สงสัยการอธิบายพระธรรม เรื่องผัสสะ เวทนา ขอความกรุณาให้ความชัดเจนด้วย

 
Suth.
วันที่  15 ต.ค. 2556
หมายเลข  23863
อ่าน  1,448

ข้อความที่ผมคัดลอกมานี้ ผมอ่านแล้วเกิดข้อสงสัย (ตามคำถามด้านล่าง)

สวัสดีครับ เพื่อนๆ กัลยาณมิตร

ธรรม ๖ ประการ ที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิด จักขุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย และใจ (มโน)
-จักขุ+รูป วิญญาณจึงรู้ว่าเป็นอะไร -เมื่อวิญญาณรู้ จึงเกิดผัสสะ –ผัสสะกระทบอารมณ์จึงทำให้เกิดเวทนา เวทนาเกิดเกิดตันหา –อุปทานเกิดแล้วเป็นปัจจัยให้กระทำกุศลหรืออกุศล ถ้าอกุศลไปทุกข์ หากกุศลไปนิพาน
----------------------------
...จักขุเห็นสังขารวิญญาณรู้ผัสสะสู่กระทบอารมณ์ไหว ตันหาเกิดเวทนาจึ่งพาไป อุปทานให้ปัจจัยส่งลงตามกรรม
..พุธ ๑๑กันยายน๒๕๕๖

1. "เมื่อวิญญาณรู้จึงเกิดผัสสะ" สงสัยว่าเป็นจริงตามหลักธรรมหรือไม่ ความจริงเป็นอย่างไร ผมอ่านแล้วรู้สึกสับสน ตกลงวิญญาณกับผัสสะเกี่ยวข้องกันอย่างไรครับ

2. "ผัสสะกระทบอารมณ์จึงทำให้เกิดเวทนา" สงสัยว่าตรงตามหลักธรรมหรือไม่ ผม ทราบมาว่าอารมณ์คือสิ่งให้จิตรู้ ผัสสะกระทบอารมณ์ได้หรือไม่

กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. "เมื่อวิญญาณรู้จึงเกิดผัสสะ" สงสัยว่าเป็นจริงตามหลักธรรมหรือไม่ ความจริงเป็นอย่างไร ผมอ่านแล้วรู้สึกสับสน ตกลงวิญญาณกับผัสสะเกี่ยวข้องกันอย่างไรครับ

วิญญาณ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นนามธรรม แปลตามศัพท์ได้ว่า เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้ง (ซึ่งอารมณ์) เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ วิญญาณ กับ จิต เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน มีพยัญชนะหลายประการที่หมายถึงจิต เช่น มนะ หทยะ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ วิญญาณธาตุ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ที่ศึกษาได้เข้าใจถึงลักษณะของจิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่แต่ละบุคคลมีด้วยกันทั้งนั้น (ในชีวิต ไม่ปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว) หนึ่งในนั้น คือ วิญญาณ ดังนั้นจิต กับวิญญาณจึงเป็นธรรมอย่างเดียวกัน ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้น

ผัสสะ เป็นสภาพธรรมที่กระทบ ซึ่งผัสสเจตสิก ก็ต้องเกิดดิร่วมกับจิต คือ เกิดร่วมกับวิญญาณ เพราะฉะนั้น โดยความเป็นจริง ผัสสเจตสิก เมือ่มีการกระทบ ก็มีการเกิดขึ้นของอายตนะ จึงมีการเกิดขึ้นของจิต มีการเกิดขึ้นของวิญญาณ แต่ไม่ใช่มีวิญญาณเกิด จึงมีผัสสะเกิด ครับ โดยสภาพธรรมแล้ว ผัสสะเกิดพร้อมกับจิต ครับ

2. "ผัสสะกระทบอารมณ์จึงทำให้เกิดเวทนา" สงสัยว่าตรงตามหลักธรรมหรือไม่ ผมทราบมาว่าอารมณ์คือสิ่งให้จิตรู้ ผัสสะกระทบอารมณ์ได้หรือไม่

เพราะ อาศัยผัสสะ กระทบ ทำให้เกิดเวทนา อันนี้เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาท ที่เพราะผัสสะเกิดเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้สึก คือ เกิดเวทนาเจตสิกที่เกิดร่วมกันในขณะนั้น เพราะ อาศัยผัสสะก็มีการเกิดขึ้นของจิตประภทต่างๆ และเมื่อมีจิต เวทนา เจตสิกก็เกิดร่วมกับจิตนั้นเสมอ ซึ่งก็แล้วแต่ว่า จิตนั้นจะเป็นประเภทอะไร เวทนาก็เป็นไปตามจิตนั้น อันอาศัยผัสสะเกิด เวทนา ความรู้สึกก็เกิดพร้อมกันในขณะนั้น

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 15 ต.ค. 2556

เรียน อาจารย์ ทั้งสอง ท่าน

กระผมขอเรียนร่วมสนทนาด้วยนะครับ เมื่อเวลาคนมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งขณะที่ใจลอย ตอนนั้นผัสสเจตสิก ยังไม่ทำหน้าที่ทางจักขุทวารใช่หรือไม่อย่างไรครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเข้าใจถูกเห็นถูกเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะธรรม คือ ขณะนี้ เป็นการแสดงถึงสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ตามความเป็นจริง ซึ่งต้องเริ่มที่ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ

ศึกษาไปเรื่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย เพราะก่อนศึกษาพระธรรม ย่อมเข้าใจวิญญาณ ผิดไป ย่อมเข้าใจ ผัสสะ ผิดไป จนกว่าจะได้ฟังความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ตามความเป็นจริงของนามธรรมที่เกิดขึ้น ได้แก่ จิต (และเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วย) [จิต กับวิญญาณ เป็นสภาพธรรมอย่างเดียวกัน คือเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์เท่านั้น แต่ที่จิตหลากหลาย ก็เป็นเพราะเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วยบ้าง หลากหลายเพราะอารมณ์บ้าง เป็นต้น] จิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย จิตขณะหนึ่งดับไปเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น แต่จะไม่มีจิตเกิดพร้อมกัน ๒-๓ ขณะ ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้นนั้น จะต้องมีเจตสิกธรรมเกิดร่วมด้วยตามควรแก่จิตประเภทนั้น แต่จะไม่ปราศจากผัสสะ (สภาพธรรมที่กระทบอารมณ์) ไม่ปราศจากเวทนา (สภาพธรรมที่รู้สึก) เลย และยังมีเจตสิกธรรมประการอื่นๆ ด้วย นี้คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม ที่ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์อะไร ผัสสะ ก็รู้อารมณ์นั้น เวทนา ก็รู้อารมณ์นั้น ตามกิจหน้าที่ของตนๆ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 15 ต.ค. 2556

เรียนความเห็นที่ 3 ครับ

ขณะที่เหม่อใจลอย เป็นโมหมูลจิต ขณะนั้นก็มีผัสสเจตสิก เกิดร่วมด้วยทำหน้าที่แล้วในขณะนั้น แต่เกิดทางใจ โดยมากซึ่งผัสสเจตสิกสามารถเกิดได้ทางจักขุทวารได้ ขณะที่เกิดโมหะ ทางจักขุทวารมีปรมัต คือ สี เป็นอารมณ์ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Suth.
วันที่ 15 ต.ค. 2556

ขอบพระคุณท่านผู้ตอบทุกท่านอย่างสูงและขอบคุณท่านที่ร่วมสนทนา

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 16 ต.ค. 2556

ขอขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ