มรณานุสสสติอย่างไร

 
สิริพรรณ
วันที่  5 ต.ค. 2556
หมายเลข  23772
อ่าน  989

พรุ่งนี้ เป็นครั้งที่ 2 ที่จะไปกราบร่างอาจารย์ใหญ่ท่านหนึ่งที่นักศึกษาแพทย์เรียนจบแล้ว รอการพระราชทานเพลิง...ขอความกรุณาชี้แนะการเจริญปัญญาในการพิจารณาเพื่อการละคลายอกุศล และเจริญกุศล

1.ร่างนี้ท่านเป็นผู้ให้กำเนิดเรา เลี้ยงดูเรา ให้ทุกสิ่งแก่เรา ร่างกาย การศึกษา หล่อหลอมจิตวิญญาณให้เราทุกอย่างแม้การฟังพระธรรมของท่านอ.สุจินต์ ท่านมีพระคุณอย่างล้นเหลือ เรายังรักท่าน คิดถึงพระคุณ ความอบอุ่น อ้อมกอด น้ำเสียง แววตา อื่นอีกมากมายนับไม่ถ้วน มองอย่างไรก็คงเป็นแม่เรา ฯลฯ ความคิดที่มองร่างท่านมีทั้งความรัก... คิดถึงท่าน ..ไม่ปฏิเสธและเข้าใจแล้วกับคำพูดที่เคยได้ยินว่า น้ำตาตกใน ขอเรียนถามว่า จิตขระนั้น ประกอบด้วยเจตสิกอะไรบ้างคะ เป็นจิตชาติอะไร ผลของการสะสมจิตประเภทนั้น คืออะไร

2.ในหลายขณะที่เห็นร่างนั้น ก็มีจิตที่สลับไปมา...มีขณะที่มีความกับปิติใจที่ท่านสมความความตั้งใจในเจตนาตลอดชีวิตว่า จะอุทิศร่างให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนแพทย์ ..จึงอยากให้ท่านได้รับรู้อนุโมทนาในผลบุญนี้ ประกอบด้วยเจตสิกอะไร เป็นชาติอะไร ผลของการสะสมจิตประเภทนั้น

3. ไม่ว่าจตข้อ 1 และ ข้อ2 ยังมีความเห็นผิดหรือไม่ อย่างไร

4.จิตใด ชาติใด ที่เป็นเหตุของความ เกิด + ผูกพันในสังสาวัฎฎ์ต่อไปๆ คะ

5.ขอความเมตตา ท่านวิทยากร+ผู้รู้ แนะนำในการพิจารณาอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อการละคลายอกุศล ...เจริญกุศล เจริญปัญญา เพื่อเป็นกุศลให้คุณแม่ศรีเกิด ธรรมนันท์ และผู้ที่เคยเป็นคุณพ่อคุณแม่ทุกภพทุกชาติ ขอให้ท่านเหล่านั้น มีความสุข พ้นจากความทุกข์ได้ฟังพระธรรมของพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าจากผู้รู้จริงทุกภพทุกชาติ ตราบจนชาติสุดท้ายของการหลุดพ้นในกาลที่ไม่เนิ่นช้าด้วยเทอญ

กราบขอบพระคุณในความเมตตาค่ะ

จากปุถุชนผู้รักแม่ คิดถึงพระคุณของแม่เสมอ

สิริพรรณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1.พระธรรมเป็นเรื่องละเอียด คือ ละเอียดเพราะ เป็นแต่ละขณะจิต เพียงกระพริบตา

เดียว จิตเกิดดับ นับไม่ถ้วน เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ เกิดความรักท่านเกิดขึ้น ขณะนั้น

เป็นโลภมูลจิต คือ เป้นจิตที่เป็นโลภะ มีความติดข้องในขณะนั้น พร้อมๆ กับ อกุศล

เจตสิก เช่น โมหเจตสิก อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทัจจะเจตสิก และ เจตสิกทีเกิดร่วม

ด้วย จิตเสมอ อีก 7 ดวง มี ผัสสะ เวทนา สัญญา เป็นต้น รวมทั้ง มีปกิณณกเจตสิก

เช่น วิตก วิจาร เจตสิก ตามสมควรแก่ประเภทของจิตนั้น ครับ

ส่วนเมื่อเกิดวามติดข้องแล้ว เกิดความขุ่นใจ เสียใจ น้ำตาตกใน เป็นต้น เป็น

อกุศลจิตที่เป็นโทสมูลจิต คือ จิตที่เป็นโทสะ โดยมี โทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย

กับจิตนั้น พร้อมกับ โมหเจตสิก อกุศลเจตสิก เช่น โมหเจตสิก อหิริกะ อโนตตัปปะ

อุทัจจเจตสิก และ เจตสิกทีเกิดร่วมด้วย จิตเสมอ อีก 7 ดวง มี ผัสสะ เวทนา

สัญญา เป็นต้น รวมทั้ง มีปกิณณกเจตสิก เช่น วิตก วิจาร เจตสิก ตามสมควรแก่

ประเภทของจิตนั้น ครับ

ส่วน ผลของการสะสมในการเกิด อกุศลจิต ก็ทำให้ เป็นผู้ติดข้องได้ง่ายขึ้น และ

เกิดความเสียใจ เศร้าใจมากขึ้น สะสมเป็นอุปนิสัย ที่ทำให้หวั่นไหวง่าย แต่ ไมได้

เกิดผลทำให้เกิดวิบาก ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2. ปีติเจตสิกเกิดกับ กุศลจิต และ อกุศลจิตก็ได้ ซึ่ง ก็ไม่สามารถจะรู้ถึงจิตที่ดับ

ไปแล้ว นอกเสียจาก ตัวผู้ที่เกิดเอง และ จะต้องรู้ในขณะนั้นด้วยปัญญาระดับสูง

ทีเป็นสติปํฏฐาน ครับ อย่างไรก็ดี ขณะที่นึกถึงคุณธรรมของท่าน เกิดปิติ เป็น

กุศลจิต มีเจตสิกที่ดีเกิดร่วมด้วย มีศรัทธา สติ เป็นต้น แต่ ขณะที่ปลื้มใจ ด้วย

โลภะ พอใจในการระทำของแม่ ก็ด้วยโลภะได้ ก็โดยนัยเดียวกับข้อแรก มี โลภะ

เจตสิก และ โมหเจตสิก รวมทั้งอกุศลเจตสิกต่างๆ ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

3.ไม่มีความเห็นผิด เพราะ ขณะนั้นไม่ได้ยึดถือว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล เพียงเป็น

การคิดถึง รัก ด้วยโลภะ ติดข้อง แต่ ไม่มีควาเมห็นที่ผิดจากควาเมป็นจริง และ

เป็นอกุศลที่เป็นโทสะเศร้าใจ ขณะที่เสียใจ ไมได้มีควาเมห็ผนิด เพราะ ความเห็น

ผิดจะเกิดกับโลภมูลจิตเท่านั้น ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

4.เพราะ อาศัย อวิชชา ความไม่รู้ ที่เป้นโมหมูลจิต และ อาศัย โลภะ ความติดข้อง

ที่เป้นโลภมูลจิต จึงเป็นเหตุให้เกิดในสังสารวัฏฏ์ ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

5.หนทางที่ถูกที่จะทำให้ละคลายอกุศล เจริญขึ้นในกุศล ไม่มีหนทางอื่น นอกเสีย

จากการฟังพระธรรม ศึกษาพะรธรรม แต่ ต้องเข้าใจครับว่า อกุศลมีมาก และ ยังเป็น

ปุถุชนอยู่ จึงมีเหตุที่จะเกิดกิเลสได้ง่าย และ บ่อยต่อไป และ เกิดกุศลน้อยเป็น

ธรรมดา ถ้าเกิดกุศลมาก อกุศลน้อย นั่นก็เท่ากับว่า ผิดปกติแน่นอน ดังนั้น สภาพ

ธรรมที่เป้นปัญาญาที่ค่อยๆ เกิดขึ้น จะค่อยๆ ละคลายกิเลสทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว และ

ค่อยๆ เกิด กุศลเพิ่มขึ้นทีละน้อยอกีเช่นกัน พระอริยสาวก ใช้เวลาอบรม กว่าจะมี

ปัญญามาก นับชาติไม่ถ้วน เพราะฉะนั้นเราเพิ่มเริ่มฟัง ปัญญาน้อยมาก จึงต้อง

ค่อยๆ อบรมปัญญาต่อไป และ หนทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่การบังคับไม่ให้อกุศลไม่เกิด

เป็นไปไม่ได้ แต่ หนทางที่ถูก และ กิเลสที่จะต้องละอันดับแรก ไม่ใช่ โลภะ ไม่ใช่

โทสะ แต่เป็น ความเห็นผิดที่ยึดืถอว่าเป็นเรา เป็นสัตว์ บุคคล เพราะฉะนั้น หนทาง

การอบรมปัญญาที่ถูกต้อง คือ เข้าใจว่าทุกสิ่งเป้นธรรมไม่ใช่เรา แม้ อกุศลทีเกิดขึ้น

เมื่อเกิดแล้ว ก็เข้าจถูกว่าเป็นนแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา การเข้าใจเช่นนี้ ย่อมค่อยๆ

ละ อวิชชา และ เจริญขึ้นในกุศลทีละน้อย แต่ถูกทาง และ จะดับกิเลสได้ในอนาคต

ซึ่งจะมีได้ ก็ด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมต่อไป อันเป็นหนทางเดียว และ

ถูกต้อง คัรบ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-ตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลสจนหมดสิ้น ก็ยังมีเหตุปัจจัยให้อกุศลจิตเกิดขึ้น

เป็นไป และเกิดขึ้นเป็นไปมากในชีวิตประจำวัน เพราะถ้าไม่ได้เป็นไปในการให้

ทาน รักษาศีล ฟังพระธรรมอบรมเจริญปัญญาแล้ว ส่วนใหญ่ก็เป็นอกุศลโดยตลอด

แต่ก็ไม่ได้มีแต่อกุศลเกิดขึ้นเท่านั้น ยังมีขณะที่เป็นกุศลเกิดขึ้นเป็นไป บ้าง แต่

ถ้าเทียบส่วนกันกับอกุศลแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย เพราะอกุศลเกิดมากทีเดียว

ขณะที่เศร้าใจ เป็นอกุศล ขณะที่เข้าใจถูกเห็นถูก ก็เป็นกุศล ซึ่งเป็นธรรมที่

ไม่ปะกันกัน อกุศลเป็นอกุศล กุศลเป็นกุศล

-ความเป็นจริงของธรรม เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น แม้แต่ปีติ ก็เช่น

เดียวกันจะเปลี่ยนลักษณะของปีติให้เป็นอย่างอื่นก็ไม่ได้ เป็นความปลาบปลื้มใจ

ซึ่งเป็นกุศล ก็ได้ อกุศล ก็ได้ ตามการะสมของแต่ละบุคคลอย่างแท้จริง ที่

จะเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง ก็ต้องมีการฟัง มีการศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ

เพราะทั้งหมด ล้วนกล่าวถึงสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย

-ความเห็นผิด ไม่ได้เกิดตลอด และแม้ในขณะที่เป็นอกุศล ก็ไม่ใช่ว่าจะมีความ

เห็นผิดเกิดร่วมด้วย เสมอ เพราะอาจจะเป็นความติดข้องในสิ่งต่างๆ ด้วยความ

ยินดีพอใจ ในขณะนั้นก็ไม่ได้มีความเห็นว่าเที่ยง ยั่งยืนแต่อย่างใด เพียงติดข้อง

เท่านั้น และถ้าเป็นอกุศลประเภทอื่นๆ อย่างเช่น ที่เป็นโทสะ ก็ไม่มีความเห็น

ผิดเกิดร่วมด้วยเลย ทั้งหมด ก็ต้องได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ

เมื่อเข้าใจถูกต้องมั่นคงแล้ว ก็จะไม่สับสน

-เพราะยังไมได้ดับกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ตัณหา และ อวิชชา ก็ยังต้อง

มีการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป เพราะผู้ที่ดับตัณหา ดับอวิชชาได้แล้วเท่านั้น

ที่จะไม่มีการเกิดอีก

-ความตาย เป็นธรรมดาของสัตว์โลก เกิดมาแล้ว ก็ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น ควร

ที่จะได้พิจารณาว่า สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ก่อนที่ความตายจะมาถึง ซึ่งไม่สามารถ

จะรู้ได้ว่าเป็นวันไหน ขณะไหน นั้น ก็คือ การมีโอกาสได้สะสมความดี และ

ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ สิ่งนี้เท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งได้จริงๆ ความ-

เข้าใจพระธรรม เป็นที่พึ่งได้ในทุกระดับขั้น ตั้งแต่ขั้นต้นที่เกื้อกูลในชีวิตประจำวัน

ทำให้รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด แล้วน้อมประพฤติในสิ่งที่ถูก จนกระทั่งสุงสุด คือ

สามารถทำให้ดับกิเลสได้ตามลำดับขั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 5 ต.ค. 2556

กราบขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ให้ระลึกถึงความตายบ่อยๆ เนืองๆ จิตสงบจากอกุศล ทำให้ไม่ประมาทในการเจริญกุศล ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สิริพรรณ
วันที่ 6 ต.ค. 2556

กราบเรียนท่านอ.ทั้ง2 และกัลยาณมิตร คุณ WANEE.S วันนี้ได้เจริญมรณานุสสติ 1. สัญญาเจตสิกทำหน้าที่ในการจำ ไม่ทำหน้าที่อื่นเลย ห้ามไม่ได้ที่จะทำหน้าที่ จะจำถูก หรือผิด ขึ้นอยู่กับข้อมูล เช่น จำว่านี้คือใคร ชื่อ อะไร หรือจำว่านี้คือรูป นี้คือนาม 2. สัตว์ บุคคล ประกอบด้วย รูป และนาม เท่านั้น จริงๆ 3.รูปเสื่อมสลาย แล้ว ไม่มีนาม ก็ไม่รู้เรื่องอะไรเลย ทิ้งอะไรไๆ ไว้ในโลกนี้ทั้งหมด 4.เวลาที่เหลือต้องเร่งสะสมความเห็นถูกเพื่อละความติดอกติดใจในสิ่งต่างๆ เท่านั้น เพราะสุดท้ายไม่มีอะไรเอาไปได้จริงๆ 5.ความปิติใจจะเกิดได้เมื่อจิตยังรับรู้ เพราะเมื่อเขณะที่เหลือแต่รูปจะบอกให้ปิติใจไม่ทราบจะรับรู้ไหม ฉะนั้น เมื่อยังอยู่ครบทั้งรูปและนาม จะระลึกความปิติใจในกุศลได้เท่านั้น
ทั้งหมดนี้ คิดได้จากการฟังและสนทนาพระธรรม กราบขอบพระคุณทุกท่านที่เมตตาชี้แนะค่ะ สิริพรรณ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 7 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาในความเข้าใจถูก ครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ