วิบากกรรมกับความเห็นผิด

 
papon
วันที่  31 ต.ค. 2556
หมายเลข  23950
อ่าน  1,388

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

การไม่เชื่อเรื่องผลของกรรมเป็นการเห็นผิด แต่การไม่ทราบว่าเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นวิบากกรรมเป็นความเห็นผิดหรือไม่ครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 31 ต.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงของสภาพธรรม เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ใครๆ ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ถ้าจะกล่าวอย่างกว้างๆ แล้ว ความเห็น เป็นธรรมที่มีจริง ถ้าเห็นถูกเข้าใจถูกเป็นปัญญา หรือ สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุให้กุศลธรรมทั้งหลายเจริญขึ้น อกุศลธรรมเสื่อมไป แต่ถ้าเป็นความเห็นผิดแล้ว ไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ อกุศลธรรมทั้งหลาย มีแต่จะเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น สืบเนื่องมาจากความเห็นผิด ดังนั้น เรื่องของความเห็น จึงมี ๒ ประเภท ดังที่กล่าวมาถ้ามีความเห็นถูก กายวาจา ใจ ย่อมเป็นไปในทางที่ถูกด้วย ก็จะเป็นหนทางนำไปสู่ สุคติ คือ มนุษย์ภูมิและสวรรค์ และสามารถทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดับกิเลสตามลำดับขั้นด้วย แต่ถ้ามีความเห็นผิด กาย วาจา และ ใจ ย่อมเป็นไปในทางที่ผิด ทุกอย่างผิดไปหมด ผลที่จะเกิดขึ้นคือ เป็นเหตุให้เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก อันเป็นผลที่เผ็ดร้อน ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เป็นอย่างยิ่ง

จากประเด็นคำถาม ความเห็นที่ไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ นั้น เป็นความเห็นผิดอย่างแน่นอน แล้วจะเกิดอะไรตามมา ถ้ามีความเห็นผิดอย่างนี้ ก็ไม่พ้นไปจากการไม่สะสมสิ่งที่ดี และกระทำแต่สิ่งที่ไม่ดี เป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ อันเนื่องมาจากความเห็นผิด และเวลาที่อกุศลกรรม ให้ผล ก็ให้ผลเป็นผลที่ไม่ดีเท่านั้น

ส่วนประเด็นเรื่องของการไม่ทราบว่าเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส เป็นวิบาก นั้น เป็นความเห็นผิดหรือไม่ น่าพิจารณาทีเดียว เพราะในขณะที่ไม่รู้ธรรมตามความเป็นจริงนั้น เป็นอวิชชาหรือโมหะ ไม่รู้ตามความเป็นจริงของธรรม เกิดเมื่อใด ก็ไม่รู้อะไรเลย ทั้งนั้น ก่อนการศึกษาพระธรรม ก็ไม่รู้อะไรทั้งนั้น โมหะ เป็นธรรมคนละประเภทกันกับความเห็นผิด เพราะขณะใดที่ความเห็นผิด เกิดขึ้น ก็จะเห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นเรา เป็นสัตว์เป็นบุคคล ตลอดจนถึงเห็นว่าทานไม่มีผลบุญบาป ไม่มี เป็นต้น ล้วนเป็นความเห็นผิด ทั้งนั้น ในขณะที่ความเห็นผิดเกิดขึ้นจะต้องมีอวิชชาหรือโมหะเกิดร่วมด้วยทุกครั้ง เพราะเหตุว่าอวิชชาเกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกประเภท เพราะมีความไม่รู้จึงเป็นเหตุให้เกิดความเห็นผิดและเกิดอกุศลธรรมประการอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน

การที่จะค่อยๆ เพิ่มพูนความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น ขัดเกลาละคลายความเห็นผิดความไม่รู้และอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็เพราะอาศัยการศึกษา การฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง บ่อยๆ เนืองๆ เป็นปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ขาดการฟังพระ ธรรม ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 1 พ.ย. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

การชี้ทางใช้เห็นหนทางที่ถูกว่าทางไหน ไปสู่อริยสัจจธรรม เป็นการแนะนำที่ถูกต้อง ส่วนผู้ถูกแนะนำจะเดินไปหรือไม่นั้น เป็นการสะสมบุญของเขาเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บุคคลที่เราแนะนำ เป็นบุพการีของกระผมเอง ในสภาวะที่มีแต่กิเลสเต็มไปหมด และรายล้อมด้วยคำสอนที่ไม่ถูกต้อง กระผมไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร ขออาจารย์กรุณาชี้แนะด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 1 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เรียนร่วมสนทนาในคำถามจากกระทู้ ครับ

ความเห็นผิด เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี ที่เป็น ทิฏฐิเจตสิก ขณะใดทีเกิดความเห็นผิดตามความเป็นจริง เช่น เห็นผิดว่ามีสัตว์ บุคคล เห็นผิด ว่าเที่ยง เป็นสุข เห็นผิดว่า กรรมไม่มี ผลของกรรมไม่มี เห็นผิดว่าตายแล้วไม่เกิดอีก เป็นต้น เหล่านี้ ก็เป็นความเห็นผิดทีเกิดขึ้น ซึ่ง ขณะที่เห็นผิด เป็นเจตสิก คือ ทิฏฐิเจตสิกจะต้องเกิดร่วมกับอกุศลจิต

ส่วนวิบากจิต ก็คือ ขณะที่เป็นผลของกรรม ซึ่ง วิบากจิตในชีวิตประจำวัน เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้กระทบสัมผัส ซึ่ง เมื่อกล่าวว่า ขณะที่ไม่ทราบว่า เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส เป็นความเห็นผิดหรือไม่ ก็ต้องพิจารณาให้ละเอียดครับ เพราะขณะที่ไม่รู้ความจริง แต่ไม่จำเป็นจะต้องมีความเห็นผิดก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่ให้ทาน ขณะนั้น ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรม แต่ ก็เป็นกุศลจิต ไม่มีความเห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นสัตว์บุคคล ไม่ได้เห็นผิด ที่ปฏฺิเสธ กรรมและผลของกรรมและขณะที่เป็นกุศลจิต ก็ไม่มี ทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วย จึงไม่ได้มีความเห็นผิด แม้ในขณะที่ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม และแม้ในขณะที่โกรธ ที่เป็นโทสะ ความเห็นผิดเกิดกับ โลภมูลจิตเท่านั้น เพราะฉะนั้น ขณะที่โกรธ ก็ไม่รู้ลักษณะที่เห็น ได้ยินว่าเป็นแต่เพียงธรรม เพราะเป็นอกุศลอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เพราะเพียงโกรธ ไม่ได้เห็นผิด รวมความว่า ขณะที่เห็นผิด จะต้องเกิดความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง การไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม ขณะที่เป็นกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ขณะที่ติดข้อง ที่เป็นโลภะทั่วไป ขณะที่โกรธ เป็นต้น ก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นแต่เพียงธรรม ในขณะที่เห็น แต่ ก็ไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย ครับ นี่คือความละเอียดของพระธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ลักษณะของประเภทของสภาพธรรมที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละขณะจิต ครับ

เรียนเพิ่มเติมในความเห็นที่ 2 ครับ

พระธรรม ความเห็นถูก ไม่สาธารณะกับทุกคน เราสามารถแนะนำให้ผู็อื่นเข้าใจได้ตามความสามารถของตน ถือว่าทำเต็มที่แล้ว แต่การจะเกิดความเห็นถูก ก็เป็นเรื่องของบุคคลนั้น ดั่งเช่นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ทรงเป็นเพียงผู้บอกทาง ส่วนเขาจะเดินทางถูกหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องของบุคคลนั้น ควรที่จะเข้าใจด้วยความไม่คาดหวัง เพราะผู้ที่จะเสียประโยชน์เอง คือ ผู้ที่หวัง ครับ ธรรมเป็นอนัตตา ขอให้ตนเองทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ส่วนผลจะอย่างไรนั้น ก็เป็นแต่ธรรมที่จะเกิดขึ้นเป็นไปในอนาคต ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
orawan.c
วันที่ 1 พ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 1 พ.ย. 2556

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 2 พ.ย. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
papon
วันที่ 2 พ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
papon
วันที่ 2 พ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ