ศีล 5 ที่เรียงลำดับตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 5

 
papon
วันที่  14 ต.ค. 2556
หมายเลข  23860
อ่าน  3,210

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

ศีล๕ ที่เรียงลำดับตั้งแต่ข้อ ๑ถึง๕ เป็นการจัดเรียงตามความหนักเบาของผู้ถูกเบียดเบียนหรือว่าเป็นการเรียงลำดับตามความหยาบของจิตใจผู้เบียดเบียนครับหรือเป็นในกรณีอื่นครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศีล 5 ที่เรียงไปแต่ละข้อ ไม่ได้แสดงถึงความหนักเบา แต่เป็นเพียง การแสดงพระธรรมโดยนัยเทศนาโวหาร ที่เป้นไปอย่างนั้น ไม่ได้ความหมายเป็นพิเศษ ครับ ศีลเป็นเรื่องปกติจริงๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่าชีวิตประจำวัน เป็นศีลซึ่งไม่พ้นไปจากกาย วาจา ใจของแต่ละบุคคล ในแต่ละวันจิตใจเป็นกุศลหรือเป็นกุศลมากน้อยเท่าใด เมื่อเทียบกันแล้วกุศลย่อมมากกว่า แต่ถ้ามีการล่วงศีล มีการกระทำทุจริตกรรมประการต่างๆ ก็เป็นเครื่องแสดงว่า กิเลสมีกำลังมากทีเดียว ซึ่งทุกคนควรจะได้ทราบและพิจารณาตนเองว่ามีการล่วงศีลข้อใดบ้างในแต่ละวัน

กล่าวคือ มีการฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์ มีการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ มีการประพฤติผิดในบุตร ภรรยาของผู้อื่น มีการดื่มสุราของมึนเมาทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท บ้างหรือไม่ ซึ่งเป็นการพิจารณาตนเองในชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้สำรวมระมัดระวังความประพฤติทางกาย ทางวาจาให้เป็นปกติเรียบร้อยดีงาม โดยงดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น แล้วประพฤติในสิ่งที่ควรประพฤติ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ก็เป็นศีลเช่นเดียวกัน

การเจริญกุศลขั้นศีล เป็นการขัดเกลาจิตใจของตนให้เบาบางจากกิเลส แม้ว่ายังไม่ได้ดับกิเลสหมดเป็นสมุจเฉท (ถอนขึ้นได้อย่างเด็ดขาด) ก็จริง แต่ก็เป็นการอบรมจิตใจให้เบาบาง จากกิเลสกุศล เพราะเหตุว่าถ้าไม่ทราบว่า การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ เป็นต้น เป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่ทำให้สัตว์อื่น บุคคลอื่นเดือดร้อนเป็นทุกข์ ก็อาจจะเกิดความยินดีพอใจในความไม่ดีเหล่านี้ก็เป็นได้ และเมื่อเป็นกิเลส เป็นกุศลธรรม เป็นกุศลกรรม ก็ย่อมเป็นเหตุให้เกิดผลที่ไม่ดี (กุศลวิบาก) ข้างหน้าสำหรับตนเองอีกด้วย เมื่อไม่ทราบอย่างนี้ เจตนาที่จะงดเว้นก็จะไม่มี แต่ถ้าทราบ ก็จะสามารถละคลายให้เบาบาง หรือว่างดเว้นเท่าที่สามารถจะกระทำได้ ซึ่งก็จะเป็นการชำระจิตใจให้เบาบาง ให้บรรเทาจากกิเลสและกุศลได้ในชีวิตประจำวัน จนกว่าจะเป็นผู้มีศีล ๕ ที่บริสุทธิ์ โดยที่ไม่มีการล่วงอีกเลย เมื่ออบรมเจริญปัญญาบรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระโสดาบัน และประการสำคัญที่ควรพิจารณา คือ กว่าที่ศีลจะบริสุทธิ์ได้จริงๆ ก็ต้องมีปัญญา เข้าใจธรรม ตามความเป็นจริง โดยเริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมสะสมปัญญาไปตามลำดับ ครับ

ขอนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ศีล ๕ ประกอบไปด้วย

- การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์
- การงดเว้นจากการถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้
- การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
- การงดเว้นจากการพูดเท็จ
- การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

การรักษาศีล ๕ นั้นเป็นนิจศีล ที่คฤหัสถ์ควรรักษา เพราะถ้ารักษาแล้วก็จะเป็นการให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น อย่างแท้จริง กล่าวคือ

ศีลข้อที่ ๑ การเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นการให้ชีวิต ให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีภัยแก่สัตว์ทั้งหลาย

ศีลข้อที่ ๒ การเว้นจากการลักทรัพย์ ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น

ศีลข้อที่ ๓ การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ชื่อว่าให้ความปลอดภัย แก่บุตรธิดา ภรรยา สามี ของผู้อื่น

ศีลข้อที่ ๔ การเว้นจากการพูดเท็จ ชื่อว่า ให้ความจริงแก่ผู้อื่น และ

ศีลข้อที่ ๕ การเว้นจากการดื่มน้ำเมา ชื่อว่า ให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่สำคัญ

ถ้าเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในเรื่องกรรม ทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม รวมถึง ผลของกรรมทั้งสองฝ่ายด้วย นั้น ก็จะเป็นเครื่องยับยั้ง เป็นปัจจัยให้แต่ละบุคคลไม่ล่วงศีลได้ง่าย ดังนั้น ความเข้าใจสภาพ-ธรรมตามความเป็นจริง จึงเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมทั้งหลายอย่างแท้จริง และเมื่อมีปัญญาคมกล้าสามารถที่จะบรรลุเป็นพระโสดาบัน เมื่อนั้นจึงจะไม่มีการล่วงศีล ๕ อีกเลย ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ศีล 5 เป็นนิจศีลของปุถุชน ควรรักษาเป็นประจำ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 16 ต.ค. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
lovedhamma
วันที่ 2 ก.พ. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ