ถัาเลือกได้ ควรอยู่ในสถานที่สงบถูกต้องไหมคะ

 
kajeerat
วันที่  13 พ.ย. 2556
หมายเลข  24025
อ่าน  1,167

ชีวิตประจำวันจะอยู่ 2 ที่ค่ะ ในที่ที่ต้องทำงาน มีคนวุ่นวาย จะหลงลืมสติ สติสัมปชัญญะไม่เกิด และเกิดความเบื่อหน่าย มีความเป็นตัวตนสูง ในขณะที่อยู่ที่บ้านพักส่วนตัว จะอยู่กับการฟังพระธรรมตลอดเวลาที่ว่าง การอยู่ลำพังจะมีส่วนช่วยให้ดีขึ้นหลายๆ ด้าน ถ้าการที่จะหลีกเลี่ยงความวุ่นวายเมื่อมีโอกาสทำได้ เรากำลังหนีความจริง ใช่หรือไม่คะแต่ยังทำงานปกติค่ะ ขอความรู้จากท่านอาจารย์ทุกท่านค่ะ

กราบอนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 14 พ.ย. 2556

ขอเชิญสมาชิกทุกท่านร่วมกันสนทนาครับ

ส่วนตัวผมคิดว่า ถ้าจะพิจารณาโดยนัยของพระธรรมคำสอน หลายๆ พระสูตร มีว่าถ้าอยู่ที่ใดแล้วอกุศลเจริญ กุศลเสื่อม ในที่นั้นไม่ควรอยู่ ในที่ใดอยู่แล้ว กุศลเจริญขึ้น อกุศลเสื่อมไป ในที่นั้นควรอยู่ และเรื่องสัปปายะก็ทรงแสดงไว้ ว่า มีที่อยู่เป็นสัปปายะ ไม่เป็นสัปปายะ บุคคลสัปปายะ เป็นต้น ดังนั้น ที่กล่าวว่าเป็นการหนีความจริง หรือไม่ ก็มีข้อคิดว่า เป็นความจริงแบบไหน เพราะทุกๆ ที่ ทุกขณะ ก็เป็นเป็นความจริงทั้งนั้น

สรุปว่า คงแล้วแต่บุคคล โอกาส ความเหมาะสม ไม่มีรูปแบบตายตัวสำหรับทุกคนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 14 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ควรเข้าใจครับว่า การบรรลุธรรม คือ การบรรลุ รู้ความจริงของสภาพธรรมที่มีจริง ในขณะนี้ด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นสภาพธรรมที่ทำให้บรรลุธรรมได้ ปัญญาเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ปัญญาสามารถเกิดได้ โดยไม่เลือกสถานที่ ว่าจะต้องเป็นในป่า ในที่เงียบสงัด หรือ ในเมือง เพราะในความเป็นจริง ทั้งในป่าในที่เงียบ สงัด และในเมือง ไม่มีความแตกต่างกันเลย เพราะก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริง ที่กำลังมี เห็นก็มี ได้ยินก็มี ได้กลิ่นก็มี ลิ้มรสก็มี คิดนึกก็มี ไม่ว่าจะในป่า ในที่เงียบสงัด และ ในเมืองล้วนแล้วแต่มีสภาพธรรม ที่ปัญญาจะต้องรู้ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา

ปัญญาที่จะถึงการบรรลุธรรม คือ จะต้องมีการปฏิบัติธรรม อะไรไปฏิบัติ ปัญญานั่นเองที่ปฏิบัติหน้าที่รู้ความจริง ปัญญารู้อะไรก็รู้สภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฎว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ในป่า หรือ ในเมือง ก็ไม่ต่างกัน ตรงที่ต่างก็มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฎให้รู้ หากแต่ว่า หากอยู่ในสำนักปฏิบัติในที่เงียบสงัด มีในป่า เป็นต้น แต่ไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ เพราะการบรรลุธรรมไม่ใช่อยู่ที่สถานที่เงียบสงัด เพราะใจไม่สงัดจากอกุศลเลย แม้อยู่ในที่เงียบแต่ใจก็หวั่นไหวไปแล้วในอกุศลทีเกิดขึ้น คิดถึงเพื่อน คิดถึงญาติ คิดเรื่องอื่นๆ ได้ แม้อยู่ในป่า เพราะฉะนั้นอกุศล ก็เกิดได้แม้อยู่ในที่เงียบสงัด ดังนั้น หากขาดปัญญาเสียแล้ว อยู่ที่ไหน อย่างไร ก็ไม่สามารถบรรลุธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ups
วันที่ 14 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาจารย์ประเชิญ กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ดีแล้ว ปัญหาอยู่ที่ความเป็นเรายังมีความต้องการ ความติดข้องที่จะสงบ ยังไม่เข้าใจความเป็นจริง ชีวิตประจำวัน มีตั้งแต่หลับจนตื่น เพราะยังดำรงชีวิตอยู่ ถ้าความต้องการน้อยลงก็ไม่ได้หมายความว่าเข้าใจ ธรรม ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม หรือเป็นผู้สนทนาธรรมมากมายเป็นคำเป็นเรื่องราวต่างๆ ก็กลายเป็นบ่นเพ้อ ธรรม ไปในขณะนั้น ไม่ต้องกล่าว เรื่อง สติปัฎฐาน เพราะยิ่งศึกษาซึ่งไม่ใช่การศึกษาที่แท้จริง เป็นเพียงอ่านหรือฟังเรื่องราว จึงไม่ใช่การศึกษาที่แท้จริง เพราะด้วยความเป็นเรา เหตุ ที่สะสมไว้มากมาย จนไม่สามารถนับได้ ผล ก็ต้องเกิดขึ้นมากมายเช่นกัน แต่ก็ยังมีกุศลที่ได้ฟังพระธรรม ที่ถูกต้องจาก ท่านอาจารย์สุจินต์ ผมก็เคยเรียนท่านอาจารย์สุจินต์ ว่าเบื่อเหลือเกิน ท่านอาจารย์ตอบว่า ท่าน (พระโพธิสัตว์) ไม่เบื่อยิ่งกว่าเราหรือ (ผมจบเลย)

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
kajeerat
วันที่ 14 พ.ย. 2556

กราบอนุโมทนาในความกรุณา. ท่านอาจารย์ทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 14 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จะอยู่ที่ไหนก็ไม่พ้นไปจากธรรม มีธรรมเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอด และที่น่าพิจารณาคือ อกุศลเกิดขึ้นเป็นไปมากอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ดังนั้นจึงสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจถูกเห็นถูกที่เริ่มจากการฟังพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อมีความเข้าใจถูกเห็นถูกแล้วก็มีปัญญาเป็นที่พึ่ง จากที่เคยมากไปด้วยอกุศลก็มีกุศลจิตเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นได้ คล้อยตามความเข้าใจที่ค่อยๆ เจริญขึ้นได้ หรือ แม้อกุศลเกิด ปัญญาก็สามารถรู้ตามความเป็นจริงได้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 15 พ.ย. 2556

ไม่ว่าจะอยู่ลำพัง หรือ อยู่ในคนหมู่มาก ถ้าไม่มีปัญญา อยู่ที่ไหนใจก็ไม่สงบ สำคัญที่สุดคือการมีปัญญา เพราะปกติชีวิตส่วนมากเป็นไปกับอกุศล ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
majweerasak
วันที่ 15 พ.ย. 2556

ขอร่วมแสดงความเห็นด้วยครับ

ควร อยู่ในสถานที่ ที่เกื้อกูลให้กุศลธรรมเจริญขึ้น
แต่ ตามความเป็นจริงแล้ว เลือกไม่ได้ ไม่มีใครเลือกได้ ถ้าคิดว่าเลือกได้ก็น่าจะเป็นความเห็นที่ยังไม่ถูกต้อง เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pamali
วันที่ 15 พ.ย. 2556

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 15 พ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
papon
วันที่ 22 พ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
สัมมาทิฏฐิ
วันที่ 23 พ.ย. 2556

การรู้สภาพความจริงที่กำลังปรากฏด้วยปัญญา เกิดได้ทุกที่ แต่ปัจจัยคือสภาวะแวดล้อม ก็มีส่วนต่อการรู้นั้น ก็เมื่อต้องอยู่กับชีวิตประจำวันที่วุ่นวาย ผู้ที่กำลังศึกษามีปัญญาแตกต่างกันในหลายระดับ จึงมองหาสถานที่ๆ คิดว่าเอื้อต่อการรู้สภาพจริงที่กำลังปรากฏ จึงมีเรื่องสัปปายะที่ทรงแสดงไว้ เมื่อเหตุปัจจัยพร้อม สัปปายะก็จะเกิดกับผู้นั้นเอง เมื่อรู้ว่าอยู่ที่ทำงานมีคนวุ่นวาย หลงลืมสติ อย่างน้อยก็ยังดีที่รู้ ดังนั้นเพิ่มความเพียร เพื่อรู้ ให้เร็วขึ้นแม้อยู่ในที่วุ่นวาย โดยไม่ต้องโหยหาที่เงียบสงบ ไม่ใช้เพราะเราเลือกได้หรือไม่ได้ เหตุปัจจัยต่างหากเป็นตัวจัดสรร ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Thanks
วันที่ 23 พ.ย. 2556

ผมคิดว่าสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมเช่น บุคคลในสถานที่นั้น ก็มีผลกระทบนะครับ อย่างเช่น สถานที่อโคจร เปิดแต่เพลง มีแต่มหรสพ มีแต่คนชักชวนให้เพลิดเพลินอกุศล

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Thanks
วันที่ 23 พ.ย. 2556

ส่วนคนที่กล่าวว่า การหลบหลีกจากสถานที่อโคจรหรือการไม่สมาคมมิตรเทียม เป็นการหนีความจริง ผมคิดว่าคนที่พูดแบบนี้ ยังไม่ละเอียดพอ ยังไม่แยบคายพอ แต่ละคนมีความแตกต่างกัน ตามสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นสาระหากเขาเห็นอกุศลและเรื่องราวเป็นสาระ เห็นบุคคล,ตัวตนเป็นสัจจะเขาก็จะชักชวนเราให้ยอมรับสิ่งนั้นตามเขา เช่น เห็นอกุศลมีค่า เห็นว่าเป็นสัจจะ เห็นว่ามีตัวตน เห็นว่าเป็นของตนก็จะตำหนิว่าหนีความจริง (ที่เขาคิดว่าจริง) หรือดูหมิ่นในใจ เมื่อสนทนากับคนที่เห็นตรงกันข้ามกับตนเอง

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ