การเจริญสติปัฐฐาน และการสะสมปัญญา

 
สิริพรรณ
วันที่  5 ต.ค. 2556
หมายเลข  23774
อ่าน  884

ขอโปรดอธิบายว่า

1. "ความเห็นผิดจะเกิดกับโลภมูลจิตเท่านั้น" หมายความว่าอย่างไร ความเห็นผิดในที่นี้หมายถึง โมหะหรืออวิชชา ใช่ไหมคะ

2. อาสวะ มีเพียงโลภะ ทิฏฐิ และความเห็นผิด หรือ? ไม่มีโทสะ ด้วยหรือคะ เพราะเหตุใด

3. การฟังพระธรรมเพื่อละคลายความไม่รู้ ต้องควบคู่กับการเจริญสติปัฐฐานด้วยใช่ไหมคะ และ 2 กิจกรรมนี้จะเกื้อกูลกันส่งเสริมกันอย่างไร จะมีเพียงกิจกรรมเดียวก็ไม่สมควรใช่ไหมคะ โปรดชี้แนะ

4. ผู้ที่มีความสามารถ ฉลาดในการศึกษาเนื้อหาที่ยาก เช่น คณิตศาสตร์ระดับสูง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นแพทย์ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ เศรฐศาสตร์ กฏหมาย ฯลฯ หากได้ศึกษาพระธรรม (โดยเฉพาะพระอภิธรรม) จะเข้าใจได้เร็วกว่าคนที่มีความสามารถเล่าเรียนวิชชาทั่วไปปานกลาง มีอาชีพอื่นๆ ที่เรียบง่าย เช่น ครู นักบัญชี แม่บ้าน ชาวนา หรือไม่

5. ปัญญาเจตสิกที่สะสมความเห็นถูกในชาตินี้ จะจำแนกผลกรรมให้มีความสามารถเล่าเรียนทางโลก เช่น เรียนฟิสิกส์ เคมี ได้เข้าใจรวดเร็ว และมีอาชีพคิดวิเคราะห์ วางแผนยุทธ์ศาสตร์เก่งสุดยอดระดับเหรียญทอง ในชาติหน้า หรือไม่ คะ

กราบขอบพระคุณท่านผู้รู้มาล่วงหน้าค่ะ
สิริพรรณ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1." ความเห็นผิดจะเกิดกับโลภมูลจิตเท่านั้น "หมายความว่าอย่างไร ความเห็นผิด

ในที่นี้หมายถึงโมหะหรืออวิชชาใช่ไหมคะ

โมหะ คือ ความหลง อวิชชา ความไม่รู้ ทั้งสองคำ เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน

แต่ แสดงความหมายได้หลากหลายนัย เพราะ มีความไม่รู้ จึงมีความหลง หลงไป

ในทางที่ผิด และ ที่สำคัญ เพราะ มีอวิชชา ความไม่รู้ จึงทำให้มีความเห็นผิด ซึ่ง

ความเห็นผิด เป็นสภาพธรรมคนละอย่าง กับความไม่รู้ เพราะความเห็นผิด เป็นการ

เห็นผิดจากความเป็นจริง เห็นผิดว่ามีเรา มีสัตว์ บุคคล แต่ ความไม่รู้ ก็คือไม่รู้ความ

จริง แต่ไม่ได้มีความเห็นผิด แต่เพราะมีความไม่รู้ จึงทำให้มีอกุศลประการต่างๆ เกิด

ขึ้น อวิชชา โมหะ จึงเป็นสภาพธรรมที่เป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย พระโสดาบัน

ดับความเห็นผิดได้ แต่ ยังมีความไม่รู้เกิดขึ้นอยู่ พระอรหันต์เท่านั้นที่ดับความไม่รู้ได้

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

2.อาสวะ มีเพียงโลภะ ทิษฐิ และความเห็นผิด หรือ ? ไม่มีโทสะ ด้วยหรือคะ เพราะ

เหตุใด

อาสวะกิเลส หมายถึง อกุศลธรรมชนิดหนึ่งที่มีสภาพหมักหมมไว้ในขันธสันดาน

เหมือนกับสุราซึ่งเป็นเครื่องหมักดองที่เก็บไว้นานๆ มีอำนาจทำให้เมาและหลงใหล

ได้ อาสวะยังเป็นสภาพที่ไหลไป ไหลไปสู่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทาง

กาย ทางใจ สามารถไหลไปได้จนถึงภวัคคพรหม เมื่อว่าโดยภูมิ แต่เมื่อว่าโดย

ธรรม ก็ไหลไปได้จนถึงโคตรภู ทำให้สังสารวัฏฏ์เจริญสืบต่อไป

อาสวะมี อย่าง คือ ...

๑. กามาสวะ เครื่องหมักดองคือความยินดีในกาม ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับ โลภมูลจิต ดวง๒. ภวาสวะ เครื่องหมักดองคือความยินดีในภพ ได้แก่ โลภเจตสิกที่เกิดกับ โลภทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ดวง๓. ทิฏฐาสวะ เครื่องหมักดองคือความเห็นผิด ได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่เกิดโลภ ทิฏฐิคตสัมปยุตต์ ดวง๔. อวิชชาสวะ เครื่องหมักดวงคือความไม่รู้ ได้แก่ โมหเจตสิกที่เกิดกับอกุศล จิตทั้ง ๑๒ ดวง

ซึ่งอาสวะ ไม่มโทสะ เพราะ อาสวะ มุ่งหมายถึง สภาพธรรมที่ไหลไปตอลด มีโลภะ

ทิฏฐิ และ ความไม่รู้ แต่ไม่รวมโทสะ แต่ โทสะ ก็เป้นอกุศละรรม ที่อยู่ในหมวด อื่น

มีกิเลส เป็นต้น ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

3.การฟังพระธรรมเพื่อละคลายความไม่รู้ ต้องควบคู่กับการเจริญสติปัฐฐานด้วย

ใช่ไหมคะ และ 2 กิจกรรมนี้จะเกื้อกูลกันส่งเสริมกันอย่างไร จะมีเพียงกิจกรรมเดียว

ก็ไม่สมควรใช่ไหมคะ โปรดชี้แนะ

ถูกต้องครับ อาศักยารฟังพระธรรม ขณะที่ค่อยๆ เข้าใจ ก็ค่อยๆ ละความไม่รู้ และ

เมื่อปัญญาถึงพร้อมก็เกิดสติปัฏฐานรู้ควาจริง อันมีเหตุมาจากการฟังพระธรรม ครับ

ซึ่ง การฟังพระธรรมก็เกื้อกูลต่อการอบรมปัญญา เจริญสติปัฏฐาน โดยตรง ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

4.ผู้ที่มีความสามารถ ฉลาดในการศึกษาเนื้อหาที่ยาก เช่น คณิตศาสตร์ระดับ

สูง ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เป็นแพทย์ วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ เศรฐศาสตร์ กฏหมาย ฯลฯ

หากได้ศึกษาพระธรรม (โดยเฉพาะพระอภิธรรม) จะเข้าใจได้เร็วกว่าคนที่มีความ

สามารถเล่าเรียนวิชชาทั่วไปปานกลาง มีอาชีพอืนๆ ที่เรียบง่าย เช่น ครู นักบัญชี

แม่บ้าน ชาวนา หรือไม่

ไม่จำเป็นครับ เพราะ ปัญญาฉลาดทางโลก ไม่ใช่ ปัญญา ฉลาดทางธรรม หาก

แม้ผุ้นั้นไม่รู้วิชากการทางโลกเลย แต่ สะสมปัญาควาเมห็นถูกมา ก็สามารถเข้าใจ

ธรรมได้เร็ว และ ถูกต้อง ต่างจากผุ้ที่ ไม่ได้สะสมปัญญาเจตสิกมาในอดีตชาติ แต่

รู้ทางโลก เมื่อได้ศกึษาธรรม ก็เข้าใจยาก เพราะเข้าใจพระธรรมน้อย เพราะไม่ได้

สะสมปัญญามาในอดีต ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

5.ปัญญาเจตสิกที่สะสมความเห็นถูกในชาตินี้ จะจำแนกผลกรรมให้มีความสามารถ

เล่าเรียนทางโลกเช่น เรียนฟิสิกส์ เคมี ได้เข้าใจรวดเร็ว และมีอาชีพคิดวิเคราะห์

วางแผนยุทธ์ศาสตร์เก่งสุดยอดระดับเหรียญทอง ในชาติหน้า หรือไม่ คะ

ก็ทำให้เป็นผู้มีความคิดแยบคายมากขึ้น คือ เป้นผู้ละเอียดในเรือ่งต่างๆ ในชีวิต

ประจำวัน แต่ไมได้หมายความว่า จะต้องเก่งในวิชาการทางโลกเสมอไป ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-ความเห็นผิดจะเกิดร่วมกับโลภมูลจิตประเภทที่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย

เท่านั้น จะไม่เกิดกับจิตประเภทอื่น และในขณะที่เกิดขึ้นนั้น ก็มีอกุศลเจตสิกอื่นๆ

และเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วย จะไม่ปราศจากโลภะ และ โมหะเลย ในขณะที่ความ

เห็นผิดเกิดขึ้น ครับ

-อาสวะ เป็นกิเลสที่ไหลไปได้ทุกภพภูมิ เป็นกิเลสที่บางเบา ไหลไปทางตา หู

จมูก ลิ้น กาย ใจ อาสวะไม่พ้นไปความความติดข้องยินดีพอใจในกาม ความพอใจ

ในภพ ความเห็นผิด และ ความไม่รู้ ส่วนโทสะ ไม่เป็นอาสวะ เพราะในบางภูมิ

โทสะไม่เกิด เพราะกำลังแห่งความสงบของจิต บุคคลผู้ที่ดับอาสวะจนหมดสิ้น

จริงๆ ก็ต้องถึงความเป็นพระอรหันต์

-เพราะมีความเข้าใจถูกเห็นถูกในขั้นของปริยัติ คือ พระธรรมคำสอนที่พระสัมมา

สัมพุทธเจ้าทรงแสดง ฟังให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ บ่อยๆ เนืองๆ

เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมจึงจะเป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิดขึ้นเป็นไปได้ มีการระลึกรู้ลักษณะ

ของสภาพธรรมที่มีจริง ในขณะนี้ เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจ

บังคับบัญชาของใคร ทั้งสิ้น ดังนั้น จะขาดการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมไม่ได้

เลย และไม่ควรลืมจุดประสงค์ของการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ว่า เพื่อความ

เข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่่งที่ได้ยินได้ฟัง

-ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะด้านต่างๆ ไม่ใช่เครื่องวัดว่าเป็นผู้ที่จะเข้าใจธรรม หรือ

จะเข้าใจธรรมได้เร็ว ต้องขึ้นอยู่กับการสะสมของผู้นั้นจริงๆ ว่า เป็นผู้เห็นประโยชน์

ของพระธรรมหรือไม่ มีศรัทธาที่จะฟังที่จะศึกษาหรือไม่ ถ้าไม่ฟังไม่ศึกษา ก็ไม่ต้อง

พูดถึงความเจริญขึนของปัญญา เพราะเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเห็นประโยชน์แล้ว

ไม่ละทิ้งการฟังพระธรรม ฟังพระธรรมบ่อยๆ เนืองๆ ให้เวลากับพระธรรม ในที่สุด

แล้ว ความเข้าใจถูกเห็นถูก ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้น ครับ

-ความเข้าใจถูกเห็นถูก ย่อมจะเป็นเครืองอุปการะเกื้อกูลที่ดี บุคคลผู้ที่มีความ

เข้าใจถูกเห็นถูก ย่อมจะมีความประพฤติเป็นไปในด้านต่างๆ เป็นไปในทางที่ถูกที่

ควร ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ มีความละเอียด ใคร่ครวญอย่างรอบคอบ

ซึ่งเกื้อกูลอย่างมากในชีวิตประจำวัน ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
สิริพรรณ
วันที่ 5 ต.ค. 2556

กราบขอบพระคุณมากค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 5 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 5 ต.ค. 2556

อวิชชา คือ ความไม่รู้ ปกปิดสภาพธรรม ไม่ให้รู้ว่าเป็นธรรม เป็นแต่ละธาตุที่เกิด

ดับ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ