ความละเอียดของการล่วงศีลข้อ 2

 
papon
วันที่  3 ต.ค. 2556
หมายเลข  23758
อ่าน  2,024

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

กระผมเคยอ่านบทบรรยายของอาจารย์ประเชิญช่วงหนึ่ง (จำไม่ได้ว่าตอนไหน) เกี่ยวกับ

ส่วนหนึ่งที่จะได้รับผลของอทินนาทานว่าความหนักเบาของวิบากดังกล่าวมีมูลค่าของทรัพย์ที่ทำการลักด้วย (ไม่ทราบถูกต้องหรือไม่) ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 4 ต.ค. 2556

โทษของอกุศลกรรม ข้อ อทินนาทาน ตามนัยของพระไตรปิฎก และ

อรรถกถา ท่านอธิบายไว้มีองค์ประกอบหลายประการ เช่น กำลังของ

กิเลสมาก เจ้าของทรัพย์มีคุณมาก มีความพยายามมาก เป็นต้น

อนึ่ง ตามพระวินัย พระพุทธองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทตามมูลค่าของทรัพย์

คือ ถ้าทรัพย์มีมูลค่าน้อย โทษทางพระวินัย ก็น้อย คือต้องอาบัติ เล็กน้อย

ถ้าทรัพย์มีมูลค่ามากขึ้น อาบัติก็ใหญ่ขึ้น จนถึงมูลค่ามากที่จะทำให้ขาดจาก

ความเป็นพระภิกษุทันที คือ ตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ดังนั้น ราคามูลค่าของทรัพย์

ที่ขโมย ก็เป็นแปลอีกประการหนึ่งที่จะแสดงให้เห็นว่า ผู้ขโมยต้องมีความ

เพียรพยายามมาก ก็เท่ากับมีกิเลสมาก และผู้เสียหาย คือเจ้าของทรัพย์ก็

เดือดร้อนมาก ผลของกรรมย่อมมีมากตามนัยที่กล่าวแล้วครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 4 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทุกท่าน

๑ กรณีเจ้าของทรัพย์มีคุณมาก โทษมาก แต่ถ้าเจ้าของทรัพย์เป็นหนี้บุญคุณของผู้ลักทรัพย์ละครับ โทษของอทินนาทานจะเป็นอย่างไรครับ

๒ กรณีมูลค่าของทรัพย์ การลักทรัพย์๑บาทกับการโกง๑๐ล้านบาทมีโทษต่างกันมากน้อย

เพียงไรครับ มีปัจจัยอะไบ้างมาใช้พิจารณาครับ

๓ จำนวนครั้งของการลักทรัพย์มีผลต่อความหนักเบาหรือความเนิ่นนานในโทษนั้นๆ ครับ

ในทางธรรมและทางโลกสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไรครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 4 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

๑ กรณีเจ้าของทรัพย์มีคุณมาก โทษมาก แต่ถ้าเจ้าของทรัพย์เป็นหนี้บุญคุณของ

ผู้ลักทรัพย์ละครับ โทษของอทินนาทานจะเป็นอย่างไรครับ

ความเป้นผู้มีบุญคุณของตน ย่อมไม่เกี่ยวกับ บาปที่ตนเองกระทำ เพราะ สำคัญ

ที่จิตของผู้ทำบาปในขณะนั้นและ ผู้ที่เป็นผู้ที่ถูกทำบาป มีคุณธรรม มาก หรือ น้อย

อย่างไร เป็นสำคัญ ครับ

๒ กรณีมูลค่าของทรัพย์ การลักทรัพย์๑บาทกับการโกง๑๐ล้านบาทมีโทษต่างกั

นมากน้อยเพียงไรครับ มีปัจจัยอะไบ้างมาใช้พิจารณาครับ

แตกต่างกันแน่นอนครับ ซึ่งจากข้างต้นได้กล่าวแล้วว่า ของของผู้ที่คุณธรรมมาก

ถูกขโมย ย่อม บาปกว่า การไปขโมยของของผู้ที่มีคุณธรรมน้อยกว่า แต่ ถ้าเมื่อมี

คุณธรรมเท่ากันของทั้สองคน การขโมยของ ของที่ประณีต มีมูลค่ามากกว่า แม้เป็น

เพศคฤหัสถ์ ก็นย่อมบาปมากกว่า เพราะ วัตถุนั้นประณีตกว่า ส่วน ผู้ที่มีคุณธรรม

เท่ากัน แต่ ของ ที่ขโมยนั้น มีมูลค่า ความประณีตน้อย ก็บาปน้อยกว่า ของที่ประณี

มีมูลค่ามากกว่า ครับ ด้วยเหตุที่ว่า ของประณีต มูลค่าต่างกัน และ ที่สำคัญทีสุด

สภาพจิตของผู้ที่ขโมย โดยมากแล้ว การจะขโมยของประณีต ก็มีโลภะที่มีกำลังมาก

กว่า ของ ที่หยาบ มีมูลค่าน้อยวก่า รับ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ บาป มากน้อย แตก

ต่างกัน ตามมูลค่าของราคาด้วย ครับ และ ความพยายามของการขโมยในทรพัย์ที่

มีมูลค่ามากกว่า ก็อาจมีมากกว่า เป้นเหตุให้เกิด ชวนจิตที่เป็นอกุศลจิตมาก และ

บ่อยก็ทำให้ทำบาปที่มีกำลังมากกว่า ผลของบาปก็มากกว่า ครับ เช่น การอาศัย

ความเพียรในการขโมยเงิน สิบล้าน ที่ต้องใช้ความพยายาม ความเพียร และ มี

โลภะที่อยากได้ มากกว่า การจะขโมยเงิน หนึ่งบาท ที่มีความเพียรในการขโมย

น้อยว่า และ มีความอยากได้ใน เงิน หนึ่งบาทน้อยกว่า สิบล้าน เป็นต้น ครับ

ซึ่ง ในอรรถกถา อทินนาทาน ก็อธิบายประเด็น ความมีโทษมาก โทษน้อย อยู่ที่

วัตถุประณีต หรือ ไม่ประณีตด้วย ครับ ดังข้อความที่ว่า

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้า 547 การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของๆ ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ

อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น

(เจ้าของ) เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตำหนิ.

ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่าเป็นของที่เขา

หวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้

นั้น ชื่อว่า อทินนาทาน.

อทินนาทานนั้น มีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของๆ ผู้อื่นที่เลว ชื่อว่ามีโทษมาก

ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.เพราะเหตุไร?เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต.

เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง.

อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ำกว่านั้น เพราะ

เปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.

-------------------------------------------------------

๓ จำนวนครั้งของการลักทรัพย์มีผลต่อความหนักเบาหรือความเนิ่นนานในโทษนั้นๆ

ครับในทางธรรมและทางโลกสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไรครับ

จำนวนครั้งในการขโมย ย่อมมีผล ต่อ ความหนัก และ เบาของบาปด้วย ครับ

เพราะเหตุว่า เมื่อมีการขโมยบ่อยๆ ติดๆ กัน ก็แสดงถึง ชวนจิตที่เกดิอกุศลจิต และ

อุศลกรรมบ่อยๆ บาปนั้นก็มีกำลังมากขึ้น เพราะ การเสพคุ้นบ่อย ก็ทำให้ มีความหนัก

มีโทษมากกว่า การขโมยเพียงครั้งเดียว เป็นต้น และ หากได้อ่านเรื่องของกรรม ที่

จะให้ผลก่อน หรือ หลัง อาจิณกรรม คือ กรรมที่เสพคุ้นบ่อยๆ เมือ่ไม่มี กรรมหนัก ก็

ย่อมให้ผลก่อน คือ ไม่มีอนันตริยกรรมที่ได้ทำ อจิณกรรม ที่เป็นฝ่ายอกุศล ก็ให้ผล

ต่อได้ เพราะฉะนั้น การทำบาป มีการขโมยบ่อยๆ มีการเสพคุ้น กับอกุศลกรรม บ่อยๆ

เนืองๆ ย่อมเป็นอาจิณกรรม ที่จะเป็นเหตุให้เกิดอกุสลกรรมได้ง่ายก่อน กว่า

อกุศลกรรมที่ทำเพียงเล็กน้อย ไม่บ่อย ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 4 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การลักทรัพย์ เป็นโทษแก่ผู้ลัก เพราะเป็นอกุศลกรรมบถ เป็นบาป เป็นเหตุให้

เกิดผลที่ไม่ดีในภายหน้าได้ การล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ ก็แสดงให้เห็น

ถึงกิเลสที่มีกำลังเป็นอย่างยิ่ง เพราะโดยปกติก็มีโลภะความติดข้องเป็นปกติในชีวิต

ประจำวันอยู่แล้ว แต่ถ้าถึงกับไปลักของของผู้อื่น ก็เป็นความติดข้องที่เกิน

ประมาณแล้วในขณะนั้น

อกุศลกรรม ไม่ดี ไม่มีประโยชน์เลยแม้แต่น้อย ไม่ควรยินดีในการกระทำบาป

เพราะความยินดีในบาป เคยชินในบาป ก็จะทำให้มีการกระทำในสิ่งที่ผิดได้โดยง่าย

ไม่มีความเห็นโทษเห็นภัย จากที่เคยกระทำทีละเล็กทีละน้อยในที่สุดก็มาก ได้

หนักได้ กำลังทำทางให้ตนเองไปสู่อบายภูมิ ก็มีแต่จะนำมาซึ่งความเดือดร้อน

แก่ตนเองเท่านั้น อกุศลกรรมตามเผาผลาญผู้ที่กระทำเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้ว

ควรเห็นโทษของอกุศล แม้เพียงเล็กน้อย จริงๆ ความเข้าใจพระธรรมเท่านั้นที่

จะเกื้อกูลได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 4 ต.ค. 2556

การล่วงศีลอทินนาทาน ทำให้เกิดในอบายภูมิ ภายหลังกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ทำให้

เป็นคนขัดสน ยากจน ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ