อยากทราบปัจจัยที่ทำให้รูปเกิด

 
Suth.
วันที่  1 ต.ค. 2556
หมายเลข  23744
อ่าน  2,237

กรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นปัจจัยให้รูปเกิด เคยได้ยินว่ากรรมปัจจัย อาหารปัจจัย อยากทราบว่า จิต และอุตุ แต่ละอย่างเป็นปัจจัยอะไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

รูป เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป้นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย รู) มีทั้งหมด 28 รูป ซึ่งใน

28 รูป ก็มีการแบ่งรูป มีการแบ่งในลักษณะต่างๆ ซึ่งบางครั้ง แบ่งรูป 28 รูปในลักษณะ

ที่เป็น มีลักษณะ กับ ไม่มีลักษณะ คือ สภาวะรูป กับอสภาวะรูป แต่ทั้งสองนี้ก็อยู่ใน

รูป 28 ไม่พ้นจากรูปทั้ง 28 รูป บางครั้งก็แบ่ง รูปที่เป็นใหญ่เป้นประธาน กับรูปที่ไม่

เป็นใหญ่ ต้องอาศัยที่เกิด ที่เรียกว่า มหาภูตรูป กับ อุปทายรูป ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ก็ไม่

พ้นจาก รูป 28 ครับ โดยนัยเดียวกัน บางครั้งก็แบ่ง รูป เป็น ตามธรรมที่ทำให้เกิดรูป

ที่เรียกว่า สมุฏฐานของรูป เพราะรูป จะต้องมีธรรมที่เป็นที่ตั้ง หรือ เป็นเหตุให้เกิดรูป

แต่ละรูปครับ บางรูปก็เกิดจากสมุฏฐานนี้ บางรูปก็เกิดจากสมุฏฐานนี้แตกต่างกันไป

จึงแบ่งรูป 28 รูป เกิดจากสมุฏฐาน ที่ทำให้รูปเกิด 4 สมุฏฐาน คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร

รูปทีเ่กิดจากกรรม เรียกว่า กัมมัชรูป รูปทีเ่กิดจากจิตก็เรียกว่า จิตตชรูป รูปทีเ่กิดจาก

อุตุ เรียกว่า อุตุชรูป รูปที่เกิดจากอาหาร เรียกว่า อาหารชรูป ซึ่ง ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด

กัมมชรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม หมายถึง รูป ๑๘ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ ปสาทรูป ๕

ภาวรูป ๒หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑

อาหารชรูป คือ รูปที่เกิดจากโอชา หมายถึง กลุ่มของรูปที่เกิดจากอาหารรูป (โอชา)

คือเมื่อรับประทานอาหารที่เป็นคำๆ (กพฬิงการาหาร) เข้าไปในร่างกายแล้ว โอชารูป

ในอาหารที่เป็นคำๆ นั้น จะเป็นปัจจัยให้เกิดกลุ่มของรูปใหม่ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต

แข็งแรง รูปที่เกิดจากอาหาร (อาหารชรูป) มี ๑๒ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓

ปริจเฉทรูป ๑

ส่วนคำถาม ที่ว่า รูปทีเ่กิดจาก จิต และ อตุ เป็นสมุฏฐาน คือ อย่างไร

จิตตชรูป คือ รูปที่เกิดจากจิต หมายถึง รูป ๑๕ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘

วิการรูป ๓ วิญญัติรูป ๒ สัททรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ ซึ่งเกิดจากจิตเป็นปัจจัย

จิตที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้มี ๗๕ ดวงเท่านั้น เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูป

วิบาก ๔ (จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป เพราะจิตในขณะ

ปฏิสนธิกาลมีกำลังอ่อน จุติจิตของพระอรหันต์ก็ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป

เพราะเป็นความสิ้นสุดของสังสารวัฏฏ์ หมดความสืบต่อของนามและรูปทั้งปวง)

ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ มีเสียง พูดออกมา เสียง ที่เป็นรูป ก็มีเหตุมากจาก จิตที่มี

ความต้องการที่จะพูด จึงพูดออกมา เพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจกัน ครับ

อุตุชรูป คือ รูปที่เกิดจากอุตุ (ความเย็น ความร้อน) และอุตุชรูปนี้เกิดได้ทั้งภายใน

และภายนอก สำหรับภายในสัตว์ เกิดขึ้นได้ทุกๆ ขณะของจิต นับตั้งแต่ฐีติขณะของ

ปฏิสนธิ เป็นต้นมา จิตเกิดขึ้น ๑ ขณะ จะมีอนุขณะ ๓ คือ อุปาทขณะ ฐีติขณะ ภังคขณะ อุตุชรูป ๑๓ อุตุชรูป คือรูปที่เกิดจากอุตุ และรูปที่เกิดจากอุตุมี ๑๓ คือ อวินิพโภครูป

๘ (มหาภูตรูป ๔, วัณณรูป ๑, คันธรูป ๑, รสรูป ๑, โอชา ๑) ปริจเฉทรูป๑ วิการรูป

๓ (ลหุตารูป มุทุตารูป กัมมัญญตารูป) สัททรูป ๑

ยกตัวอย่างเช่น ต้นไม้ ภูเขา เหล่านี้ ก็เกิดจากปัจจัย คือ อุตุ ความเย็น ความ

ร้อน อากาศให้เป็นไป ทำให้เกิดรูปขึ้น ที่เป็น สมมติบัญญัติว่าเป็นภูเขา ต้นไม้ ครับ

การศึกษาพระอภิธรรม โดยเฉพาะ เรื่องรูปธรรมก็เพื่อให้เข้าใจความจริงของสภาพ

ธรรมที่มีจริง ในขณะนี้ว่าเป็นแต่เพียงธรรมมไม่ใช่เรา แต่ เป็นเพียงรูปะรรม และ

นามธรรม ทีเ่กิดขึ้นและดับไป การเข้าใจเช่นนี้ ย่อมละกิเลส ละคลายความเห็นผิด

ว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคลได้ในที่สุด ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่สภาพรู้ ไม่ใช่ธาตุรู้ เกิดขึ้นตามสมุฏฐาน

(ที่ก่อนตั้งให้รูปเกิด) ของตนๆ แล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน สมุฏฐานของรูป มี ๔

อย่าง คือ กรรม จิต อุตุ และ อาหาร

แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่ได้เกิดขึ้นมาเองลอยๆ

โดยปราศจากเหตุปัจจัย เมื่อได้ศึกษาแล้ว ก็ยิ่งจะเพิ่มพูนความมั่นคงในความเป็นจริง

ของธรรมที่เป็นอนัตตา ยิ่งขึ้น เมื่อศึกษาก็จะเข้าใจว่าจิตประเภทใด เป็นเหตุให้เกิดรูป

บ้าง [เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ อรูปวิบาก ๔ (จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิด

จิตตชรูป เพราะจิตในขณะปฏิสนธิกาลมีกำลังอ่อน จุติจิตของพระอรหันต์ก็ไม่เป็น

ปัจจัยให้เกิดจิตตชรูป เพราะเป็นความสิ้นสุดของสังสารวัฏฏ์ หมดความสืบต่อของ

นามและรูปทั้งปวง) เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยจิตประเภทนั้น ก็เป็นเหตุให้เกิดรูปที่เกิด

จากจิต เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

เช่น อาการที่จะประสงค์ให้ผู้อื่นรู้ความหมายด้วยกาย หรือ ด้วยวาจา นี้ก็เป็นรูป

ที่เกิดจากจิต

สำหรับอุตุ ซึ่งเป็นสมุฏฐานให้เกิดรูปนั้น เป็นเตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ และตาม

ความเข้าใจเบื้องต้นก็จะเข้าใจว่า มหาภูตรูป ๔ ไม่แยกจากกัน เวลาที่ธาตุไฟเกิด ก็

จะต้องมีธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาุตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม เกิดด้วย แต่ที่จะเป็นสมุฏฐาน

ให้เกิดรูปที่เป็นรูปที่เกิดจากอุตุ นั้น มุ่งหมายถึงเฉพาะธาตุไฟ เท่านั้น รูปที่เกิดจาก

อุตุเป็นสมุฏฐานมีทั้งในภายในสัตว์บุคคล และะ ในภายนอก ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 1 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่านครับ

๑.ทำไม อวินิพโภครูป ถึงไม่มีเสียงด้วยครับ

๒.ความอุ่นของตัวเราเป็นลักษณะของธาตุไฟใช่ไหมครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2556

๑.ทำไม อวินิพโภครูป ถึงไม่มีเสียงด้วยครับ

เพราะ ไม่ใช่กลุ่มของรู) ที่เล็กที่สุด ที่รวมกัน ที่มีเพียง 8 กลุ่ม ไม่รวมเสียง สัจจะ

ความจริงเป็นอย่างนั้น ครับ

๒.ความอุ่นของตัวเราเป็นลักษณะของธาตุไฟใช่ไหมครับ

ถูกต้องครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 1 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่านครับ

จากข้อ๑ในความคิดเห็นที่ ๔ กระผมยังไม่เข้าใจขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้รายละเอียดเกี่ยวกับเหตุผลของความเล็กที่สุดของแต่ละกลุ่มด้วยครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 5 ครับ

รูป ที่เล็กที่สุด ไม่มีเสียง เพราะ รูปที่เล็ก ยังไม่มีเสียงเลย เป็นเพียง รูป ที่ มีความอ่อน

แข็ง เย็น ร้อน ตึงไหว มี สีให้เห้นได้ กลิ่น รส และ โอชา อย่างเช่น รูปกลาปที่เล็ก

ที่สุด ทีป่ระชุมรวมกันเป็นโต๊ะ เป็นต้น ก็ยังไม่มีเสียง ให้ได้ยิน แต่ มี สีให้รู้ได้ มี เย็น

ร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว มีกลิ่น มีรส ครับ แต่ ไม่มีเสียง ต่อเมื่อใด ที่มีการกระทบกัน ของ

รูป เป็นต้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดเสียง ซึ่ง ก็ไม่ใช่กลุ่มของรูปที่เล็กที่สุดแล้ว แต่ มีรูปอื่นๆ

ที่รวมกับเสียงด้วยในขณะนั้น ครับ เพราะฉะนั้น รูปที่เล็ฏที่สุด ที่ประชุมรวมกัน เป็น

จอคอมพิวเตอร์ ไม่มีเสียงเลยใช่ไหมครับ จอคอม ที่มี รูปที่เล็กที่สุดประชุมรวมกัน ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Suth.
วันที่ 1 ต.ค. 2556

ขอบคุณท่านทั้งสองที่ตอบและท่านที่ถามในความเห็นที่ 3 และ 5 ซึ่งก็ล้วนแต่ช่วยให้ผมเข้าใจเรื่องที่ผมถามได้ดียิ่งขึ้น

ผมอ่านคำตอบของคุณ paderm และคุณ khampan.a หลายเที่ยว เพื่อให้เข้าใจอย่างละเอียด แต่ไม่แปลว่าผมจะจำข้อความได้ เมื่อผมกลับมาอ่านอีกก็ได้พบคำถามของคุณ papon ซึ่งถามในรายละเอียด และก็ได้รับคำตอบอย่างละเอียด ช่วยให้ผมเข้าใจมากขึ้น

ขอถามเพิ่มเติมว่า ปัจจัยมีจำนวน 24 ข้อ โดยที่ข้อ 13 กัมมะปัจจะโย และข้อ 15 อาหาระปัจจะโย เมื่อพิจารณาในแง่สมุฏฐานให้เกิดรูป ได้แก่ กรรม จิต อุตุ อาหาร ขอทราบว่า กรรมในสมุฏฐานนั้นตรงกับกัมมะปัจจะโยในข้อ 13 และ อาหารในสมุฏฐานนั้นตรงกับข้อ 15 ในอาหาระปัจจะโย หรือไม่ และสมุฏฐานข้อ จิต ตรงกับปัจจัยข้อใด และอุตุ ตรงกับปัจจัยข้อใด หรือว่าไม่ได้เป็นอย่างที่ผมถาม กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 1 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 7 ครับ

ปัจจัย แต่ละข้อ ละเอียด กว้างขวางครอบคลุม หลายสภาธรรม ครับ อย่างใน

กัมมปัจจัย ก็ครอบคลุม รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐานด้วย คือ กรรมที่เคยทำ

ในอดีต เป็นปัจจัยให้เกิดรูป เช่น เกิด จักขุปสาทรูป เป็นต้น และ กัมมปัจจัย

ยังกว้างขวาง คือ กรรม เป็นปัจจัยใเกิดนาม ด้วย เช่น กรรมในอดีต เป็นปัจจัย

ใเห้กิด ปฏิสนธิจิต พร้อมๆ กับรูปทีเ่กิดจากรรม มี หทยรูป เป็นต้น ครับ

อาหารปะัจจัยก็กว้างขวาง ก็ครอบคลุม โดยนัย โอชารูป เป็นปัจจัยให้เกิดรูปได้

และ อาหารปัจจัย ยังมีหลากหลายนัย ทั้ง นามเป็นปัจจัยให้เกิดนาม เป็นต้น ครับ

ซึ่ง รูปที่เกิดจากอาหารเป็นปัจจัย ก็ไม่พ้นจาก อาหารปัจจัย ซึ่งผู้ถามเข้าใจถูกต้อง

แล้ว ครับ

ส่วน จิต เป้น สมุฏฐานให้เกิดรูป ก็ด้วยปัจจัย มากมาย หบายข้อ ใน 24 ปัจจัย

เช่น สหชาตปัจจัย โดย จิตเป็นปัจจัยให้เกิดรูป โดยเกิดพร้อมกัน เป็นต้น

ส่วน อุตุ เป็นปัจจัยให้เกิดรูป อาศัย ความเย็น ความร้อน เป้นต้น เหล่านี้ โดยการ

เป็น สหชาตปัจจัยก็ได้ ครับ ทั้ง มหาภูตรูป ทีเ่กิดพร้อมกันก็ได้ ซึ่ง มีปัจจัยมากมาย

ที่จะเป็นปัจจัยโดยนัยต่างๆ ซึ่ง เรื่องปัจจัยเป็นเรือ่งที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างมาก ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Suth.
วันที่ 2 ต.ค. 2556

ขอบคุณครับ คุณ paderm

"ปัจจัย แต่ละข้อ ละเอียด กว้างขวางครอบคลุม หลายสภาพธรรม..." (paderm)

"เรื่องปัจจัยเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างมาก ครับ" (paderm)

การศึกษาพระธรรมต้องศึกษาอย่างละเอียดจริงๆ จนเข้าใจ ความเข้าใจจะเป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง การทำความเข้าใจเรื่องปัจจัยก็เช่นเดียวกัน ต้องค่อยๆ ศึกษาจากการฟัง การอ่านไปตามแต่โอกาส ประกอบกับการถือหลัก สุ จิ ปุ ลิ คือหัวใจนักปราชญ์ด้วย ท่านผู้ตอบคำถามได้เกื้อกูลให้เกิดความเข้าใจไม่เฉพาะแก่ผู้ถามปัญหา แต่คำตอบย่อมเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านท่านอื่นๆ ด้วย ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาอีกครั้งครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ