ฟังพระอภิธรรมพื้นฐานมาถึงตอนที่592 เกี่ยวกับ
ฟังพระอภิธรรมพื้นฐานมาถึงตอนที่592 เกี่ยวกับ "อุปนิสสยโคจร"
ขอความกรุณาอธิบาย เกี่ยวกับ "อุปนิสสยโคจร" ด้วยครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โคจร หมายถึง การเที่ยวไป อโคจร จึงหมายถึง การไม่ควรเที่ยวไป ซึ่ง เมื่อว่าโดย
ละเอียดแล้ว แม้แต่คำว่า เที่ยวไป ก็ต้องพิจารณาให้ละเอียดครับว่า มุ่งหมายถึงอะไร
และมีนัยอะไรบ้างครับ เที่ยวไป ในความเป็นจริง ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต
เจตสิกและรูปทีเกิดขึ้นและดับไป ดังนั้น เมื่อพูดถึง คำว่า เที่ยวไป ที่เป็นโคจร โดยทั่ว
ไป เราเข้าใจว่า เป็นการเที่ยวไปของสัตว์ บุคคล เช่น ภิกษุ ไปสถานที่เที่ยวไป เป็นต้น
แต่ในความเป็นจริง หากไม่มี จิต เจตสิก ก็ไม่มีการเที่ยวไปได้เลย เพราะฉะนั้น อีกนัย
หนึ่ง การเที่ยวไป คือ การเที่ยวไปของจิต เจตสิก จิต เจตสิกทีเกิดขึ้นแต่ละขณะ เป็น
การเที่ยวไปของจิตและเจตสิกครับ
ส่วน คำวว่า โคจร ไม่ได้มุ่งหมายเพียง การที่ภิกษุไม่เที่ยวไปในสถานที่อันไม่
สมควรเท่านั้นครับ โคจรยังมีหลายนัย อันจะนำมาสู่ความเข้าใจในการอบรมปัญญา
อีกนัยหนึ่ง โคจร มี 3 อย่างคือ อุปนิสัยโคจร คือ อารมณ์เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต อันเป็นเหตุทำให้ได้ที่พึ่ง
ที่มีกำลัง เช่น การเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตรผู้มีคุณธรรมมีปัญญาแล้วทำให้ตัวเอง
เจริญในคุณธรรมและปัญญา เข้าใจถูกในหนทางดับกิเลส เป็นต้น รวมถึง พระธรรม
ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ก็เป้นที่พึ่งที่มีกำลัง เพราะ ทำให้เกิดปัญญา ความเห็นถูก
ข้อความจาก พี่เมตตา อธิบายเพิามเติมในเรื่องนี้
สิ่งสำคัญก็คือฟังให้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง การฟังพระธรรมบ่อยๆ จนเป็นนิสัย เป็น
เหตุให้มีความเข้าใจในพระธรรมเป็นอารมณ์ เป็นอุปนิสสยโคจร (อุป = มี
กำลัง, นิสสย = เป็นที่อาศัย, โคจร = อารมณ์) เมื่อมีความเข้าใจในธรรมที่ได้
ฟัง ค่อยๆ มีความเข้าใจธรรมเพื่มขึ้นซึ่งจะเป็นปัจจัยให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้น
อกุศลจิตย่อมไม่เกิดจึงเป็น อารักขโคจร (อารักข =รักษา, โคจร = อารมณ์)
จนกว่ามีความเข้าใจที่มั่นคงขึ้น สติ และปัญญามีกำลังค่อยๆ ใกล้ที่จะรู้ความจริง
ต้องใช้เวลาในการอบรมยาวนานมากเป็นจิรกาลภาวนา..ไม่ใช่รู้ความจริงได้โดย
รวดเร็ว เพราะเราสะสมความไม่รู้มานานในสังสารวัฏฏ์ที่ผ่านมา พระธรรมนั้นลึกซึ้ง
ละเอียด รู้ตามได้ยาก เมื่อสติปัญญามีกำลังรู้ตรงลักษณะสภาพธรรมเป็น อุปนิพันธ
โคจร ซึ่งหมายถึงขณะนั้นสติปัฏฐานเกิด
อารักขโคจร อารมณ์เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต อันเป็นเหตุทำให้มีการรักษา
(ไม่ให้อกุศลจิตเกิดขึ้น) เช่น ภิกษุเป็นผู้สำรวมกาย วาจา เมื่อบิณฑบาต มีจักษุ
ทอดลงต่ำ ไม่แลดูสิ่งไม่ควร ไม่วอกแวก เป็นต้น
อุปนิพันธโคจร คือ อารมณ์เป็นที่ท่องเที่ยวไปของจิต อันเป็นเหตุทำให้สติเข้า
ไปผูกพันไว้ คือ สิ่งที่ผูกไว้เป็นที่เที่ยวไปของภิกษุคือสติปัฏฐาน 4 นั่นเองครับซึ่งสามารถอบรมได้ในทุกสถานที่เพราะธรรมมีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน สติปัฏฐาน
จึงเป็นโคจรของภิกษุ (อุปนิพันธโคจร)
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า อุปนิสสยโคจร (โคจรอันเป็นอุปนิสัย) ในอรรถกถาท่านอธิบายไว้ ไม่พ้น
ไปจากชชีวิตประจำวัน คือ การเข้าไปอาศัยกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีปัญญา
ซึ่งจะเหตุให้ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นการสะสมเหตุที่ดี
สะสมปัญญาความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ มีที่อาศัยที่มีกำลัง คือ อาศัย
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว ก็จะมี
ปัญญาเป็นที่พี่่ง จากที่เคยเป็นอกุศล ก็มีกุศลเกิดขึ้นเป็นไป เป็นการรักษาให้พ้น
จากอกุศล และเมื่อสะสมปัญญาต่อไปมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรมก็
จะเป็นเหตุให้มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรกาฏตามความเป็นจริง
ได้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ก็จะเกื้อกูลกันทั้งหมด เพราะมีเหตุที่สำคัญ นั่น ก็คือ
การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม นั่นเอง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...