แยกรูป-นาม.

 
kajeerat
วันที่  26 ต.ค. 2556
หมายเลข  23920
อ่าน  1,182

พอมีความเข้าใจลักษณะของรูปธรรม ว่าคือสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย นามธรรมคือสภาพรู้ ดิฉันไม่เข้าใจตรง ผู้ที่สามารถรู้สภาพธรรมของรูปธรรม-นามธรรม ผู้นั้นยังรู้สึก น้อยใจ ดีใจ เสียใจ ยินดี อยู่รึปล่าวค่ะ การที่เราพอเข้าใจ แต่เหมือนว่าเราก็ยังที่จะแยกอารมณ์ต่างๆ นั้นออกไปไม่ได้ ขอความรู้ความเข้าใจด้วยค่ะ

กราบขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การเจริญสติปํฏฐานที่รู้ลักษระของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม ก็คือการรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไป ทั้งนามธรรม ที่เป็นกุศล อกุศล จิต เจตสิก ความรู้สึก สุข ทุกข์ น้อยใจ เสียใจ และแม้อกุศลที่เกิดขึ้นก็รู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีปัญญา อบรมสติปัฏฐาน ก็ยังเกิดความรู้สึกเสียใจ ดีใจ เกิดอกุศลได้ แม้แต่พระโสดาบัน ผู้ที่ดับความเห็นผิดหมดแล้ว ก็ประจักษ์ว่า เป็นแต่เพียงนามธรรม รูปธรรมเท่านั้น ก็ยังมีความรู้สึกดีใจ เสียใจ ได้เป็นธรรรมดา เพราะเวทนาเจตสิกเกิดกับ จิตทุกประเภท และ พระโสดาบัน ก็ยังมีโลภะ ความติดข้อง แต่ท่านก็อบรมปัญญา ได้รู้ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมที่กำลังเกิดว่าเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา แม้พระอรหันต์ดับกิเลสหมดแล้ว ก็เกิคดวามรู้สึกโสมนัส เกิดความรู้สึกเฉยๆ ได้เป็นธรรมดา ครับ

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หนทางการอบรมปัญญา ที่รู้ความจริงของสภาพธรรม ก็เป็นผู้มีปกติอบรมสติปัฏฐานเกิดความรู้สึกเสียใจ อกุศลได้ แต่ ปัญญาก็สามารถเกิดรู้ความจริงได้ และ ถึงการบรรลุธรรมได้ ดั่งเช่น ท่านพระปฏาจาราเถรี เมื่อสูญเสียทุกสิ่ง เสียใจเป็นอย่างมาก แต่ได้ฟังธรรม เกิดปัญญาก็บรรลุธรรมได้ ครับ หนทางที่ถูกต้อง คือ การไม่ใช่จะบังคับไม่ให้สภาพธรรมใดเกิด แต่ เป็นการเข้าใจสภาพธรรมทีเกิดแล้วว่เป็นธรรม และ บังคับไม่ได้เลย ควรอบรมเหตุ คือ การฟังศึกษาพระธรรมต่อไป ปัญญาจะเกิดทำหน้าที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมเอง เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม ครับ แต่เมื่อใดที่จะทำ เมื่อนั้นก็ผิดทางทันที

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 26 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงๆ ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวัน มีธรรมอยู่ตลอดไม่ว่าจะหลับหรือตื่น ไม่ว่าเป็นในขณะใดก็ตาม ก็คือ ธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม จนกว่าจะได้เริ่มฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เข้าใจจริงๆ ธรรม มี ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ สภาพธรรมที่เป็นนามธรรม (จิต เจตสิก และพระนิพพาน) ความรู้สึกประการต่างๆ ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ เฉยๆ ก็คือนามธรรม ในส่วนที่เป็นเจตสิกธรรม ที่จะต้องเกิดกับจิต ตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ และสภาพธรรมอีกประเภทหนึ่งคือ รูปธรรม เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แต่ไม่รู้อะไรเลย เช่น สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้นในขั้นแรก ไม่ใช่การแยกรูปแยกนาม แต่ต้องเริ่มที่สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ก่อน ไม่ขาดการฟังพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ เพราะปัญญาจะมากได้ เจริญขึ้นมากได้ ก็มาจากการสะสมไปทีละเล็กทีละน้อย สิ่งที่มีจริง สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ เมื่อมีความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้น ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 26 ต.ค. 2556

ปัญญาไม่ได้เกิดตลอดเวลา ขณะที่ปัญญาเกิดก็ไม่เสียใจ ขณะที่ปัญญาดับแล้ว ก็เกิดเสียใจ เป็นอกุศลได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เฉลิมพร
วันที่ 23 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ