เจ้าของผัสสะ และหญิงที่ชายยุ่งเกี่ยวไม่ได้ ?
เนื่องจากสตรียังเป็นเจ้าของผัสสะของตนเองอยู่ตราบเท่าที่ยังไม่มีสามี แต่เมื่อมีสามีแล้ว สามีนั่นเองเป็นเจ้าของผัสสะของภรรยา แต่ภรรยาไม่ได้เป็นเจ้าของผัสสะของสามี ผู้ชายจึงไม่ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร (ศีลข้อ 3) ในกรณีที่ไปมีภรรยาน้อย (ภรรยาน้อยที่ไม่เป็นไปในหญิง 20 จำพวก) แต่ถ้าหญิงที่ยังไม่มีสามี แม้จะมีผู้ปกครองอยู่ เช่น พ่อ แม่ ชายไปล่วงเข้า กรณีนี้หญิงไม่ผิดศีลข้อ 3 แต่ชายผิดศีลข้อ 3 ครับเนื่องจากหญิงเป็นเจ้าของผัสสะของตนเอง ผมอยากให้ มศพ. ยกข้อความจากคัมภีร์ไหนก็ได้ ที่กล่าวว่า หญิง 20 จำพวกที่ชายไปล่วงเข้า แล้ว ผิดศีลข้อ 3 มีใครบ้าง? และอีกคำถามหนึ่ง คือ ชายที่ผิดศีลข้อ 3 หลังจากตกนรกแล้วเศษของกรรมจะทำให้เกิดมาเป็นหญิง และมีศัตรูมาก ใช่ หรือ ไม่ ครับ
ผัสสะของหญิงจัดเป็นสมบัติ หรือ วิญญาณกทรัพย์ แต่ผัสสะของชายหาเป็นเช่นนั้นไม่
แล้วกรณีที่หญิงไปแย่งสามีผู้อื่น ไม่ผิดหรือ ทำไมจึงเน้นเฉพาะผู้ชายไปก้าวล่วงหญิง 20 จำพวก ในเมื่อทุกชีวิตก็เป็นไปได้ที่จะกระทำอกุศลกรรมได้ทั้งนั้น หากจิตเป็นอกุศลในขณะหนึ่งๆ แล้วเผลอก้าวล่วงศีล
เรื่องผู้ชายมีภรรยาหลายคน สร้างปัญหาให้คนรอบข้างและสังคมมาตั้งแต่โบราณ เป็นความไม่รู้จักพอของฝ่ายชาย ไม่มีความสันโดษในภรรยาของตน แต่ก็มีเหมือนกันที่ว่าผู้ชาย มีความรับผิดชอบ และให้ความสุขกับภรรยาทุกคนของตนได้ แต่จะหาผู้ชายที่มีความรับผิดชอบ แบบนั้น และภรรยาที่มีความใจกว้างแบบนั้น ก็คงจะมีน้อย เรื่องนี้ต้องแยกกันกล่าว กับเรื่องการล่วงศีลข้อ 3 ซึ่งมีองค์อยู่ชัดเจน อยากให้มศพ. กล่าวถึง องค์ ของศีลข้อนี้ ก็จะทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นนะครับ
ตอบความเห็นที่ 3
ในกรณีผู้หญิงที่มีคู่หมั้นหรือมีสามีแล้ว จะไปยุ่งเกี่ยวกับชายอื่นไม่ได้ แต่ถ้าเป็นผู้หญิงโสด ถ้าไปยุ่งกับผู้ชาย ผู้หญิงเองเป็นฝ่ายเสียหาย ผู้หญิงไม่ผิดศีล แต่ผู้ชายผิดศีล แม้ว่าผู้หญิงจะยินดี ยินยอมก็ตาม สรุป คือผู้ชายจะไปยุ่งเกี่ยวกับหญิงอื่นไม่ได้ เว้นแต่ภรรยาของตน แต่ถ้ามีภรรยาหลายคน โดยทำตามประเพณีอย่างถูกต้อง ก็ไม่ผิดศีล ฝ่ายผู้หญิงถ้ามีสามีแล้วไปยุ่งกับชายอื่นไม่ได้ แต่ถ้ายังไม่มีสามี ถ้าไปยุ่งเกี่ยวกับผู้ชาย ฝ่ายหญิงไม่ผิดศีล เพราะตัวเองเป็นฝ่ายเสีย ส่วนปัญหาของคุณพรชัย กรุณาอ่านข้อความจากอรรถกถาที่ยกมาในความเห็นที่ ๑
กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีสัมภาระ (องค์) ๔ คือ
- วัตถุอันไม่พึงถึง ๑
- จิตคิดจะเสพในวัตถุอันไม่พึงถึงนั้น ๑
- ความพยายามในการเสพ ๑
- การหยุดอยู่แห่งการปฏิบัติต่อองค์มรรคด้วยมรรค ๑.
การกระทำด้วยมือของตนก็เป็นความพยายามอย่างหนึ่งนั่นแล.
ศีลคือความประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ขณะใดที่มีการเบียดเบียน ประทุษร้ายเกิดขึ้น ทางกายก็ดี ทางวาจาก็ดี ขณะนั้นก็เป็นการล่วงศีลแล้วค่ะ
ศีล คือ ความปกติของกาย วาจา ที่ไม่ไปล่วงเกินผู้อื่น สัตว์อื่น มีปกตินั้นและ ศีล แต่เมื่อใด กายก็ดี วาจาก็ดี ของเราไปล่วงละเมิด ผู้อื่น สัตว์อื่น ชื่อว่าไม่ปกติผิดศีล
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร
ขอเชิญศึกษาพระธรรม...
รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์