจจสมุปบาท จะสามารถหาคำอธิบายได้จากไหน หรือหากท่านผู้รู้จะกรุณาอธิบายเพิ่มเติม ต่อจากพระสูตรนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 8 พ.ย. 2556

สามารถศึกษาเพิ่มจากพระไตรปิฎกและอรรถกถา เช่น สังยุตตนิกายนิทานวรรค เล่ม 26 และ อภิธรรมปิฎก ปัจจยการวิภังค์ ปฏิจสมุปปาทวิวิภังค์ เล่มที่ 77 อนึ่งการจะเข้าใจเรื่่องนี้ดี ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานปรมัตถธรรมเป็นอย่างดี จึงจะช่วยทำให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 27 มี.ค. 2559

ขอบพระคุณ อนุโมทนา สาธุ ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ