ได้โปรดชี้แนะด้วย
อยากทราบว่า จะเกิดสติปัฏฐานเมื่อไร ทั้งๆ ที่เราปฏิบัติดีแล้ว
ได้โปรดชี้แนะด้วย
สติปัฏฐาน เป็นมหากุศลที่ประกอบด้วยปัญญา มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์
สติปัฏฐาน เป็นอนัตตา จะบังคับให้เกิดขึ้นตามความต้องการไม่ได้ แต่จะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยที่เหมาะสม คือ การศึกษาพระธรรมที่ถูกต้อง และมีความเข้าใจ
ในปรมัตถธรรมพอสมควร เป็นผู้มั่นคงในเหตุผลตามความเป็นจริง มีสัญญา อันมั่นคงในปรมัตถธรรมว่า ทั้งหมดที่กำลังปรากฏเป็นเพียงนามธรรมและ รูปธรรม
คุณ hoklok
ดิฉันเองก็พื้นฐานน้อย คงบอกได้แต่เพียงว่า ถ้าเหตุปัจจัยของคุณถึงพร้อมเมื่อไร ก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนที่เคยเกิดกับดิฉัน เราไม่สามารถไปบังคับ อ้อนวอน เร่งรัด หรืออยาก เพื่อขอให้เกิดขึ้น หรือไม่ให้เกิดขึ้นได้เลย ธรรมเป็นอนัตตาจริงๆ ขอให้ คุณมั่นคง และเจริญในธรรมต่อไปไม่ท้อถอยนะคะ
สำหรับผม ผมขอแนะนำว่า เป็นธรรมชาติของคนทุกคนที่เริ่มศึกษา สนใจและเริ่มเข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่ามีค่ามากมาย และน่าจะเป็นหนทางที่จะลด "ปัญหา" ของเราได้ เมื่อถึงจุดนี้ เราจะอยากจะได้ อยากจะรู้ อยากจะไปให้ถึง เรียกว่าอยากจะได้ทางตรง ทางลัด ผมเองก็เป็นเช่นนั้น ดิ้นรน ค้นหา แต่เมื่อมาฟังอาจารย์สุจินต์ ท่านตอกย้ำว่า พระพุทธองค์ ผู้เป็นมหาบุรุษของโลก พระองค์ใช้เวลา 4 อสงไขย 100,000 กัปป์ นานเท่าใดก็นับไม่ได้ กว่าจะประจักษ์เรียกว่า ตรัสรู้ และ แสดงธรรมให้เราได้รู้
ดังนั้น อาจารย์บอกว่า ค่อยๆ เรียนรู้ ฟัง อ่าน และทำความเข้าใจอยู่บนความจริง ด้วยอาการที่ไม่ได้ "อยาก" แต่เพื่อเจริญ ปัญญา เพื่อ "ละ" คำว่า "ละ" แปลว่าละจาก "อวิชชา" อวิชชา คือ ความเข้าใจผิดว่าเป็นตัวตน คน สัตว์สิ่งของ และถือเอาว่าเป็น "เรา" มานานหลายกัปป์ หลายกัลป์มาแล้วดังนั้น สู้ตั้งหน้าตั้งตา เรียนรู้ ฟัง อ่านและค่อยๆ สังเกต "ธรรมะ" ที่ปรากฏแล้วทุกอย่าง แล้วค่อยๆ กระจ่างๆ ทีละนิดๆ
ผมเคยหัดว่ายน้ำ ผมอยากจะว่ายให้เก่งทันทีที่ลงน้ำ แต่ครูสอนก็ทำให้ผมไม่ได้ ในที่สุด ผมค่อยๆ ๆ ๆ ฝึกไปเรื่อยๆ ในที่สุดทุกวันนี้ ผมว่ายน้ำได้ และว่ายวันละ 1 ชั่วโมงโดยไม่เหนื่อย นะครับ ค่อยๆ นะครับ อย่าลืมว่า สติ ปัญญา เป็นธรรมะ ที่ค่อยๆ เจริญ ไม่ได้เหมือนเราแต่งตัวจะได้เสร็จได้เลย ใจเย็นๆ นะครับ
เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นนะคะ แต่ขอให้มีความเข้าใจจนเป็นสัจจญาณก่อน แล้วกิจญาณ (เมื่อสติปัฏฐานเกิด) จะมีได้เมื่อเหตุนั้นสมควรแก่ผล ควรศึกษาธรรมเพื่อความ เข้าใจอย่างเดียว ความเข้าใจนี่แหละค่ะ คือ ปัญญา ที่จะสะสมเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับการจับด้ามมีดที่ ค่อยๆ สึกไปที่ละน้อย ทีละน้อย