พระพุทธเจ้าเป็นใคร - คุณเป็นใคร

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  11 ต.ค. 2556
หมายเลข  23830
อ่าน  1,194

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต

อะระหะโต สัมมา สัมพุทธธัสสะ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

เรียนขอความอนุเคราะห์ ขอความรู้ความเข้าใจ ดังนี้ค่ะ

๑. ความหวั่นไหว กับความอดทน ต่างกันอย่างไร เป็นธรรมะอย่างไร (ขอคำบาลีด้วยค่ะ)

๒. ข้อความที่ว่า “พระพุทธเจ้าเป็นใคร คุณเป็นใคร” มีความหมายลึกซึ้งอย่างไรบ้าง มุ่งสอนมุ่งเตือนประการใด ผู้ฟังควรทำตามอย่างไรคะ

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับคำตอบและกุศลทุกประการของทุกๆ ท่านค่ะ ด้วยความเคารพ จาก ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี (ใหญ่ราชบุรี)


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรัหนตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความหวั่นไหว เป็นเรื่องของอกุสลธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป มีโลภะ โทสะ เป็นต้น ภาษาบาลี คือ อิญฺชิต หรือบางนัย ใช้คำว่า กมฺปน ส่วนความอดทน เป็นเรื่องของกุศลธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป เป็นชื่อของกุศลขันธ์ที่มี อโทสะ เป็นประธานก็คือ สภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน นี้เอง ภาษาบาลี คือ ขนฺติ

หมายเหตุ ประโยชน์จริงๆ ไม่ได้อยู่ที่จำคำภาษาบาลีได้ แต่อยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่อง ความหวั่นไหว

พระธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสรู้และทรงแสดงนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้ง ที่สำคัญ คือ ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวันเลย ทุกขณะของชีวิต เป็นธรรมทั้งหมด รวมถึงความหวั่นไหว ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันด้วย ซึ่งจะต้องศึกษาเพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ต่อไป

โดยธรรมดาของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น กุศลจิต ย่อมเกิดมากกว่ากุศล มีความหวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกุศลประการต่างๆ มากมาย มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น แม้แต่วันนี้วันเดียว กุศลธรรมเป็นอันมาก เกิดขึ้นกลุ้มรุมทำร้ายจิตใจของเราอยู่เกือบจะตลอดเวลา เป็นความจริงที่ว่า เมื่อมีกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ จิตย่อมหวั่นไหวไป ในการกระทำกุศลประการต่างๆ หลังเห็น หลังได้ยิน หลังได้กลิ่น เป็นต้น จิตก็ย่อมหวั่นไหวไป เป็นไปในทางกุศล มีความติดข้องพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง เมื่อกุศลมีกำลังมากขึ้น สะสมมากขึ้น ก็ทำให้หวั่นไหวไปในการประพฤติล่วงออกมาทางกาย ทางวาจาที่เป็นการกระทำกุศลกรรม ซึ่งนอกจากจะเบียดเบียนตนเองโดยตรงแล้ว ยังเป็นไปเพื่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นอีกด้วย นี้คือความเป็นจริงของปุถุชนผู้มากไปด้วยกิเลส จะประมาทกิเลสไม่ได้เลยทีเดียว ควรที่จะเห็นโทษของกิเลส เห็นโทษของความไม่ดีทั้งหลาย (ไม่ใช่ให้ไปทำสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้น) พร้อมทั้งขัดเกลากิเลสของตนเอง จนกว่าจะไม่มีความหวั่นไหว พระอรหันต์เท่านั้น ที่ไม่หวั่นไหว ท่านเป็นผู้คงที่ ไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของกุศล อันเนื่องมาจากการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก เพราะท่านดับกิเลสได้ทั้งหมดแล้ว ดังนั้น ขณะที่เป็นกุศล ชื่อว่า หวั่นไหว ปุถุชนหวั่นไหวเป็นอย่างมาก ส่วนพระอรหันต์ทั้งหลาย ไม่หวั่นไหวเลย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้ที่หมดกิเลสแล้ว กับผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น แตกต่างกันอย่างเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว

ข้อที่ทุกคนควรพิจารณาอยู่เสมอ คือ เนื่องจากยังมีกิเลสอยู่นี่เอง จึงจำเป็นต้องศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญาต่อไป เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูกในสภาพธรรมตามความเป็นจริง อันจะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน จนกว่าจะเป็นผู้หมดจดจากกิเลส หมดความหวั่นไหวได้ในที่สุด

ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องความอดทน

ธรรม เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก่อนอื่นต้องเริ่มที่ความเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรมทุกขณะของชีวิตเป็นธรรม แต่ดูเหมือนจะไปหาว่า ขณะไหน เป็นความอดทน ขณะไหน มีความอดทน แต่ความอดทนมีแล้ว เกิดแล้ว เป็นไปแล้ว ซึ่งก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม (เพราะรูปธรรม อดทนไม่ได้) เช่น อดทนที่จะไม่ว่าร้ายผู้อื่น อดทนที่ะไม่ทำร้ายผู้อื่น อดทนที่จะไม่กระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ อดทนในการที่จะ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญา ไปตามลำดับ เพราะพระธรรมเป็นเรื่องยาก ต้องมีความอดทน ในการฟัง ในการศึกษาต่อไป เป็นต้น ทั้งหมดนี้ คือ ความอดทนในชีวิตประจำวัน ละเอียดยิ่งไปกว่านั้น คือ อดทนทั้งต่อกุศล อดทนต่อผลของกุศล นอกจากนั้น ยังอดทนต่อผลของกุศล ด้วย

กล่าวคือ เมื่อได้รับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ อันเป็นผลของกุศล และ ได้รับสิ่งที่น่าพอใจ อันเป็นผลของกุศล ก็อดทนที่จะไม่เป็นไปด้วยอำนาจของกุศล ทั้งโทสะ และโลภะ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ความอดทน เป็นธรรมเครื่องเผาบาปธรรม พร้อมทั้งเป็นธรรมที่ทำให้ถึงซึ่งฝั่งคือ การดับกิเลส (บารมี) ที่ควรเจริญในชีวิตประจำวัน เพื่อเกื้อกูลต่อการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมด้วย ซึ่งควรอย่างยิ่ง ที่ทุกคนจะได้เห็นคุณประโยชน์ของความอดทนในชีวิตประจำวัน พระธรรมควรค่าแก่การศึกษาและน้อมประพฤติปฏิบัติตาม เป็นอย่างยิ่ง และพระธรรมจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลสำหรับผู้ศึกษา และน้อมประพฤติปฏิบัติตามเท่านั้นจริงๆ

จากประโยคที่ว่า พระพุทธเจ้า เป็นใคร แล้วเรา เป็นใคร พิจารณาได้ว่า แสดงถึง ความเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงโดยละเอียด โดยประการทั้งปวง ทรงแสดงความจริง ประกาศสัจจธรรมให้สัตว์โลกได้รู้ตามความเป็นจริง ไม่มีใครเสมอเหมือนกับพระองค์ สำหรับเราแล้วเป็นผู้ที่มากไปด้วยกิเลส มากไปด้วยความไม่รู้ ไม่สามารถคิดธรรมเอาเองได้ ก็จะต้องฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ไม่ประมาทในพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ในฐานะที่เราเป็นสาวก เป็นการเตือน ให้รู้ถึงฐานะของตนเองว่า เป็นใคร ในเมื่อไม่ใช่ผู้ตรัสรู้ธรรมเอง ก็จะขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเป็นปกติ ไม่ได้เลยทีเดียว ครับ

ขอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 11 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความหวั่นไหว เป็นสภาพธรรมที่มีจริง คือ ขณะใดที่เป็นอกุศลจิต ขณะนั้นหวั่นไหวแล้ว เพราะ สภาพธรรมที่เป็นอกุศล เป็นสภาพธรรมที่หวั่นไหว หวั่นไหวไปตามอำนาจกิเลส แต่ขณะใดที่เป็นกุศลจิต ขณะนั้นไม่หวั่นไหว เพราะไม่มีกิเลสเกิดชั่วขณะจิต แต่หากยังมีกิเลสอยู่ ก็มีเหตุให้เกิดความหวั่นไหวคือ เกิดอกุศลจิตที่เป็นอกุศลธรรมได้ ครับ

ขอเชิญอ่านข้อความบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ ในเรื่อง ความหวั่นไหว ครับ

ถาม เมื่อเช้า ผมฟังเกี่ยวกับเรื่องความหวั่นไหว ที่มีหลายท่านรู้สึกหวั่นไหวนะครับ แล้วท่าน อ.จ. แสดงว่า ให้รู้ถึงอาการที่หวั่นไหว คราวนี้ ถ้าผู้ฟังที่ฟังไม่พอ เข้าใจไม่พอ ไม่สามารถจะระลึกถึงอาการ ที่หวั่นไหวได้ แต่ผมได้เคยเรียนถามท่าน อ.จ. ที่อินเดีย ท่าน อ.จ. ก็เมตตา บอกว่า ถ้าหวั่นไหวก็อย่าลืมในโอวาทปาติโมกข์ ท่านบอกว่า ความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง คือ อดทนที่จะเห็นถูก อันนี้พอจะช่วยได้ไหมครับ

อ.จ. อันนี้ก็แล้วแต่สังขารขันธ์ จากอินเดียมาถึงวันนี้ ก็มีการได้ยิน ได้ฟัง ได้คิดถึงคำที่ได้ยิน แล้วพิจารณาเพื่อที่ได้เข้าใจขึ้น แต่ก็ต้องไม่ลืมคำแรกค่ะ ทุกอย่างเป็นธรรม เป็นอนัตตา ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ ความหวั่นไหว หมดแล้วค่ะ และความเป็นตัวเรา ที่ไม่อยากหวั่นไหว ก็เลยหวั่นไหว ที่ไม่อยากหวั่นไหวนั่นแหละ แต่ความจริงหวั่นไหวเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เกิดแล้วค่ะ แล้วถ้าปัญญาสามารถที่จะเข้าใจขณะนั้น แทนที่ความจะเป็นเราหวั่นไหวต่อไป ก็เป็นปัญญาที่เข้าใจในลักษณะที่หวั่นไหวว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่มีสภาพธรรมใดเกิดขึ้น จะแทรกด้วยความไม่รู้ จะแทรกด้วยความเป็นตัวตน ความหวัง เพราะว่ายังไม่รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง

ขันติ คือ ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเจตสิกคือ อโทสเจตสิก ซึ่งขณะที่มีขันติ ความอดทน ไม่โกรธ ขณะนั้นเป็นจิตที่ดีงาม คือ เป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ หรือกุศลจิตก็ได้ที่เกิดกับอโทสเจตสิก และเจตสิกที่ดี ประการอื่นๆ มีศรัทธา เป็นต้น

ขันติธรรม คือ สภาพธรรมที่อดทน อดกลั้น ด้วยกุศล ด้วยสภาพธรรมฝ่ายดี แต่ไม่ใช่ความอดทน ด้วยอกุศลจิตครับ

ขันติธรรม เป็นสภาพธรรม คือ อโทสเจตสิก ขันติธรรม มีหลายระดับ ทั้งความอดทน อดกลั้นด้วยกุศลจิต อดทนต่อ ความหนาว ความร้อน อดทนต่อความประทุษร้าย ของผู้อื่น หรือ อดทนต่อสิ่งต่างๆ ด้วยกุศลจิต และ ขันติ โดยนัยสูงสุด ยังหมายถึง ปัญญา ที่เป็นวิปัสสนาญาณ ที่เป็นขันติญาณ อันเป็นการเห็นการเกิดดับของสภาพธรรม ที่เป็นแต่ละกลุ่มกลาปของสภาพธรรม ดังนั้น ทั้งความอดทน อดกลั้นด้วยกุศลจิต รวมทั้งปัญญา ย่อมเป็น ขันติธรรมทั้งสิ้น ขันติธรรม จึงมีหลายระดับตามที่กล่าวมาครับ

ดังนั้น ขณะใดที่จิตกระสับกระส่าย ดิ้นรนต่อสู้ ขณะนั้นไม่ชื่อว่าอดทน เพราะเป็นอกุศล จึงชื่อว่า กระสับกระส่าย มีโทสะ เป็นต้น แต่เมื่อขันติเกิด มีโสภณเจตสิก เกิดร่วมด้วย ขณะนั้นต้องเบา เพราะเบาด้วยเจตสิกที่ดีเกิดร่วมด้วย และเป็นกุศลจิต ขณะนั้น จะไม่กระสับกระส่ายเลย ครับ

ขันติธรรมจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการศึกษาพระธรรม อบรมปัญญา เพราะเมื่อปัญญาเจริญขึ้น ขันติ ความอดทนด้วยกุศลจิตก็เพิ่มขึ้น และเมื่อปัญญาเจริญถึงระดับวิปัสสนาญาณก็ทำให้ถึงขันติธรรมที่เป็นปัญาระดับสูงที่เป็น ขันติญาณได้ครับ ดังนั้นเพราะปัญญา ความเห็นถูกเจริญ เกิดขึ้น ก็ทำให้กุศลธรรมประการต่างๆ มีขันติ เป็นต้น เจริญ เกิดขึ้นตามไปด้วยครับ เพราะฉะนั้น อาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญา ขันติก็เจริญ เกิดขึ้นครับ เพราะปัญญา วิชชา เป็นหัวหน้าของกุศลธรรมทั้งหลายครับ

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ขณะที่อดทน ขณะนั้นเป็นจิตที่ดี ชื่อว่า ขณะนั้นไม่หวั่นไหว แต่ขณะใดที่ไม่หวั่นไหว ด้วย เป็นกุศลจิต ไม่จำเป็นจะต้องอดทน เพราะอาจเป็นกุศลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลักษณะของอดทนก็ได้ ครับ

ส่วนข้อความที่ว่า พระพุทธเจ้าเป็นใคร คุณเป็นใคร

แสดงถึงความจริงของ การตรัสรู้ความจริงด้วยพระปัญญา กับ สัตว์โลก ที่ไม่ได้รู้ความจริง แต่เต็มไปด้วยอวิชชา จึงไม่ควรประมาทในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ที่ทรงแสดง ด้วยพระปัญญาสูงสุดที่อบรมบารมีมามากมาย แต่เราไม่ได้สะสมปัญญา บารมีมามาก จึงควรที่จะศึกษาธรรมด้วยความเคารพ และ เป็นผู้ละเอียดในการศึกษาพระธรรมด้วยความไม่ประมาท และเห็นคุณค่าของพระธรรม ที่จะไม่เป็นผู้ละเลย และไม่ศึกษาครับ เมื่อรู้ว่า คุณธรรม ปัญญาต่างกันมาก ก็ควรที่จะเคารพ กตัญญูพระองค์ด้วย การศึกษาพระธรรม และน้อมประพฤติปฏิบัติตามเป็นสำคัญ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ผู้ร่วมเดินทาง
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.คำปัน อ.ผเดิม และทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
raynu.p
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขอเรียนถามเพิ่มเติมนะคะ

ภาวะจำทน จำยอม จำเป็น เป็นจิตเจตสิกประเภทใด

กรณีเช่น มีภารกิจและปัญหา ที่เยอะแยะ ยุ่งยาก ย่ำแย่ ก็แก้ไขทำไปตามความจำเป็น หรือทนร้อน ทนหนาว ทนหิว ทนอาการที่เจ็บไข้ได้ป่วย หรือทนต่อถ้อยคำ การกระทำของผู้ที่มีอำนาจกว่า แต่ก็อยู่ในภาวะไม่อยากให้ต้องเป็นอย่างนี้เลย แล้วก็จำยอม จำทนกับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ไม่อาจจะเรียกว่า อดทน กระมังคะ เพราะหวั่นไหว ไม่พอใจ เป็นอกุศลล้วนๆ ภาวะนี้ เรียกว่า อะไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 12 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สิริพรรณ
วันที่ 12 ต.ค. 2556

กราบขอบพระคุณท่านอ.ทั้งสองมากค่ะ และขอบคุณผู้ตั้งคำถาม

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 13 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
guy
วันที่ 13 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
papon
วันที่ 13 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
j.jim
วันที่ 14 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 27 ต.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ