ธรรมให้ผลไม่แน่นอน....

 
ดวงทิพย์
วันที่  9 ต.ค. 2556
หมายเลข  23812
อ่าน  909

ข้อ 681 ธรรมเป็นมิจฉาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?

คือ อนันตริยกรรม 5 และนิตยมิจฉาทิฎฐิ (นิตย์=เที่ยง.ยั่งยืน,เสมอ,ประจำ)

ธรรมเป็นสัมมาสภาวะและให้ผลแน่นอน เป็นไฉน?

คือ มรรคที่เป็นโลกุตระทั้ง 4

ธรรมให้ผลไม่แน่นอน เป็นไฉน?

เว้นธรรมเหล่านั้นเสีย กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรมที่เหลือ ที่เป็นกามาวจร รุปาวจร อรูปาวจร โลกุตระ คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ รูปทั้งหมด และ อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าให้ผลไม่แน่นอน.

คำถามคะ

ไม่เข้าใจกรณีธรรมให้ผลไม่แน่นอนคะ โดยเฉพาะ อสังขตธาตุ ซึ่งคือ นิพพาน เหตุใดทรงกล่าวว่าเป็นธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอนค่ะ

และ โลกุตระที่เหลือ นี้คืออะไรคะ หมายถึง โลกุตระผล หรือเปล่าคะ และทำไมทรงจัดอยู่ในกลุ่มไม่แน่นอนค่ะ

ขอบพระคุณสำหรับคำอธิบายค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 9 ต.ค. 2556

เรียนอาจารย์เผดิมและอ.คำปั่น

พอจะเข้าใจขึ้นแล้วคะจากการอ่านไปเรื่อยๆ ทรงตอบอยู่คะ..ว่า

การทำอนันตริยกรรมนั้นแม้ะทำบุญกับคณะสงฆ์ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประทานก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงวิบากนี้ได้

หรือผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิมากๆ แม้พระพุทธเจ้าหลายพระองค์ก็ไม่สามารถจะช่วยอะไรได้

ผลไม่ดีจึงเกิดแน่นอน

ส่วนอริยมรรคอริยผลก็มีเดชที่เป็นสมุทเฉทปหาณต่ออนุสัยกิเลสได้แน่นอน

กรณีที่เหลือจึงอยู่ในลักษณะที่ความแรงของกุศลอกุศลไม่มากพอจึงอาจมีผลกรรมที่มีความแรงกว่ามาเปลี่ยนแปลงได้แต่กรณี อสังขตธาตุก็จัดอยู่ในกลุ่มที่ให้ผลไม่แน่นอนอันนี้ยังงงอยู่ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 11 ต.ค. 2556

เรียนคุณดวงทิพย์ครับ

เข้าใจว่า โดยนัยนี้ทรงแสดงการจำแนกธรรมทั้งหมด เป็น ๒ ประเภท คือ ธรรมให้ผล

แน่นอน ๑ ธรรมให้ผลไม่แน่นอน ๑ ประเภทที ๑ หมายถึง โลกุตตรมรรค ๔ เท่านั้น

ธรรมที่เหลือจำแนกเป็นประเภทที่ ๒ คือให้ผลไม่แน่นอน ในกรณี อสังขตธาตุ อยู่ใน

ประเภท อยู่ในประเภทให้ผลไม่แน่นอน ซึ่งโดยอรรถแล้ว คือ ไม่ให้ผลนั่นเองครับ

ดังนั้น โดยใจความจริงๆ แล้ว ธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน หมายถึง โลกียกุศล และอกุศล

เท่านั้น ธรรมที่เหลือ คือ อัพยกตธรรมทั้งหมด ได้แก่ วิบากจิตเจตสิก กริยาจิตเจตสิก

รูปทั้งหมด และพระนิพพาน ไม่ใช่ธรรมที่จะให้ผลครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 13 ต.ค. 2556

-ขอบพระคุณคะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ