พระสูบบุหรี่ กับ เคี้ยวหมาก ไม่น่าผิด
เพราะหมาก (นิยมเคี้ยวกับใบพลู) และบุหรี่
ไม่ใช่ทั้งมรรคาวร และ สรรคาวร
คือไม่เป็นทั้งเครื่องช่วยให้เจริญก้าวหน้า
และไม่เป็นอุปสรรคในการภาวนา
ขอเรียนว่า ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา ไม่มีการบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า พระสูบบุหรี
หรือ ฉันหมาก เป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ แต่ถ้าพิจารณาตามนัยของมหาปเทศ ๔
ที่ทรงแสดงไว่ว่า สิ่งใดที่ไม่ได้บัญญัติไว้ว่าไม่ควร แต่สิ่งนั้นเข้ากับของที่ไม่ควร สิ่งนั้น
ก็ไม่ควร เป็นต้น อนึ่ง พระภิกษุเป็นเพศบรรพชิต เป็นเพศที่ละ และสละ ทุกสิ่งทุกอย่าง
ประพฤติพรรหมจรรย์ เพื่อความเป็นพระอรหันต์ ถ้ายังติดข้องกับสิ่งเสพติดเหล่านี้อยู่
ก็เท่ากับมีความประพฤติไม่คู่ควรแก่ความเป็นพระอรหันต์ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เพศบรรพชิต เป็นเพศที่ขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง สมกับคำว่า บรรพชิตที่แปลว่า
เว้นทั่ว เว้นทั่วจากอะไร เว้นทั่วจากกิเลส เว้นทั่วจากการระพฤติไม่ดี และ เว้น
ทั่วจากการกระทำดั่งเช่นคฤหัสถ์ เมื่อบวชแล้ว ก็แสดงว่า ไม่ใช่คฤหัสถ์ การกระทำ
ความประพฤติก็ควรที่จะไม่เป็นดั่งเช่นคฤหัสถ์ที่ผ่านมา เพราะ การบวช เพื่อละ
กิเลส ละการกระทำที่ไม่ดี หากมีการสืบบุหรี่ กินหมาก ก็กระทำดั่งเช่น คฤหัสถ์ทำ
กัน ก็ทำให้เป็นที่ติเตียนสำหรบผู้มีปัญญา แต่ไม่เป็นที่ติเตียนของคนพาล
แม้ชาวบ้าน โดยทั่วไป เห็นคนสืบบุหรี่ ก็รู้ว่าคนนี้ไม่รักษาสุขภาพ และ เสพ
สิ่งที่ไม่สมควร นี่สำหรับ คฤหัสถ์ทำ ยังติเตียน และ ยิ่งถ้าเป็นเพศพระภิกษุ ย่อม
ถูกติเตียนมากกว่า และ ก็จะทำให้ประชาชน ไม่เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์ได้ นี่กล่าวถึง
ชาวบ้านที่มีปัญญา เป็น บัณฑิต เพราะฉะนั้น เป็นการกระทำดั่งเช่นคฤหัสถ์ ไม่
สมควรอย่างยิ่ง และ ที่สำคัญ บวชเพื่ออะไร เพื่อดับกิเลส ละ ทุกข์โดยสิ้นเชิง
หากเป็นเช่นนี้ ทำไมต้องสูบบุหรี่ กินหมาก ก็ด้วยอกุศลธรรม ความติดข้อง ไม่ใช่
กุศลแน่นอน พระพุทธเจ้าทรงติเตียน อกุศลธรรม ไม่ใช่กุศลธรรม ดังนั้น ขึ้นชื่อ
ว่าเป็นเพศบรรพชิตแล้ว ที่แปลว่า เว้นทั่ว ก็ควรปฏิบัตนให้เป็นดังนั้น ที่บวชเพื่อ
มุ่งตรงต่อการละกิเลส ไม่ใช่เพื่อเพิ่มกิเลส ก็เป็นการกระทำที่ไม่สมควร ในการ
สูบบุหรี่ และ กินหมาก ครับ
ดังนั้น จึงเป้นอุปสรรคในการเจริญภาวนา เพราะ นำมาซึ่งความเริญในการติดข้อง
มากขึ้น ครับ
สำหรับเพศบรรพชิตเป็นเพศที่จะต้องขัดเกลากิเลสเป็นอย่างยิ่ง เพราะความเป็นบรรพชิต ไม่ได้เป็นที่เครื่องนุ่งหุ่ม หรือ เพศที่แตกต่างไปจากคฤหัสถ์ แต่อยู่ที่มีความจริงใจที่จะขัดเกลากิเลสเป็นสำคัญ [ไม่ใช่ว่าบวชเข้ามาแล้ว แต่ก็ยังทำอะไรเหมือนอย่างคฤหัสถ์อยู่ อย่างนี้ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต เพราะเพศบรรพชิต เป็นเพศที่เว้นจากอกุศลธรรมจริงๆ ] ซึ่งจะต้องมีการศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจอย่างถูกต้องด้วย เพราะถ้าไม่มีการศึกษาแล้ว ก็จะมีการกระทำที่ผิด ไม่ตรงตามพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ประการที่สำคัญ สิกขาบทแต่ละข้อๆ ที่เป็นพระวินัยบัญญัตินั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ทั้งหมดพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งบัญญัติด้วยพระองค์เองประโยชน์อยู่ที่การศึกษาแล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่พระองค์ทรงอนุญาต และละเว้นในสิ่งที่พระองค์ทรงห้าม แต่ถ้าละเลย ไม่เห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญ มีการละเมิด ก็จะเป็นอาบัติมีโทษอยู่เหนือตน เป็นอันตรายแก่ผู้ล่วงละเมิดถ้าไม่กระทำคืนให้ถูกต้องตามพระวินัยแล้ว ก็จะเป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผล นิพพาน และถ้ามรณภาพลง (ตาย) ในขณะที่ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตที่ยังไม่ได้ปลงอาบัติ ก็เป็นผู้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง เพราะความเป็นบรรพชิตถ้ารักษาไม่ดี ก็จะมีแต่จะคร่าไปสู่อบายภูมิอย่างเดียว ใครๆ ก็ช่วยไม่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละท่าน สำหรับคฤหัสถ์ ควรอย่างยิ่งที่จะกระทำกิจที่ควรทำ ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง อบรมเจริญปัญญา น้อมประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม เท่านั้น ครับ.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สิ่งที่ไม่ควร ก็ต้องเป็นสิ่งที่ไม่ควร ไม่ว่าจะเป็นใครทำก็ตาม จะเห็นความบริสุทธิ์
ของพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า เป็นไปเพือขัดเกลาละคลายกิเลส
โดยส่วนเดียว ไม่มีคำสอนแม้แต่บทเดียวที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เกิดอกุศล
แม้จะเล็กน้อยเพียงใด ก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ผู้ที่เป็นบรรพชิตยิ่งจะต้อง
ศึกษาพระธรรมวินัยและน้อมประพฤติตามพระธรรมวินัยขัดเกลากิเลสให้ยิ่ง ให้สมกับ
ที่ปฏิญาณตนว่าเป็นเพศบรรพชิตที่จะมุ่งจะขัดเกลากิเลสของตนเองเป็นสำคัญ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ไปถามผู้รู้อีกด้านเขาว่าไว้ประมาณนี้ในเรื่อง หมากพลู-บุหรี่
.
.
ระวังกลายเป็น "พระพุทธพจน์กิเลสอ้าง" นะครับ
ในมหาประเทศ๔ และในกาลามสูตรชัดเจนแล้วว่า
รู้หรือศึกษาและได้ยินได้ฟังอะไรมา"อย่าเพิ่งเชื่อ"
เอาสิ่งทีรู้หรือศึกษาและได้ยินได้ฟังมา นำมาสมาทานเสียก่อน
หมากพลู บุหรี่ เสพได้ แต่ไม่ทำให้ขาด "สติ" นี่สิสาระสำคัญ
ถ้าถามว่าควรเสพมั้ย? ถ้าไม่เสพได้ก็จะเป็นการดี เพราะไม่ทำให้เกิดภาระ
แต่เมื่อประชุมคนที่ไกลปืนเที่ยงนิยมนำมาถวายพระกัน
เพราะประเพณีแต่เก่าก่อน ได้เล็งเห็นประโยชน์ของหมากพลู บุหรี่ ไว้บ้าง
ลองไม่มีใครเอามาถวายท่านๆ ก็ไม่ได้ร้องขอให้นำเอาสิ่งเหล่านั้นมาถวายท่าน
ก็พูดเองนะว่า "พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติห้ามเอาไว้"
พระท่าน "ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นของดีมีประโยชน์"เลย
เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน
เครดิต ธรรมภูต