จิตของเด็กทารก

 
vasaya
วันที่  30 ต.ค. 2556
หมายเลข  23941
อ่าน  2,380

อยากทราบว่าจิตของเด็กทารกแรกเกิด (1-2เดือน) ขณะยิ้มและหัวเราะเป็นอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันจริงๆ มีธรรมอยู่ทุกขณะ มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอด แต่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ จนกว่าจะได้มีโอกาสฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด ว่ามีแต่ธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นเป็นไป ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ เท่านั้น ทารก ก็ไม่พ้นจากการเกิดขึ้นของจิต เจตสิก ขณะที่ ทารก ยิ้ม หัวเราะก็เพราะอาศัยจิตที่เป็นโลภมูลจิต หรือ ยิ้มด้วยโลภะ หรือ ด้วยกุศลจิตก็ได้ ครับ ซึ่ง ไม่ต่างจากจิตของผู้ใหญ่ ครับ

ขอยกคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ เรื่องยิ้ม หัวเราะ ดังนี้ เรื่องการยิ้ม หรือการหัวเราะ ๖ อย่าง จากข้อความในคัมภีร์สุโพธาลังกา ฉบับมหาจุฬาลงกรณ์ ซึ่งมีข้อความว่า ลักษณะของการเบิกบานใจ และมีอาการแย้มยิ้มเกิดขึ้นปรากฏ จะทำให้เพิ่มความเบิกบานและการแย้มยิ้มขึ้น ตามลำดับ คือ

สิตะ การแย้มยิ้มที่มีนัยน์ตาชื่นบาน นัยน์ตาสดชื่นแจ่มใสด้วยความดีใจ แต่ว่ายังไม่มีการที่จะยิ้มมากๆ เลย นั่นก็เป็นลักษณะของการยิ้มด้วยตา เป็นสิตะ ต่อไปคือ หสิตะ การแย้มยิ้มนั้น ก็เพิ่มขึ้นอีกด้วยกำลังของความดีใจ ความอิ่มใจหรือความปลื้มใจ ทำให้เกิดการแย้มยิ้มเพียงเห็นฟันปรากฏนิดๆ หน่อยๆ อันนี้ก็เป็นลักษณะซึ่งเบิกบานขึ้นต่อจากนั้นก็เป็น วิหสิตะ เมื่อมีความปีติที่มีกำลังขึ้นอีก ก็เป็นการหัวเราะเบาๆ ที่มีเสียงไพเราะ เสียงหัวเราะก็ย่อมฟังดีกว่าเสียงร้องไห้ เพราะฉะนั้น เวลาที่มีการหัวเราะเบาๆ ก็เป็นวิหสิตะ แต่เมื่อกำลังเพิ่มขึ้นอีก ก็เป็นอุปหสิตะ การหัวเราะที่มีไหล่และศีรษะหวั่นไหว เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นการหัวเราะก็ต้องมีเสียงดังขึ้นอีก ใช่ไหมคะ เวลาที่หัวเราะจนไหล่และศีรษะหวั่นไหว ถ้าเป็นการสนุกสนานมากยิ่งกว่านั้นอีก ก็เป็นอวหสิตะ หัวเราะซึ่งมีน้ำตาไหล บางคนยั้งไม่อยู่เลย เวลาหัวเราะ หัวเราะมากจนน้ำตาไหลจริงๆ นั่นก็เป็นอวหสิตะ ถ้ามากยิ่งกว่านั้นอีก คือ อติหสิตะ หัวเราะจนอวัยวะโยกโคลง บางคนก็ถึงกับล้มกลิ้งไปกลิ้งมา

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้เมีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเข้าใจในสิ่งที่มีจริงๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งสิ่่งที่มีจริงๆ นั้น เป็นธรรมมีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ธรรมไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย ชีวิตของแต่ละคน แต่ละขณะ ก็ไม่พ้นไปจากธรรมเลย มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปโดยตลอด ขณะแรกในชาตินี้ก็เริ่มมาตั้งแต่ขณะที่ปฏิสนธิแล้ว ก็สืบต่อมาเรื่อยๆ จนถึงขณะนี้ และจะต้องเป็นไปต่อไป เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่า เด็ก ก็คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม ที่เป็นจิต เจตสิก และรูป เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ยิ้มหรือหัวเราะ ก็คือ ความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรม จิต กับ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็เป็นอกุศลจิต ที่ประกอบด้วยโลภะ และประกอบด้วยโสมนัสเวทนา กล่าวได้ว่า มีเหตุให้ยิ้มหรือหัวเราะ ก็ยิ้มหรือหัวเราะ เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 30 ต.ค. 2556

จิตของเด็กทารก ก็มีทั้งกุศล อกุศล วิบาก กิริยา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
vasaya
วันที่ 30 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ อยากทราบว่าในขณะที่ชวนจิตในวิถีจิตที่เกิดขึ้นเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม จิตรู้บัญญัติหรือยังคะ ถ้ายังไม่รู้ เกิดจากการตัดสินของวิบากที่สะสมมาใช่มั้ยคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
vasaya
วันที่ 30 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ จิตก็คือจิต มีลักษณะและกิจเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใดก็ตามใช่ไหมคะ แม้กระทั่งเด็กที่ยังไม่รู้บัญญัติก็ตาม ยังสามารถดีใจเสียใจร้องไห้ เจ็บปวดตามธรรมที่เกิดขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 30 ต.ค. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 30 ต.ค. 2556
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 23941 ความคิดเห็นที่ 4 โดย vasaya

ขออนุโมทนาค่ะ อยากทราบว่าในขณะที่ชวนจิตในวิถีจิตที่เกิดขึ้นเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม จิตรู้บัญญัติหรือยังคะ ถ้ายังไม่รู้ เกิดจากการตัดสินของวิบากที่สะสมมาใช่มั้ยคะ

กุศลจิต และ อกุศลจิตเกิดได้ทั้งทางปัญจทวาร คือ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่มีรูปเป็นอารมณ์ ยังไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็ได้ เพียงเห็นสี แล้วก็ติดข้อง ยังไม่มีบัญญัติเป็นอารมณ์เลย และ กุศลจิต อกุศล ก็เกิด ทางมโนทวารที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ด้วยก็ได้ ครับ เช่น เห็นเป็นคนนั้น คนนี้แล้วก็ชอบ หรือ ไม่ชอบ ครับ ดังนั้น แม้ไม่รู้ว่าเป็นอะไร มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ก็มีการตัดสิน ก่อนที่จะเกิด ชวนจิตเป็นกุศล อกุศล ตามการสะสมมาได้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
paderm
วันที่ 30 ต.ค. 2556
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 23941 ความคิดเห็นที่ 5 โดย vasaya

ขออนุโมทนาค่ะ จิตก็คือจิต มีลักษณะและกิจเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปใด ก็ตามใช่ไหมคะ แม้กระทั่งเด็กที่ยังไม่รู้บัญญัติก็ตาม ยังสามารถดีใจเสียใจร้องไห้ เจ็บปวดตามธรรมที่เกิดขึ้น

ถูกต้อง ครับ จิตก็คือ จิต ทำหน้าที่รู้อารมณ์เท่านั้น แม้แต่เด็กทารก ที่ยังไม่รู้เรื่องทางโลกมาก เพราะ ไม่ได้มีสัญญาความทรงจำ ในโลกปัจจุบันนี้เท่าไหร่ ที่จะรู้คำ สมมติ บัญญัติว่าเป็นอะไร แต่ก็มีจิต และ ก็เกิดอกุศลจิต ความกลัว เสียใจ ร้องไห้ได้ เช่น เมื่อเห็นรูปไม่ดี แม้จะไม่ได้บัญัติเลยว่า สิ่งนี้ ชื่ออะไร ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
vasaya
วันที่ 31 ต.ค. 2556

ขอบคุณค่ะ ขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
vasaya
วันที่ 31 ต.ค. 2556

แม้ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ก็เกิดการตัดสินเป็นกุศล อกุศล ก่อนชวนะจะเกิดแล้ว ตามที่สะสมมา ดังนั้นทางเดียวก็คือ การสะสมปัญญา เหมือนใส่ข้อมูลที่ดีเข้าไป เพื่อให้ออกผลเป็นกุศลใช่ไหมคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 31 ต.ค. 2556

ถูกต้อง ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Vareesa
วันที่ 31 ต.ค. 2556

จิตของทารกนั้น ก็ยังต้องมีทั้งกุศล,อกุศล,วิบาก และ กิริยา เหมือนกับคนทั่วไปเช่นกันค่ะ จึงสามารถดีใจ เสียใจ และร้องไห้ได้เช่นกันค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ