เป็นการล่วงศีลข้อไหน

 
papon
วันที่  30 ก.ย. 2556
หมายเลข  23738
อ่าน  1,076

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

จากการที่กระผมได้ฟัง mp3 ของท่านอาจารย์เกี่ยวกับพื้นฐานพระอภิธรรม (จำไม่ได้ว่าตอนไหน) ท่านอาจารย์ บรรยายว่า "เจตนาเกิดสั้นมาก" กระผมคิดว่าไม่ว่าจะเป็นการล่วงศีลข้อไหนก็ตาม ตอนที่เจตนาเกิดนิดเดียวก็ล่วงศีลไปแล้ว ดังนั้นมนุษย์เราก็ต้องมีสติตลอดเวลาเพื่อเป็นการยับยั้งการเกิดการครบองค์ ของศีลแต่ละข้อใช่ไหมครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เจตนา เจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง และเกิดแล้วก็ดับไป พร้อมกับจิตที่เกิดร่วมด้วย แต่ ก็ควรเข้าใจว่า เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท แต่ไมได้หมายความว่า เจตนานั้น จะต้องเป็นกรรม ที่เป็น กุศลกรรม หรือ อกุศกลรรมเสมอไป เพราะ เจตนาเจตสิกเกิดกับจิตที่เป็น กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต ที่เป็นผลของกรรมก็ ได้ และ กิริยาจิต เพราฉะนั้น เจตนาเจตสิกที่จะเป็นกรรม ที่จะให้ผล คือ เจตนา ที่เป็นไปใน กุศลจิต และ อกุศลจิต แต่ ทีเกิดกับวิบากจิต และ กิริยาจิต ไม่ทำให้ เกิดผลเลย และ เมื่อละะเอียดลงไปอีก เจตนาเจตสิก ที่เกิดกับจิต ทีเป็นกุศลจิต อกุศลจิต ก็ยังเป็นแบบที่ให้ผลก็มี ไม่ให้ผลก็มี ขอยกตัวอย่าง เจตนาเจตสิกทีเกิด กับ จิตที่โกรธ ขณะที่โกรธในใจ มีเจตนา จงใจ ตั้งใจในขณะนั้นแต่เมอื่โกรธในใจ ไม่ได้แสดงออกมาทางกาย วาจา ก็ไม่ได้มีเจตนาทางกาย วาจา ทีเป็นในทางทุจริต ไม่ถึงกับการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ที่ล่วงศีล ทีเป้นอกุศลกรรมที่มีกำลังเพียงแต่โกรธ ในใจ แม้จีเจตนาเจตสสิกเกิดร่วมด้วย แต่ ก็ไม่เป็นกรรมที่จะให้ผล จึงไม่ล่วงศีล แม้เพียงมีเจตนา เพียงแค่โกรธในใจ ครับ

แต่ หากว่า เจตนานั้นเกิดกับอกุศลจิตที่มีกำลัง ที่แสดงออกมาทางกาย วาจา จนถึงขนาดฆ่าผู้อื่น เพราะ มีเจตนาฆ่า อย่างนี้ ก็เป็นการล่วงศีล ครับ เพราะฉะนั้น แม้จะมีเจตนา แต่ก็ต้องพิจารณาว่า ครบองค์กรรมบถ หรือไม่ถ้าไม่ครบกรรมบถก็ ไม่ล่วงศีล ยกตัวอย่างเช่น มีเจตนาฆ่าคนอื่น และ ก้พยายามที่จะฆ่า แต่ ผู้นั้น ไม่ตาย ก็ยังไม่สำเร็จเป็นปาณาติบาต ก็ยังไม่ล่วงศีล ครับ เพราะฉะนั้น การจะ ล่วงศีล ไม่ล่วงศีล สำคัญที่เจตนาประการหนึ่ง ว่า มีเจตนาทุจริตหรือไม่ ไม่ได้ หมายความว่า เมื่อจิต มีเจตนาเกิดร่วมด้วยเสมอ จะเป็นการล่วงศีลเสมอ ต้อง ดูที่เจตนานั้นเกิดกับจิตประเภทอะไร และ เจตนาทีเกิดกับ จิตนั้น เป็นเจตนาที่ เป็นอกุศลกรรมที่มีกำลังหรือไม่ และ ยังต้องพิจารณาว่า ครบกรรมบถในข้อนั้น หรือไม่ ครับ จึงจะกล่าวได้ว่าศีลขาด หรือ ไม่ขาด ครับ

ส่วนสภาพรรมที่จะไม่ทำบาป ไม่ล่วงศีล กด้วยสภาพธรรมที่ดีงาม มี สติ และ ปัญญา เป็นต้น เพราะ อาศัย สติเกิดขึ้นย่อมกั้นกระแสกิเลส คือ ไม่เกิดกิเลสใน ขณะนั้น ย่อมทำหน้าที่ระลึกถูก คือ ระลึกที่จะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ เป็นต้น แต่ ไม่ควรลืมว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้แต่ อกุศลจิต กิเลสทีเกิดขึ้น ก็เกิด ได้เป็นธรรมดา และ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมก็สามารถเกิดการล่วงศีลได้ สำหรับปุถุชน ส่วน สติ ที่เป็นธรรมที่ดีงาม ก็เป็นธรรม จึงเป็นอนัตตา บังคับที่จะให้เกิดบ่อยๆ ตามใจก็ไม่ได้ เพราะ ไม่ใช่เราเป็นแต่เพียงธรรม แต่ อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษา พระธรรม ปัญญาที่เจริญขึ้น ย่อมทำให้สติ และ สภาพธรรมทีดี่ เจริญขึ้น อันเป็น ปัจจัยให้ กาย วาจา และ ใจดีขึ้น ตามลำดับ เพราะปัญญา ควาเมห็นถูกเจริญขึ้น ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

เจตนาที่เกิดกับ กุศลและอกุศลจิต กระผมพอจะเข้าใจ แต่ที่เกิดกับ วิบากและ กริยาจิตเป็นอย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์ช่วยยกตัวอย่างด้วยนะครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

เจตนาเจตสิกที่เกิดกับวิบากจิต เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ที่เป็น วิบากจิต มีเจตนาเจตสิกเิกร่วมด้วย แต่ เป้นเพียง ชาติวิบาก ไม่ได้เป็นกรรม ที่ทำให้เกิดผล เพราะ เจตนาเจตสิกทีเ่กิดร่วมกับวิบากนั้น เป็น ชาติวิบาก เป็นผล อยู่แล้ว ครับ ส่วน เจตนาเจตสิกทีเ่กิดกับกิริยาจิต เช่น กิริยาจิตของพระอรหันต์ พระอรหันต์มีความตั้งใจ มีเจตนาเจตสิก ขณะที่ท่านทำความดี ท่านทำกิจหน้าที่ เช่น บิณฑบาต ก็มีเจตนาเจตสิก เกิดร่วมด้วย เจตนาในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ เจตนาเจตสิกนั้น ไม่เป็นไปในกุศล อกุศล ที่จะทำให้ผลต่อไป เป็นกรรมที่ จะทำให้ผลในอนาคต แต่เป็นเจตนาเจตสิกที่เกิดกับกิริยาจิต อันที่จะให้ผล ใน อนาคตดังนั้น มีเจตนาตั้งใจ จงใจได้ แต่ ไม่จำเป็นจะต้องให้ผล ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้น

ความเป็นจริงของสภาพธรรมเป็นอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างอื่น เจตนาเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดกับจิตทุกขณะทุกประเภทเลย ไม่มีเว้นเลย เกิดกับจิตประเภทใดก็มีความเสมอกันกับจิตนั้น กล่าวคือ เกิดกับอกุศลจิต ก็เป็นอกุศล เกิดกับกุศลจิต ก็เป็นกุศล เกิดกับวิบากจิต ก็เป็นชาติวิบาก เกิดกับกิริยาจิต ก็เป็นชาติกิริยา เกิดเพราะเหตุปัจจัย ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จะไม่มีทางเข้าใจถูก เห็นถูกได้เลย ก็อาจจะเข้าใจเพียงว่า มีกุศลเจตนา กับ อกุศลเจตนาเท่านั้น แต่พระธรรมละเอียดลึดซึ้งมาก เจตนาไม่ได้มีเพียง ๒ เท่านั้น เพราะเหตุว่า เกิดกับจิตทุกชาติ เจตนา จึงมี ๔ ชาติ เมื่อว่าโดยความหมายแล้ว เจตนา เป็นความตั้งใจขวนขวายให้ธรรมที่เกิดร่วมกับตนทำกิจหน้าที่ ถ้าเจตนาไม่เกิด จิตและเจตสิกอื่นๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ตัวอย่างเจตนาที่เป็นชาติวิบาก คือ ขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน เป็นต้น ตัวอย่างเจตนาที่เป็นชาติกิริยา เช่น ขณะที่พระอรหันต์ แสดงธรรมเกื้อกูลผู้อื่น ขณะนั้นก็มีเจตนา แต่ไม่เป็นกุศลหรืออกุศล แต่เป็นชาติ- กิริยา ไม่เป็นเหตุให้เกิดผลในภายหน้า

เจตนา ที่เป็นอกุศล มีโทษ เป็นการสะสมในสิ่งที่ไม่ดี ถ้ามีกำลังก็ถึงกับประทุษ ร้ายเบียดเบียนผู้อื่น ก็จะเป็นเหตุให้เกิดวิบากที่ไม่ดีในภายหน้าได้ เพราะเจตาที่ เบียดเบียนผู้อื่น ก็จะเบียดเบียนตนเอง เพราะในเมื่อตนเองเป็นผู้กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ผลที่ไม่ดีก็ต้องเกิดกับตนเองเท่านั้น ไม่ไปเกิดกับผู้อื่น

ส่วนเจตนาที่มีค่า เป็นประโยชน์ ก็คือ กุศลเจตนา เช่น ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น มีเมตตา และที่ประเสริฐจริงๆ คือ มีกุศลเจตนาที่จะฟังที่จะศึกษาพระธรรม ให้เข้าใจ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 30 ก.ย. 2556

เจตนาเจตสิกเวลาเกิดขึ้นไม่เสมอไปที่จะต้องล่วงศีล บางครั้ง เจตนาก็เป็นไปใน เรื่องของทาน เรื่องวิรัติทุจริตก็มี ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 30 ก.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.ย. 2567

ยินดีในกุศลจิตครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ