พระอาพาธ

 
รัก
วันที่  25 ก.ย. 2556
หมายเลข  23691
อ่าน  5,725

สอบถามค่ะ ถ้าพระอาพาธในรพ. เอกชน พระวินัยการแต่งตัวของสงฆ์อาพาธ

ต้องทำอย่างไรคะ พยาบาลที่ดูแลควรทำอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 25 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระภิกษุเป็นเพศที่แตกต่างไปจากคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง เครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุ

จะไม่เหมือนเครื่องแต่งกายของคฤหัสถ์ และพระภิกษุจะไปแต่งกายเหมือนกับคฤหัสถ์

ไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นในกรณีใดๆ ก็ตาม ดังนั้น ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด เครื่องนุ่งห่มของ

ท่านก็คือ ผ้าสบงจีวร ตามพระวินัยบัญญัติ เมื่อพระภิกษุอาพาธ หน้าที่ของ

การพยาบาลพระภิกษุอาพาธต้องเป็นพระภิกษุด้วยกันดูแลรักษาพยาบาล แต่ถ้ามี

มีความจำเป็นที่ไปรักษาที่โรงพยาบาล ก็ควรที่จะเป็นหน้าที่ของแพทย์พยาบาล

ผู้ชาย ไม่ควรให้หมอผู้หญิงหรือพยาบาลถูกต้องตัวพระภิกษุ เพราะอาจจะทำให้

พระภิกษุต้องอาบัติหนักได้ เพราะธรรมชาติของจิตปุถุชนกลับกลอก ถ้ามีความ

พยายามทางกายเพียงนิดเดียว ก็เป็นอาบัติแล้ว ดังนั้น สำหรับพระภิกษุเมื่อมี

ความจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลไม่ว่าจะรัฐบาลหรือเอกชนก็ตาม เพื่อรักษาพระวินัย

ก็ควรน้อมประพฤติตามพระวินัย และควรให้หมอผู้ชายหรือบุรุษพยาบาลทำการดูแล

ในด้านต่างๆ เช่น ฉีดยา เป็นต้น และสำหรับผู้ที่เป็นพยาบาลก็จะต้องมีความเข้าใจ

ในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าเป็นผู้หญิงแล้ว โอกาสที่พระภิกษุจะต้องอาบัติก็มีสูง

แม้ว่าผู้ที่เป็นคฤหัสถ์จะไม่มีเจตนาที่จะให้ท่านต้องอาบัติก็ตาม เพราะจิตใจเป็นเรื่องที่

ระวังยาก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมากครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 25 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยบัญญัติ ไม่ได้เลือกสถานที่ แต่ พระวินัยบัญญัติก็ต้องเป็นไปตามนั้น ไม่ว่า

สถานที่ใด โดยเฉพาะ หากเป็นสถานที่ที่ไม่ใช่ ในวัด แต่เป็นสถานที่ข้างนอก การแต่ง

กายของพระภิกษุ ย่อมที่จะรัดกุม, และเหมาะสมยิ่งกกว่าเดิม อันแสดงถึงความเรียบร้อย

และ นำมาซึ่งความเลื่อมใส ที่ไม่ใช่ดั่งเช่นคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น พระภิกษุก็ควรแต่งกาย

ดั่งเช่น พระภิกษุ ตามโอกาสอันสมควร ครับ

ส่วนพยาบาลที่ดูแล หากว่า พระภิกษุ ยังดูแลตนเองได้ ก็ควรให้ท่าน เปลี่ยนผ้าจีวร

ของท่านเอง แม้แต่ จะเป็นพยาบาล ผู้ชาย และ ผู้หญิงเองก็ตาม ก็ควรที่จะให้ท่านแต่ง

ตัวที่ถูกต้องด้วยตัวท่านเอง และที่สำคัญหากจะต้องมีการถูกเนื้อต้องตัว ควรเป็นผู้ชาย

ที่เป็นผู้ช่วยพยาบาลก็ได้ ครับ ในการที่จะช่วยเหลือท่าน ในกรณีที่พระภิกษุรูปนั้น ป่วย

หนัก ไม่สามารถช่วยตนเองได้ ผู้ที่เป็นผู้ช่วยพยาบาลที่เป็นผู้ชายก็สามารถช่วยทำกิจ

ธุระในเรื่องนี้ ทั้งการอาบน้ำ ทำความสะอาด และ เปลี่ยนเสื้อผ้าแต่ ต้องเป็นไตร จีวรที่

เหมาะสมกับเพศพระภิกษุ ครับ ซึ่ง สำหรับเพศบรรพชิตนั้น ผู้ที่จะบวชเป็นบรรพชิตได้

นั้น ต้องเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยน้อมไปที่จะขัดเกลากิเลสในเพศบรรพชิตด้วยใจจริง ซึ่ง

ต้องสละอาคารบ้านเรือน สละวงศาคณาญาติ รวมถึงสละโภคสมบัติด้วย เมื่อบวชแล้ว

ยังจะต้องศึกษาพระธรรมวินัย ศึกษาในสิกขาบทข้อต่างๆ ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ

ไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าปราศจากการศึกษาหรือไม่มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง

พฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่มีความละอาย ล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติ ก็ย่อมจะเกิดขึ้นอยู่บ่อย

ๆ ความเป็นบรรพชิต ถ้ารักษาไม่ดี ไม่เอื้อเฟื้อในพระธรรมวินัย มีแต่จะทำให้เกิดโทษ

ฝ่ายเดียว ดังข้อความที่ว่า

"หญ้าคาอันบุคคลจับไม่ดี ย่อมบาดมือนั่นเอง ฉันใด ความเป็นสมณะ อันบุคคลปฏิบัติไม่ดี ย่อมฉุดเข้าไป ในนรก ฉันนั้น"

ดังนั้น คฤหัสถ์ ก็ควรเป็นผู้ที่ศึกษาพระวินัย และ ปฏิบัติกับท่านอย่างถูกต้อง ก็จะ

ทำให้ท่านไม่ต้องอาบัติได้ ซึ่งก็เป็นการช่วยท่านอีกทางหนึ่ง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
orawan.c
วันที่ 27 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nopwong
วันที่ 28 ก.ย. 2556

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ