อ้างถึงกระทู้ชื่อ นิวรณ์ 10 สัมโพชฌงค์ 14 โดยปริยาย 2 อย่าง เป็นไฉน
ที่อาจารย์สอนว่า
A. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ความสงบกาย ก็เป็นปัสสัทธิ กับ ความสงบจิตก็เป็นปัสสัทธิ อธิบายดังนี้
1.ความสงบกาย ในที่นี้ จะต้องเข้าใจให้ถูกครับว่า กายในที่นี้หมายถึง นามกาย ไม่ใช่ร่างกาย ท่าทางดูสงบนะครับ แต่เป็นนามกาย ที่เป็นนามกาย 3 คือ เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ สงบระงับด้วย ปัญญาทีเกิด ทีเป็นสัมโพชฌงค์
2.ความสงบแห่งจิต มุ่งหมายถึง จิตที่เป็นวิญญาณขันธ์ทีเกิดขึ้น สงบระงับในขณะนั้นเพราะเป็นกกุศลทีประกอบด้วยปัญญาระดับสูง ครับที่รู้ความจริง
กระผมขอเรียนถามดังนี้ครับ
เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ คือเจตสิกทั้ง52ดวง ซึ่งเป็นนามธรรม (นามธรรมยังมีจิตและนิพพาน) และยังเรียกเจตสิกทั้ง52ดวงว่านามกายด้วยไช่ไหมครับ ทำไมถึงเรียกว่านามกายครับ
B.อุเบกขาสัมโพชฌงค์ แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ความวางเฉย อันเนื่องจาก ธรรมทีเกิดขึ้นภายในตน และ ความวางเฉยทีเกิดขึ้น อันเนื่องมาจาก ธรรมภายนอกตน ซึ่งขออธิบาย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ในความละเอียดครับว่า อุบกขาในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ นะครับ แต่มุ่งหมายถึง สภาพธรรมฝ่ายดี ที่ทำให้เกิดความวางเฉย ไม่เอนเอียง คือ ตัตตรมัชณัตตาเจตสิก ที่ทำให้เกิดความวางเฉย ซึ่ง การวางเฉยในสภาพธรรมที่ปรารภตน เช่น ขณะที่โลภะเกิดในตน ก็ปัญญา และสัมโพชฌงค์องค์อื่นๆ เกิดพร้อมกัน และขณะนั้นก็วางเฉย ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปในอกุศล ครับ ส่วน ภายนอก คือ ขณะที่เห็น สี หรือ ได้ยินเสียง ก็เกิดสัมโพชฌงค์ ระลึกที่ตัว เสียงที่เป้นภายนอกเกิดความวางเฉย ไม่หวั่นไหวในอกุศล เพราะรู้ความจริงในขณะนั้น
กระผมขอเรียนถามดังนี้ครับ
ความรู้สึกเฉยๆ ที่ว่าไม่ไช่อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นั้น คือ เวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข และตัวนี้เป็นโมหะไช่หรือไม่ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เข้าใจคำว่ากายก่อนนะครับ กาย หมายถึง การประชุม การรวมกันของสิ่งใด สิ่งหนึ่ง
เพราะฉะนั้นเมื่อพูดถึงแต่คำว่ากาย ไม่ไ่ด้หมายถึง ร่างกายของเราเท่านั้น แต่หมายถึง
การประชุม การรวมกันของสิ่งใด สิ่งหนึ่งก็ได้ ดังนั้นคำว่า กาย คือการประชุม รวมกัน
กาย มี 2 อย่างคือ นามกายและรูปกาย นามกายคือการประชุมกัน รวมกันของสภาพ
ธรรมที่เป็นนามธรรม ซึ่งก็ได้แก่ขันธ์ 4 มี เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ ส่วนรูป
กาย ก็คือสภาพธรรมทั้งหมดที่เป็นรูปธรรม มี ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม สี...เป็นต้น อันเป็น
สภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลยที่เป็นรูปธรรม เป็นรูปกายคือการประชุมของสภาพธรรมที่
เป็นรูปธรรม
[เล่มที่ 69] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 116
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกาย
เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
กายด้วย และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย รูปกายเป็นไฉน ?
มหาภูตรูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสปัสสาสะ นิมิต และท่าน
กล่าวว่ากายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย.
--------------------------------------------
ดังนั้น จากคำถามที่ว่า
เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ คือเจตสิกทั้ง52ดวง ซึ่งเป็นนามธรรม (นามธรรมยังมี
จิตและนิพพาน) และยังเรียกเจตสิกทั้ง52ดวงว่านามกายด้วยไช่ไหมครับ ทำไมถึ
งเรียกว่านามกายครับ
@ เจตสิก 52 ดวง ก็จัดว่าเป็นนามกาย เพราะ คำว่า กาย หมายถึง การประชุม รวมกัน
ของสภาพธรรม ดังนั้น เจตสิก แต่ละอย่างก็เป็นนามธรรม และ เวลาเกิด ไม่ได้เกิด
อย่างเดียว เกิดพร้อมกันหลายๆ ดวง การประชุมพร้อมกัน เรียกว่า กาย เมื่อเป็นนาม
ธรรม จึงเรียกว่า นามกาย ครับ เพราะฉะนั้น ที่เรียกว่า นามกาย เพราะเป็นการประชุม
รวมกันของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม คือ เจตสิก เป้นต้น ครับ
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
และคำถามที่ว่า
ความรู้สึกเฉยๆ ที่ว่าไม่ไช่อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นั้น คือ เวทนาที่ไม่สุขไม่ทุกข และ
ตัวนี้เป็นโมหะไช่หรือไม่ครับ
@ ในควาหมายของคำว่า อุเบกขา ความวางเฉย มีหลากหลาย นัย ครับ ซึ่ง ความ
วางเฉpด้วย กุศลธรรกม็มี ความวางเฉย ที่เป็น ความรู้สึก ที่เป็นเวทนาเจตสิก็มี
และ คามวางเฉยด้วยปัญญาก้มี ความวางเฉยด้วยขันติก็มี แต่ โดยมาก ที่เป็นความ
รู้สึก ไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ อุเบกขาเวทืนานั้น เช่น เห็น สิ่งนี้แล้วรู้สึกเฉยๆ อุเบกขา
นั้นมุ่งหมายถึง ความรู้สึก ที่เป็นเวทนาเจตสกิ ครับ คือ เป็นความรู้สึกที่เฉยๆ คือ
ไม่สุข และ ก็ไม่ทุกข์ เป็นเวทนาเจตสิก แต่ โมหเจตสิก จะเป็นความไม่รู้ ไม่ใช่
อุเบกขาเวทนา ซึ่งโมหเจตสิกเกิดขึ้น ไม่รู้ในขณะนั้น แต่ไม่ได้ทำหน้าที่รู้สึกเฉยๆ
ครับ เพียงแต่ว่า ขณะที่เกิดจิตที่ไม่รู้ เกิดโมหะ ขณะนั้น ไม่รู้อะไร และ มีความรู้สึก
เฉยๆ ที่เป็นเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ เป็นคนละสภาพธรรม เป็นคนละเจตสิก
ทำหน้าที่แตกต่างกัน ครับ ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประเด็นที่จะต้องพิจารณา คือ ในข้อความที่อ้างอิงถึง กายปัสสัทธิ กับ จิตต-ปัสสัทธิ
-กายปัสสัทธิเจตสิก เป็นเจตสิกที่สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน ทำให้เจตสิกที่เกิดร่วมด้วยสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน
-จิตตปัสสัทธิ เป็นเจตสิกที่ทำให้จิตที่เกิดร่วมด้วยสงบ แสดงถึงความเป็นจริงของเจตสิกอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับจิต และ เจตสิกที่เกิด
ร่วมด้วยในขณะนั้ กาย ในที่นี้ มุ่งหมายถึงเจตสิกธรรมทั้งหลายที่เกิดพร้อมกัน
ประชุมพร้อมกัน จึงเป็น นามกาย และเวลาที่เจตสิกธรรมเกิดขึ้น ก็จะต้องเกิด
พร้อมกันกับจิต จิตก็เป็นนามธรรมด้วย เจตสิกก็ประชุมพร้อมกันเกิดพร้อมกัน
กับจิต จิตก็เป็นนามกาย ด้วย เพราะฉะนั้นจึงสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจจริงๆ
เพราะกายที่เป็นนามธรรม ก็มี ที่เป็น รูปธรรม ก็มี เมื่อเข้าใจถูกเห็นถูแล้ว
ก็จะไม่สับสน ครับ
-พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง นั้น ละเอียดลึกซึ้งมาก ธรรม ไม่
สามารถคิดเอาเองได้ ถ้าคิดเอาเองเมื่อใด ก็ผิดเมื่อนั้น ไม่ตรงตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ทางเดี่ยวเท่านั้นที่จะทำให้มีควาเข้าใจถูกเห็นถูก ก็คือ ฟังพระธรรม
ศึกษาพระธรรม ด้วยความละเอียดรอบคอบ ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ
เป็นการเก็บเล็กผสมน้อย แม้แต่อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่ว่าเป็น
ความไม่รู้ เพราะเป็นองค์ธรรมที่ทำให้ถึงการตรัสรู้ อุเบกขาในที่นี้ คือ ความเป็น
กลางไม่เอนเอียงไปด้วยอำนาจของอกุศล องค์ธรรม คือ ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
ที่เป็นกลาง ด้วยกุศล เพราะมีปัญญาที่เข้าใจสภาพธรรมอย่างแจ่มแจ้งแล้วนั่นเองครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...