วิญญาณ

 
วิศวกรสนใจธรรม
วันที่  29 ก.ย. 2556
หมายเลข  23727
อ่าน  6,526

กระผมสงสัยเรื่องวิญญาณ ที่เป็นส่วนหนึ่งของขันธุ์ 5 ครับ "วิญญาณ" คำนี้เกิด จาก หู ตา จมูก ลิ้น สัมผัสทางกาย และสัมผัสทางใจรวมไปถึงเจตสิก กับ "วิญญาณ" ในหัวข้อเรื่อง วิญญาณปฏิสนธิในครรภ์มารดา (มนุษย์เกิดจาก 1. พ่อแม่อยู่ด้วยกัน 2. แม่อยู่ในช่วงมีรอบเดือน 3. มีวิญญาณปฏิสนธิ) วิญญาณ 2 ตัวนี้ เป็นวิญญาณความหมายเดียวกันหรือไม่ครับ หรือเกี่ยวกัน อย่างไรครับ?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 29 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-ขันธ์ หมายถึง สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งความว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์เป็น บุคคล,เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ขันธ์ มี ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริงแต่ละหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น เพียงแค่เห็นขณะเดียว (จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น) มีขันธ์ ๕ ครบเลย กล่าว คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา (สี) กับ จักขุปสาทะ (ตา) เป็นรูปขันธ์ เวทนาที่เกิด ร่วมกับจิตเห็น เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาที่เกิดกับจิตเห็น เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิก อีก ๕ (ผัสสะ เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ และมนสิการะ) เป็นสังขารขันธ์ จิตเห็น เป็นวิญญาณขันธ์

-วิญญาณ ใน ชันธ์ 5 คือ วิญญาณขันธ์ หมายถึงสภาพธรรมที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ วิญญาณเป็นอีกชื่อหนึ่งของ จิตซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์

เพราะฉะนั้น วิญญาณขันธ์ มุ่งหมายถึง จิตทุกประเภท ที่มี 89 ดวง หรือ โดยละเอียด 121 ดวง ซึ่ง มีหลากหลายจิต หลากหลายประเภท ครับ วิญญาณปฏิสนธิในครรภ์ ที่เรียกว่า การเกิด หรือ ปฏิสนธิวิญญาณ หมายถึง ขณะที่จิตที่เป็น ชาติวิบาก ทำหน้าที่เกิด อาจจะสมมติว่าเกิดในครรภ์ ขณะที เกิดเป็นเทวดา ขณะนั้น เป็นการทำกิจหน้าที่ของ ปฏิสนธิจิตวิญญาณ ก็คือ เป็น วิญญาณแป็นจิตประเภทหนึ่งทีเป็นจิตชาติวิบากทำหน้าที่เกิด เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นส่วนหนึ่งของ วิญญาณขันธ์ เพราะ วิญญาณขันธ์ กินความ หมายกว้างกว่า เพราะ วิญญาณขันธ์ หมายถึง จิตทุกๆ ประเภท ครับ ส่วน ปฏิสนธิ วิญญาณ หมายถึง จิตประเภทหนึ่งเท่านั้น ที่ทำกิจหน้าที่เกิด ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิศวกรสนใจธรรม
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก็ต้องตั้งต้นที่การศึกษาพระธรรมไปทีละคำๆ จริงๆ เพราะก่อนหน้าที่ก็อาจจะ เคยได้ินคำว่า ขันธ์ บ้าง วิญญาณ บ้าง แต่ก็ยังไม่เข้าใจถูกตามความเป็นจริง จนกว่าจะได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมจริงๆ เพราะกล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริงที่เกิด ขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน ขันธ์ คือ สภาพธรรมที่ทรงไว้ซึ่งควาว่างเปล่าจาก ความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปไม่เที่ยง ไม่ยังยืน เกิดแล้วดับไป สภาพธรรมที่เกิดดับทั้งหมด เป็นขันธ์ รวมถึง วิญญาณ ก็เป็นขันธ์ด้วย

วิญญาณ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นนามธรรม เป็นจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ มีพยัญชนะหลายประการที่หมายถึงจิต เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะของจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่แต่ละบุคคลมี ด้วยกันทั้งนั้น (ในชีวิต ไม่ปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว) หนึ่งในนั้น คือ วิญญาณ ดังนั้น จิตกับวิญญาณจึงเป็นธรรมอย่างเดียวกัน วิญญาณไม่มีการล่องลอย ไม่มีรูป ร่าง วิญญาณไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะมีอยู่ทุกขณะ แม้แต่ขณะนี้ที่เห็น ก็เป็น วิญญาณ คือ จักขุวิญญาณ

ถ้าได้ศึกษาพระธรรมไปตามลำดับ จะเข้าใจได้ว่า จิต หรือ วิญญาณ นั้น เกิดขึ้น เป็นไป โดยอาศัยทวารหนึ่งทวารใด ใน ๖ ทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ ก็มี และ ยังมีวิญญาณอีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาศัยทวารใดๆ เลย ก็มี นั่นก็คือ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และ จุติจิต

ก็จะต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาพระธรรมไปตามลำดับ จริงๆ เพราะทุกขณะ ก็ไม่เคยขาดวิญญาณหรือจิตเลย มีจิตเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอด จิตขณะหนึ่งดับไ ปเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันที ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nongnooch
วันที่ 30 ก.ย. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ย. 2556

วิญญาณ เป็นนามธรรมเป็นธาตุชนิดหนึ่งที่เกิดดับ เช่น จิต เจตสิก ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kinder
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nopwong
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วิศวกรสนใจธรรม
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขอรบกวนถามต่อครับ ถ้าเราตายไปแล้วในชาติหน้ารูปเรายังมี 28 ประการหรือเปล่าครับและเราจะยังจำได้เคยศึกษาธรรมมะในชาตินี้ (ความรู้สึกนึกคิด ยังมีเหมือนเดิมหรือ เปล่า) คำว่า เทวดา สัตว์เดรัชฉาน สัตว์นรก ฯ เป็นคำพูดที่สมมติบญญัติขึ้นมาหรือเปล่า แต่ในทางปรมัตธรรม (ตามจริงเห็นจริงๆ) เราก็จะเป็นสัตว์อะไรสักอย่างบนโลกนี้

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ