อาโปธาตุภายนอก

 
ดวงทิพย์
วันที่  14 ต.ค. 2556
หมายเลข  23853
อ่าน  2,226
ได้แก่ รสรากไม้ ลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ ไม่เข้าใจคะว่า เป็นธรรมชาติที่เอิบอาบ ธรรมชาติที่เหนียว ธีมชาติที่เกาะกุมรูป อย่างไรคะ ขอบคุณคะ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 14 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธาตุน้ำ คือ อาโปธาตุ (สภาพธรรมใด ย่อมเอิบอาบ คือ แผ่ไปสู่รูปที่เกิดร่วมกันหรือสภาพธรรมใด ยังรูปที่เกิดร่วมกันให้แนบแน่น ให้พอกพูน คือ ให้เจริญ สภาพธรรมนั้นชื่อว่า อาโปธาตุ) เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นรูปธรรม เป็นรูปที่ละเอียด ซึ่งไม่ปรากฏทาง ๕ ทวาร คือ ไม่ปรากฏทางจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร แต่ปรากฏให้รู้ได้ทางมโนทวารเท่านั้น ครับ ดังนั้น ลักษณะที่เอิบอาบ เกาะกุมของ อาโปธาตุ จึงไม่ได้ปรากฎให้รู้ในชีวิตประจำวัน ดั่งเช่น ทางกาย ที่เป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ที่ปรากฎทางกายได้ แต่ปรากฎทางใจ เพราะเป็นรูปละเอียดนั่นเอง ครับ ซึ่งก็ต้องเป็นปัญญาที่เกิดรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม คือ ธาตุน้ำที่เกิดขึ้น จึงจะรู้ได้ ซึ่งเป็นปัญญาที่ละเอียด ขั้นสูง ครับ

ขอเชิญอ่านข้อความทีี่ท่านอาจารย์สุจินต์แสดงไว้ในเรื่องนี้ ครับ

อาจารย์ สุจินต์..ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ซึ่งเป็นมหาภูตรูป สำหรับที่เป็นโผฏฐัพพะนั้น มีเพียง ๓ รูป คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม สำหรับธาตุน้ำ ไม่ใช่โผฏฐัพพารมณ์ เพราะเหตุว่าลักษณะของธาตุน้ำ คือ อาโปธาตุ คือบทว่า อาโป ความเอิบอาบเป็นการแสดงสภาวะ อาโปนั่นแหละ เรียกว่า อาโปคตํ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ที่ชื่อว่า สิเนโห ความเหนียว ด้วยอำนาจที่เป็นยางใยแห่งความเหนียว นั่นแหละ เรียกว่า สิเนหคตํ ธรรมชาติที่เหนียว บทว่า พนฺธนตฺตํ รูปสฺส ธรรมชาติเครื่องเกาะกุมรูป ได้แก่ ธรรมชาติ เป็นเครื่องประกอบภูตรูป มีปฐวี เป็นต้น จริงอยู่ อาโปธาตุควบคุมวัตถุทั้งหลายมีแท่งเหล็กเป็นต้นไว้ แล้วย่อมทำให้ติดกัน ธรรมชาติทั้งหลายมีก้อนเหล็ก เป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า ติดกันอยู่ เพราะความที่อาโปธาตุนั้นเป็นเครื่องเกาะกุมไว้ แม้ในแผ่นหิน ภูเขา ต้นตาล หน่อไม้ งาช้าง และเขาโค เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็อาโปธาตุเท่านั้น เกาะกุมวัตถุเหล่านั้นทั้งหมด กระทำให้ติดกัน ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่า เป็นธรรมชาติติดกัน ก็เพราะถูกอาโปธาตุควบคุมไว้ด้วยเหตุนี้ เมื่อกระทบสัมผัสทีไร ก็จึงเป็นแต่เพียงปฐวี หรือเตโช หรือวาโย แต่ว่าไม่สามารถที่จะกระทบสัมผัสอาโปธาตุ ซึ่งไหลเอิบอาบ ซึมซาบเกาะกุมธาตุที่เกิดร่วมด้วย

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 14 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่สำคัญต้องเข้าใจถูกเห็นถูกจริงๆ ว่า อาโปธาตุ คืออะไร เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นรูปธรรม อย่างหนึ่ง เป็นหนึ่งในมหาภูตรูป ๔ ที่เป็นใหญ่เป็นประธานของรูปทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของรูปใด ก็จะไม่ปราศจากอาโปธาตุเลย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม ความเป็นจริงของอาโปธาตุไม่เคยเปลี่ยน คือ เป็นสภาพธรรมที่เอิบอาบ เกาะกุมรูปให้แนบแน่นไม่กระจัดกระจาย เป็นรูปที่ละเอียด รู้ได้ยาก ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 14 ต.ค. 2556

อาโปธาตุ เป็น ธาตุน้ำ ที่เอิบอาบ อาโปธาตุภายนอก เช่น เลือด ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 14 ต.ค. 2556

ข้อความที่สงสัยข้างต้น อยู่หน้า 202 บรรทัดแรก ของพระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังค์ภาคที่ ๑ ค่ะ

ขอบพระคุณคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 15 ต.ค. 2556

รสก็เป็นรูปที่เอิบอาบอยู่ในทุกส่วนของพืช....เข้าใจว่าอย่างนี้จึงจัดเป็นอาโปธาตุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ทรงศักดิ์
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Suth.
วันที่ 21 ต.ค. 2556

กระผมอ่านทั้งคำถามและคำตอบด้วยความสนใจ แต่ยังไม่เข้าใจ คงเป็นเพราะมีความรู้พื้นฐานเรื่องอาโปธาตุไม่มากเท่าไร จึงใคร่ขอความกรุณาท่านผู้รู้ให้คำอธิบายเพิ่มเติม เรื่องอาโปธาตุ ทุกลักษณะ ทั้งภายในภายนอก (ไม่ทราบใช้คำถ้อยคำถูกต้องหรือไม่)

ขอความกรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ