อยากทราบความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิระดับต่าง ๆ กับฌาณ

 
Suth.
วันที่  9 พ.ย. 2556
หมายเลข  23992
อ่าน  2,661

เคยทราบมาว่า มีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ และ ฌาณมี 4 (หรือ 5 ตามนัยอภิธรรม) อยากทราบว่า สมาธิขั้นต่างๆ สัมพันธ์กับฌาณอย่างไรหรือไม่ เช่น ฌาณระดับใดตรงกับสมาธิประเภทใด เป็นต้น

ขอความกรุณาด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอเรียนว่าเวลากล่าวถึงสมาธิขั้นต่างๆ ที่เป็นกุศล คือความสงบของจิต มี ๓ ระดับ คือ ขณะที่จิตเป็นกุศลในชีวิตประจำวัน เช่น ทาน ศีล ฟังธรรม สมาธิที่เกิดร่วมด้วยในขณะนั้นเป็นขณิกสมาธิ สำหรับผู้อบรมเจริญสมถภาวนาจิตสงบจากนิวรณ์ใกล้ถึงฌาน เรียกว่า อุปจารสมาธิ ขณะที่จิตสงบแนบแน่ เป็นฌานขั้นต่างๆ ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้น เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ดังนั้นความสัมพันธ์ของสมาธิขั้นต่างๆ ย่อมเป็นไปตามลำดับ เบี้องต้น ต้องมีกุศลสมาธิขั้นขณิกสมาธิก่อน เมื่อสั่งสมมากขึ้นเป็นอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิตามลำดับ และฌานขั้นต่างๆ ก็คืออัปปนาสมาธิครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ฌาน คือสภาพธรรมที่เพ่ง หรือ เผา ธรรมฝ่ายตรงกันข้าม ดังนั้นฌานจึงมีทั้งที่เป็นฝ่ายกุศล ที่เป็นการเพ่งหรือเผา ธรรมที่เป็นข้าศึกคือกิเลสในขณะนั้นที่เป็น นิวรณ์ เป็นต้น โดยนัยตรงกันข้าม ฌานที่เป็นอกุศลก็มี ซึ่งขณะนั้นก็เผา กุศล คุณความดี เพราะเป็นอกุศลในขณะนั้นครับ ดังนั้นธรรมเป็นเรื่องละเอียด เมื่อไม่ศึกษา หรือฟังให้เข้าใจก็สำคัญสิ่งที่ทำ คิดว่าเป็นฌานแล้วจะต้องเป็นกุศล ซึ่งไม่เสมอไปหากเริ่มจากความเข้าใจผิดครับ

สมาธิ เป็นความตั้งมั่น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ทุกขณะที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีสมาธิเกิดร่วมด้วย สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก เกิดกับจิตทุกดวง มีความเสมอกันกับจิตที่เกิดร่วมด้วย เป็นไปได้ทั้งกุศล อกุศล วิบาก และกิริยา ตามประเภทของจิตนั้นๆ ซึ่ง สมาธิก็มีระดับความตั้งมั่นของสมาธิเช่นกัน ซึ่ง ขณิกสมาธิ คือ ขณะที่จิตตั้งมั่นเพียงชั่วขณะจิต แต่เมื่อมีความตั้งมั่นที่มีกำลัง ก็จะเพิ่มเป็นอุปจารสมาธิ และ เมื่อถึงความแนบแน่นก็ถึงความเป็นอัปนาสมาธิ ซึ่งความเกี่ยวข้องในเรื่องของสมาธิ กับ ฌาน สี่ คือ สมาธินั้นจะต้องเป็นสัมมาสมาธิเท่านั้นที่เกิดจากการเจริญสมถภาวนา และ สมาธินั้น ไม่ใช่เพียงแค่ ขณิกสมาธิ แต่จะต้องถึง อัปนาสมาธิ ถึงความแนบแน่นในกุศล จึงจะถึงปฐมฌาน ซึ่ง ฌานก็แบ่งเป็นระดับต่างๆ ตามกำลังของกุศลที่เกิดขึ้น ครับ

ขออนุโทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สมาธิเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ทั้งที่เป็นขณิกสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่เป็นไปชั่วขณะ หมายถึง เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เป็นไปตามปกติของบุคคลทั่วไป เช่น ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สัมผัส ขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอน ตามปกติก็มีขณิกสมาธิเกิดร่วมด้วย เอกัคคตาเจตสิกหรือสภาพธรรมที่เป็นสมาธินั้น เกิดกับจิตทุกดวง แต่ถ้าอบรมจิตให้มีกำลังจนสงบจากกิเลสมากขึ้น เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับปัญญา จึงได้ชื่อว่า อุปจารสมาธิ และเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับฌานจิตชื่อว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าไม่มีความเข้าใจถูกแล้ว ไม่สามารถอบรมเจริญสมถภาวนา จนได้ฌานขั้นต่างๆ ได้เลย ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 10 พ.ย. 2556

ฌาน คือ สภาพธรรมที่เพ่งหรือเผา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Rodngoen
วันที่ 12 พ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
BudCoP
วันที่ 12 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่โลกุตรฌาน

สวัสดีครับทุกท่าน ขอร่วมสนทนาด้วยคนครับ

อัปปนาฌานทุกขั้น ต้องผ่านฌาน 3 ครับ คือ เมื่อพัฒนาขณิก เป็นอุปจาร และพัฒนาอุปจาร เป็นอัปปนาได้ การได้ตัวอัปปนาฌานนั่นแหละ คือ การได้ฌานที่นำไปเกิดในพรหมโลกได้

พูดอย่างง่าย คือ เอามารวมกัน เช่นนี้:

ขณิกปฐมฌานสมาธิ, อุปจารปฐมฌานสมาธิ, อัปปนาปฐมฌานสมาธิ
ขณิกทุติยฌานสมาธิ, อุปจารทุติยฌานสมาธิ, อัปปนาทุติยฌานสมาธิ

เป็นต้น แจกจนครบ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Suth.
วันที่ 14 มิ.ย. 2557

ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์และทุกท่านที่ตอบและแสดงความเห็น ผมเข้ามาอ่านคำตอบช้าด้วยเหตุส่วนตัว ขออภัยด้วย

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ