บุคคลผู้เป็นบัณฑิต
[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 283
คาถาธรรมบท
บัณฑิตวรรค๑ที่ ๖
ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต
[๑๖] ๑. บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว
นิคคหะชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้
พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต เพราะว่า
เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี
โทษที่ลามก.
๒. ผู้ใดพึงว่ากล่าว พึงสอน และพึงห้ามจาก
ธรรมของอสัตบุรุษ ผู้นั้นแล ย่อมเป็นที่รักของ
สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ.
๓. บุคคลไม่ควรคบบาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษ
ต่ำช้า ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด.
๔. บุคคลผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อม
อยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า
ประกาศแล้วทุกเมื่อ.
๕. อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ ช่างศร
ทั้งหลายย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้
บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน.
๑. วรรคที่ ๖ มีอรรกถา ๑๑ เรื่อง.
๖. ภูเขาศิลาล้วน เป็นแท่งเดียว ย่อมไม่
สะเทือนด้วยลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่
เอนเอียงในเพราะนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.
๗. บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส
เหมือนห้วงน้ำลึก ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวฉะนั้น.
๘. สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเว้นในธรรมทั้งปวงแล
สัตบุรุษทั้งหลาย หาใช่ผู้ปรารถนากามบ่นไม่
บัณฑิตทั้งหลาย อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว
ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง.
๙. บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งตน
ย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น บัณฑิตไม่
พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนาทรัพย์ ไม่พึง
ปรารถนาแว่นแคว้น (และ) ไม่พึงปรารถนาความ
สำเร็จเพื่อตนโดยไม่เป็นธรรม บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้
มีศีล มีปัญญา ตั้งอยู่ในธรรม.
๑๐. บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย
ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว ก็ชน
เหล่าใดแล ประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่เรา
กล่าวชอบแล้ว ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยาก
อย่างเอกแล้วจักถึงฝั่ง.
๑๑. บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย
อาศัยธรรม อันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว
ละกามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล พึงปรารถนา
ความยินดียิ่งในวิเวก อันเป็นที่ซึ่งประชายินดีได้ยาก
บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมอง
ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้ว โดยชอบ ในองค์ธรรม
แห่งความตรัสรู้ (และ) ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น
ยินดีในการละ เลิกความถือมั่น ชนเหล่านั้น ฯ
เป็นพระขีณาสพ รุ่งเรื่อง ดับสนิทแล้วในโลก.
จบบัณฑิตวรรคที่๖
__