ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ

 
chomchean
วันที่  25 ก.ย. 2556
หมายเลข  23694
อ่าน  1,310

[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

[๗๕๗] ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขา สรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อม กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด. ว่าด้วยไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ

[๗๕๘] คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ความว่า คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมนินทา ติเตียน ค่อนขอดภิกษุโดยชาติบ้าง โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงาม บ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยความเชื้อเชิญบ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดย ศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง ภิกษุถูกนินทาติเตียนค่อนขอดแล้ว ไม่พึงหวั่น หวั่นไหว เอนเอียง สะดุ้ง ดิ้นรน กระวนกระวายกลัว ถึงความหวาด เสียว คือไม่พึงเป็นผู้ขลาด ครั่นคร้าม หวาดเสียว หนีไป ในเพราะ ความนินทา ติเตียน ค่อนขอด เสื่อมเสียเกียรติ ถูกกล่าวโทษพึงเป็น ผู้ละความกลัวความขลาด ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะ- ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา

[๗๕๙] คำว่า ภิกษุถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น ความว่า คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุ โดยชาติบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่นๆ บ้าง ภิกษุถูกเขาสรรเสริญ ชมเชย ยกย่องพรรณนาคุณแล้ว ไม่ควรทำความฟูขึ้น ไม่ควรทำความกำเริบขึ้น ไม่ควรทำความถือตัว ไม่ควรทำความกระด้าง คือไม่ควรเป็นผู้จองหอง เป็นผู้ปั้นปึ่ง เป็นผู้หัวสูง เพราะความสรรเสริญ เพราะความชมเชย เพราะความยกย่อง เพราะความพรรณนาคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ ถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 6 เม.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ