สงสัยเรื่องสมาทานศีล กับสมาธิ

 
berzerker
วันที่  30 ก.ย. 2556
หมายเลข  23734
อ่าน  6,442

คือผมได้ฟังแม่ชีทศพร ท่านพูดเปรยๆ ว่าให้สวดมนต์ และสมาทานศีล 5 ก่อนนอน เพราะเป็นช่วงที่เราไม่ผิดศีลกับใคร ที่ไหนเพราะเราบริสุทธิ์อยู่ณ เวลาที่สมาทานศีล 5 เพราะส่วนใหญ่กลัวสมาทานตอนเช้าไป ต้องพบเจอสังคมที่ยุ่งเหยิง ต้องมีขาด ทะลุ ด่างพร้อย บ้าง ถ้ายังไม่ใช่โสดาบัน แม่ชีเลยให้ทำแบบนี้ นี้กรณีแรก

นี้กรณีที่สอง ถ้าทำอย่างที่แม่ชีบอก ถ้าจะนั่งสมาธิให้เป็นฌานได้ไหม เพราะอ่านมาหลายที่ ว่า จะทำสมาธิให้เป็นโลกีย์ฌาน ต้องศีลบริสุทธิ์ ต้องบริสุทธิ์ขนาดไหน

เพราะในสังคมสมัยนี้ศีลบริสุทธิ์ยากมาก และโลกีย์ฌานชาวธรรมดาก็ทำได้ ตามคำบอกเล่า เพราะถ้าบริสุทธิ์ เต็ม 100 ต้องโสดาบันขึ้นไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การรักษาศีล 5 ต้องเริ่มด้วยจุดประสงค์ที่ถูกต้อง ไม่ใช่ รักษาเพื่อที่จะ ได้มีศีลดี ได้ กุศล เพราะความบริสุทธิ์ของศีล แต่ การรักษาศีล 5เพื่อที่จะ สละขัดเกลากิเลส ระมัดระวังทางกาย วาจา โดยเฉพาะการดำเนินชีวิตประจำวัน

หากได้อ่านพระไตรปิฎกแล้ว อย่างเช่น การรักษาศีล เช่น ศีล 8 เป็นต้น ก็สมาทาน ตอนเช้า เพื่อประโยชน์ในการขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน เพราะ การดำเนินชีวิต ประจำวัน ก็มีการพบปะ ผู้คน ก็ควรที่จะสมาทานศีลก่อน เพื่อที่จะสำรวมระวังต่อไป ไม่ใช่ว่า ไปสมาทานก่อนนอน ไม่เจอใคร ศีลจะได้ดี เพราะ ในควาเมป็นจริง ก็ต้อง เข้าใจว่า ขณะที่เป็น ศีล คือ ขณะจิตที่สมาทาน รักษา และ ขณะที่งดเว้นจากบาป ในขณะนั้น ยกตัวอย่างเช่น ขณะใดที่มีเจตนารักษาศีล ขณะจิตนั้น ก็เป็นศีล และ ขณะจิตต่อไป ก็เป็นอกุศลจิตแล้ว จะกล่าวว่า เป็น กุศลศีลอีกไม่ได้ แล้วครับ

จึงต้องพิจารณาทีละขณะจิต และ ขณะที่งดเว้นจากการตบยุง ในขณะนั้น ก็เป็นกุศล ศีลที่งดเว้นจากบาป ครับ จะเห็นนะครับว่า ขณะที่เป็นศีล ก็ต้องเป็นขณะจิตนั้น ไม่ได้เหมารวมทั้งหมด ว่า ไม่ทำอะไร จะมีศีล เพราะ ไม่เช่นนั้น เด็กอ่อน ทีเพิ่งเกิด ไม่ทำอะไร ก็มีศีล หรือ สมาทานเพียงครั้งเดียว ไม่ทำอะไรเลย จะมีศีลไปตลอด ไม่ใช่เช่นนั้นครับ เพราะ หลังจากสมาทานศีลแล้ว จิตขณะต่อไปก็เป็นอกุศล โกรธ คนอื่น ตอนนึกในใจก็ได้ จะกล่าวว่า เป้นผุ้ที่ศีล ทีเป็นกุศลศีลได้อย่างไร ครับ และ แม้ขณะที่หลับสนิท เป็นภวังคจิต เป็นจิตชาติวิบาก ไม่ใช่จิตชาติกุศล ก็ไมได้มี กุศลศีลในขณะนั้น ครับ

เพราะฉะนั้น การรักษาศีลเพื่อขัดเกลากิเลสทางกาย วาจา เพือ่ประโยชน์กับคนรอบข้าง ไม่ใช่เพื่อตนเอง จะได้ไม่ล่วงศีล ได้อานิสงส์ผลบุญ จึงควรรักษาทุกกาล โอกาส โดยเฉพาะการสมาทาน รักษา ตั้งแต่เช้าในชีวิตประจำวัน ส่วนจะรักษาได้ ไม่ได้ก็ตามเหตุปัจจัย ตามอำนาจของกิเลส ครับ

ส่วน ศีลจะบริสุทธิ์ ไม่ล่วงศีล 5 ต้องถึงความเป็นพรพะโสดาบัน เพาะฉะนั้น ศีล บริสุทธิ์ เป็นตัวผล ที่มาจากเหตุ คือ ปัญญาถึงการดับกิเลส ได้เป็นพระโสดาบัน แต่ พุทธศาสนิกชน ที่ไม่ละเอียดก็เข้าใจผิดว่า จะต้อง รักษาศีลให้บริสุทธืจึงจะ อบรมปัญญา ปฏิบัติธรรมได้ เท่ากับว่า เราเอาตัวผล มาก่อน เพื่อที่จะไปสู่ผล คือ การบรรลุ หรือ การเกิดปัญญา ซึ่งเหตุไม่ตรงกับผล ซึ่งเหตุให้เกิดปัญญา การปฏิบัติ ธรรม จึงไม่ใช่ด้วยการนั่งสมาธิ ไม่ใช่ด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ก่อน แต่ อยู่ที่การ ฟัง ศึกษาพระรรม ที่จะเป็นเหตุให้เกดิปัญญา ความเห็นถูก และ เมื่อปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น ศีลก็จะค่อยๆ ดีขึ้นเองตามลำดับ แต่ไม่บริสุทธิ์จริงๆ เพราะ ยังไม่ใช่ พระโสดาบัน และ เมื่อปัญญาเจริญขึ้นจากการฟัง ศึกษาพระธรรม ที่ไม่ใช่การ นั่งสมาธิ ไปรักษาศีล ก็จะทำให้เกิดการปฏิบัติถูก ซึ่งการปฏฏิบัติที่ถูกต้องใน พระพุทธศานา คือ สติปัญญาเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพะรรมที่มีจริงในขณะนี้ ว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เร โดยไม่ใช่การไปนั่งสมาธิ เดินจงกรม ที่เข้าใจผิดว่า เป็นการฏิบัติธรรม ครับ

การจะเข้าใจพะรธรรมที่ถูกต้อง จึงจะต้องศึกษาธรรม ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นสำคัญ แม้ว่าใครจะบอกอย่างไรก็ต้องเทียบเคียงกับพระรรมที่พระพุทธเจ้าทรง แสดงว่าถูกต้องหรือไม่ก็จะเข้าใจถูกว่า ปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องคืออย่างไร ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่น่าพิจารณา คือ ศีล ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย แม้จะไม่มีวัตถุสิ่งของ สำหรับให้แก่ผู้อื่น แต่กุศลจิตก็สามารถเกิดขึ้นเป็นไปได้ ในขณะที่วิรัตงดเว้นในสิ่ง ที่ไม่ดี ที่เป็นการล่วงศีลข้อต่างๆ ซึ่งในขณะนั้น ก็เป็นการให้ความไม่เบียดเบียน แก่ผู้อื่นกล่าวคือ ศีลข้อที่ ๑ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นการให้ชีวิต ให้ความ ปลอดภัย ให้ความไม่มีภัย แก่สัตว์ทั้งหลาย, ศีลข้อที่ ๒ การเว้นจากการลัก ทรัพย์ ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น, ศีลข้อที่ ๓ การเว้นจาก การประพฤติผิดในกาม ชื่อว่าให้ความปลอดภัย แก่บุตรธิดา ภรรยา สามี ของผู้อื่น, ศีลข้อที่ ๔ การเว้นจากการพูดเท็จ ชื่อว่า ให้ความจริง แก่ผู้อื่น และ ศีลข้อ ที่ ๕ การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง ทุกอย่าง พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก โดยตลอดซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษาอย่างแท้จริง

ขออนุญาตยกคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ซึ่งเป็นเครืองเตือนใจที่ดีมาก เกี่ยวกับการรักษาศีล จากชุดเทปวิทยุ ครั้งที่ ๔๕๙ ครับ


ศีลจะสำเร็จได้ก็ด้วยการมีเมตตา คือ ขณะนั้นไม่ประกอบด้วยโทสะ เช่น ในข้อ ของปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต ถ้าขณะนั้นเกิดเมตตา ย่อมไม่สามารถที่จะฆ่า ผู้อื่นได้หรือแม้แต่จะเบียดเบียนประทุษร้ายด้วยกาย หรือด้วยวาจาก็ตาม ถ้าเกิด เมตตาขึ้นทันทีในขณะนั้น ย่อมงดเว้นการที่จะเบียดเบียนประทุษร้ายด้วยกาย ด้วย วาจา แต่ถ้าขณะนั้นเมตตาไม่เกิด ก็ย่อมเป็นไปตามกำลังของกิเลส

แม้ในข้อของอทินนาทาน คือ การถือเอาวัตถุที่เจ้าของไม่ให้ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าท่านเป็นผู้มีเมตตาในบุคคลผู้เป็นเจ้าของ รู้ว่าเขาจะต้องเสียใจ เสียดายในการ ที่จะสูญเสียวัตถุ ซึ่งเป็นประโยชน์ของเขาไป ถ้าท่านมีจิตเมตตาในขณะนั้น ท่าน ย่อมไม่สามารถที่จะถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้

กาเมสุมิจฉาจาร คือ การประพฤติผิดในกาม ก็เช่นเดียวกัน ย่อมทำความเดือด ร้อนให้กับวงศาคณาญาติของผู้ที่ท่านกระทำทุจริตกรรม เพราะฉะนั้น ถ้าขณะนั้น ท่านมีเมตตาคิดถึงบุคคลอื่น ไม่ต้องการให้บุคคลอื่นเดือดร้อน ท่านก็จะละการล่วง ทุจริตกรรมข้อนี้ได้

แม้ข้อของมุสาก็เช่นเดียวกัน การที่ท่านพูดไม่จริง เป็นการเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่ให้คนอื่นได้รู้เรื่องจริง ไม่ให้คนอื่นได้รู้ความจริง ความโกรธ ความประทุษร้าย ไม่เมตตาต่อผู้อื่น จึงกล่าวมุสาได้ (แต่ถ้าเมตตาเกิด ก็ย่อมไม่กระทำอย่างนั้น แน่นอน)

แม้การดื่มสุราก็เช่นเดียวกัน เวลาที่ดื่มสุราแล้วขาดสติ หลงลืมสติอย่างมาก และผู้ที่ดื่มสุราก็เป็นผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ เมื่อมีสุราเป็นเชื้อ เป็นปัจจัยให้กิเลสเหล่า นั้นเกิดมีกำลังกล้าขึ้น ย่อมจะสามารถทำทุจริตกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการเบียดเบียน บุคคลอื่นให้เดือดร้อนได้

เพราะฉะนั้น เรื่องของศีลทั้งหมดก็เป็นเรื่องของการที่จะรักษาได้ด้วย อโทสะ คือ การมีเมตตาต่อสัตว์อื่น ต่อบุคคลอื่น นั่นเอง


ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมให้เข้าใจแล้ว ที่ทำๆ กันอยู่แล้วเข้าใจผิดว่า เป็นการปฏิบัติธรรม ไม่ว่าจะเป็นการนั่งสมาธิ การเดินจงกรม ล้วนไม่ใช่สัมมาสมาธิ แต่เป็นมิจฉาสมาธิ เพราะไม่ได้เป็นไปกับด้วยความเข้าใจถูกเห็นถูกเลย มีแต่ความ อยาก ความติดข้อง และความเห็นผิดด้วย เพราะฉะนั้นก็จะต้องกลับมาที่การฟัง พระธรรมศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย เมื่อมี ความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้ว ก็จะไม่ดำเนินไปในหนทางที่ผิด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
berzerker
วันที่ 30 ก.ย. 2556

งั้นผมก็ควรสมาทานศีล เช้า และก่อนนอน แต่สงสัยว่าคนส่วนน้อยที่รักษาศีลถ้ายังทำงานปะปนกับสังคมหลายแบบ ก็ต้อง ขาด ทะลุ ด่างพร้อย ตามอำนาจกิเลส อาจจะไม่มาก

แต่ยากที่จะบริสุทธิ์ หรือเราควรจะดูที่ขณะจิตนั้นเป็นสำคัญว่างดเว้นจากบาปได้มากเพียงใด ถ้ายังไม่เป็นโสดาบันนะครับ แค่คนธรรมดาผมยกตัวอย่างกว้างๆ นะว่า ถ้าคนๆ หนึ่งมี-

จิตที่จะรักษาศีล สมาทาน เช้า เย็น แม้อาจ ขาด ทะลุ ด้างพร้อย ตามอำนาจกิเลสและสังคมที่พบเจอที่ต้อง เขวไปบ้าง แต่คนๆ นั้น ยังมีจิตที่งดเว้นจากบาปรักษาศีลในแต่ละวัน

คนๆ นั้น เรายังจะเรียกว่าเป็นผู้รักษาศีลได้ไหมครับ เอาภาพรวมเพราะถ้าคนรักษาศีล เขาจะไม่ไปยุ่งจากบาปอย่างแน่นอนถ้าเลี่ยงได้ เว้นแต่จะเลี่ยงไม่ได้เพราะหน้าที่การงาน ยังจะเรียกได้ว่าเป็นผู้มีศีลหรือไม่ อย่างที่ผมบอกข้างต้นที่ถ้าผู้มีศีลบริสุทธิ์จริงๆ ต้องโสดาบันขึ้นไป และปธุชนธรรมดาที่มีจิตคิดจะรักษาและงดเว้นจากบาปไม่มากก็น้อยอย่างเราๆ ยังเป็นผู้มีศีลอยู่ไหม นี่ผมพูดเผื่อคนทั่วไปด้วย มันติดอยู่ใจนะ เวลาฟังพระสอนให้มีศีลบริสุทธิ์ ผมก็จะพิจารณามองดูตัวเรา และสังคมรอบข้าง ว่าศีล5จะบริสุทธิ์ได้อย่างไร เมื่อคนยังอยากเกิด อยากมีอยากได้ และยังต้องทำงานกับสังคม ร้อยพ่อพันแม่

คลุกคลีกับโลกเรื่องของโลก เหมือนมนุษย์เกิดมีกรรมอย่างเดียว กันทั้งนั้น ผมก็เห็นว่าการบวชเป็นหนทางเดียว ที่มั่นใจได้ว่าสามารถทำให้ศีลบริสุทธิ์ได้แน่นอน และสามารถทำให้หลุดจากวัฏนี้ได้ การกระทำแบบที่กล่าวไว้ จะเป็นการรักษาศีลแบบศีล หัวเต่ารึเปล่าน้อ ซึ่งผมก็อยากรู้ว่าการคนจะรักษาศีลและต้องทำงานเพื่อเป็นปากเป็นทางแก่ตน สมมติ ว่าผมทำงานเอกสาร เผลอ หยิบปากกา กระดาษ หรือ เอารถหลวงแวะกินข้าว คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานของหลวงยังไม่รุ้เลยของแท้รึเปล่า หรือ เวลางานยังไม่หมด แต่งานเสร็จก่อนกับบ้าน หรือเผลองีบหลับ ก็ผิดข้อ2แล้ว ถ้ามองละเอียดกันจริงๆ

ผมถึงมองว่าคำว่า ศีล5 บริสุทธิ์ เราควรจะรักษายังไง มันไม่ยากและไม่ง่าย และมันก็ละเอียดละอ่อนมาก หรือว่าทำให้ดีที่สุด ณ ขณะนั้นที่ยังหายใจ ในแต่ละวัน ถึงจะผิดพลาดบ้างก็เริ่มใหม่ แต่ทำให้ดีที่สุด พูดง่ายว่าคนทุกคนบนโลกสมมตินี้ จะรักษาศีลยังไงให้สะอาด บริสุทธิ์ (คำถามนี้ไม่รวมถึง พระอริยะบุคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

ศีลจะบริสุทธิ์ และ ดีขึ้นได้ ก็ด้วยปัญญาที่เจริญขึ้น อันเกิดจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวัน หาก ไม่ถึงกับการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัย ก็ชือว่า เปป็นผู้มีศีลไ่ม่ขาด จากการ สมาทาน ในตอนเช้า แต่ ไมไ่ด้หมายความว่า เป็นผุ้มีกุศลศีลตอลเวลา เพัยงแต่ ศีลไม่ขาด ครับ แต่เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม กิเลสก็เกิด ล่วงศีลได้ แต่ จะต้องดูองค์ ของศีลด้วย เช่น มีเจตนาฆ่าไหม มีเจตนาลักขโมยไหม เป้นต้น ครับ ไมไ่ด้หมาย ความ ในชีวิตประจำวัน จะล่วงศีล ศีลขาดอยู่บ่อยๆ เพียงแต่ศีล ด่างพร้อย ได้ เพราะ เกิด กาย วาจาที่ไม่ดี เป็นธรรมดา แต่ ไมไ่ด้ศีลขาด ครับ

ที่สำคัญ หนทางการอบรมปัญญา ไม่ใช่ว่า จะต้องไปรักษาศีลให้ดีก่อน จึงจะละ กิเลส อบรมปัญญาได้ เพราะ ปัญญาเกิดจากการฟัง ศึกษาพระะรรม มีตัวอย่างใน สมัยพุทธกาล ก่อนจะเป็นพระอริยสาวก ท่านก็ล่วงศีลข้อ 3 ในภรรยาผู้อื่นเป็น ประจำ แต่ เมื่อได้สะสมปัญญามาในอดีตชาติ เมื่อได้ฟังธรรมก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน ไม่ล่วงศีลอีก การจะมีศีลบริสุทธิ์ จึงเป็นผล ที่มี่เกิดจากเหตุ คือ การฟัง ศึกษาธรรม ที่ทำให้เกิดปัญญา ครับ และ ไม่ใชการจะละกเลส บรรลุธรรม จะต้องบวช เพราะ ปัญญาไม่ได้เลือกเพศ ว่าจะต้องเกิดกับ บรรพชิต คฤหัสถ์เกิดไม่ได้ แต่ สามารถ เกิดได้กับทุกเพศ ดั่งเช่น พระอริยสาวกที่เป้นคฤหัสถ์มากมาย ที่บรรลุธรรม มี ท่านอนาถะ และ นางวิสาขา เป้นต้น ครับ

ขอให้เริ่มจากากรฟังพระะรรมต่อไป ไม่ต้องกังวล ในเรือ่งจะปฏิบัติ จะรักษาศีล เมื่อปัญญาเจริญขึ้น กาย วาจาและศีล ย่อมดีขึ้นเอง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
berzerker
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ฟังธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ไม่ประมาท มีปัญญารู้ว่ากุศลควรเจริญ อกุศลควรงดเว้น ก็เป็นเหตุให้ศีล สมาธิ และ ปัญญาเจริญขึ้น ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ