การรับรู้อารมณ์ทางมโนทวาร
หนังสือของท่านอาจารย์ สุจินตฺ์ หน้า 281 เมื่อวิถีจิตต่างๆ เกิดขึ้นรู้อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งทางทวารหนึ่งทวารใดในห้าทวารดับไปแล้ว และภวังคจิตเกิด คั่นหลายขณะแล้ว จิตก็เกิดรู้อารมณ์ทางนั้นต่อทางมโนทวารทุกครั้ง ขอเรียนถามดังนี้ครับ "เมื่อวิถีจิตต่างๆ เกิดขึ้นรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทางทวารหนึ่ง ทวารใดในห้าทวารดับไปแล้ว" ดับไปในที่นี้หมายความว่า จนจบ 17 ขณะจิต ถึงสิ้นตลาลัมพนะจิตใช่ไหมครับ แล้วจึงเกิดรู้อารมณ์ทางนั้นต่อทางมโนทวาร (ที่มี 12 ขณะจิตใช่ไหมครับ) กราบขอบพระคุณมากครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
การศึกษาพระธรรม ก็ต้องค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ไปทีละเล็กทีละน้อย และประการที่สำคัญ จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรมก็เพื่อ เข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจ แม้ จะกล่าวถึง ภวังคจิต ก็ดี วิถีจิตก็ดี ก็คือ สภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งถ้าไม่ได้ฟัง ไม่ได้ ศึกษาจะไม่สามารถเข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริงได้เลย
ทุกขณะของชีวิต ก็คือ การเกิดดับสืบต่อกันของจิตแต่ละขณะๆ เป็นไปอย่างไม่ ขาดสาย จิต เมื่อจำแนก เป็นประเภทใหญ่ๆ แล้ว มี ๒ ประเภท คือ จิตที่เป็น วิถีจิต กับ จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต ซึ่งก็ต้องกล่าวถึงความหมายของจิต ๒ ประเภทนี้ เป็นเบื้องต้นก่อนว่าวิถีจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยอาศัยทวารหนึ่งทวารใดใน ๖ ทวาร (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ) ในการรู้แจ้งอารมณ์
สำหรับทางปัญจทวาร เมื่อภวังคจิตดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้วิถีจิตทางตาเกิดขึ้น
วิถีจิตที่ ๑ คือ อาวัชชนวิถี ได้แก่ จักขุทวารวัชชนจิต เกิดขึ้นทำกิจรำพึงคือรู้ว่า มีอารมณ์กระทบกับจักขุปสาทะ
วิถีจิตที่ ๒ คือ จักขุวิญญาณ เกิดขึ้นทำกิจเห็นซึ่งอารมณ์คือสี
วิถีจิตที่ ๓ คือ สัมปฏิจฉันนจิตเกิดขึ้นทำกิจรับอารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ
วิถีจิตที่ ๔ คือ สันตีรณจิต พิจารณาอารมณ์
วิถีจิตที่ ๕ คือ โวฏฐัพพนจิต ทำกิจตัดสินอารมณ์ หมายความว่าเป็นจิตที่กระทำ ทางให้กุศลจิต หรืออกุศลจิตหรือกิริยาจิต (เฉพาะพระอรหันต์) เกิดต่อ
วิถีจิตที่ ๖ คือ ชวนวิถีจิต โดยศัพท์ “ชวนะ” แปลว่า แล่นไป คือ ไปอย่างเร็วใน อารมณ์ด้วยกุศลจิตหรืออกุศลจิตหรือกิริยาจิต (เฉพาะพระอรหันต์)
วิถีจิตที่ ๗ คือ ตทาลัมพนวิถี หรือตทารัมมณวิถี ตทาลัมพนวิถีจิตเกิดขึ้นกระทำ กิจรับรู้อารมณ์ต่อจากชวนวิถีจิต เมื่ออารมณ์นั้นยังไม่ดับไป และเมื่อ ตทาลัมพณจิตดับไป ก็เป็นปัจจัยให้เกิด ภวังคจิต ที่เป็นภวังคจรนะ และ ภวังคุปเฉทะ และ เกิดวิภีจิตทางมโนทวาร คือ ทั้งหมด ๑๐ ขณะ ตั้งแต่มโนทวา ราวัชชนจิต ๑ ชวนจิต ๗ ตทาลัมพณจิต ๒ (ถ้าเป็นอัปปนาวิถี จะมีวิถีจิตไม่ ถึง ๑๐ ขณะ และถ้าเป็นขณะที่เข้าสมาบัติ จะมีวิถีจิตมากจนนับไม่ได้) ครับ
อนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ทุกขณะ ไม่เคยขาดจิตเลย แต่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจว่าเป็นธรรม จนกว่าจะได้เริ่มฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง จิตเกิดดับสืบต่อกันเป็นลำดับด้วยดี ไม่สับ ลำดับกัน ตามความเป็นจริงของจิต ซึ่งจะไม่เกิดพร้อมกัน ๒ - ๓ ขณะ เมื่อวิถีจิต ทาง ๕ ทวาร ทวารหนึ่งทวารใดๆ เกิดขึ้นแล้วดับไป ภวังคจิตเกิดคั่น แล้ววิถีจิต ทางใจก็เกิดสืบต่อ ตามความเป็นไปของจิต ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่มีรูปร่างเลย ยากที่จะเข้าใจ แต่เริ่มสะสม ความเข้าใจถูกเห็นถูกตั้งแต่ในขณะนี้ได้ เป็นการสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ว่ามีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ไม่มีเราเลย
ประโยชน์สูงสุดของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาใน ชีวิตประจำวันเพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก เพื่อละคลายความไม่รู้ ละคลายความ เห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนและ เพื่อขัดเกลากิเลสของตนเองเป็น สำคัญ บุคคลผู้ที่ตั้งใจศึกษาด้วยความละเอียดรอบคอบ ย่อมจะได้ประโยชน์จาก พระธรรม ธรรมเป็นเรื่องยาก จึงต้องตั้งใจฟังตั้งใจศึกษา ความรู้ความเข้าใจจึง จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปตามลำดับ ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...