มุสาวาท

 
PEERAPAT65
วันที่  19 พ.ย. 2556
หมายเลข  24041
อ่าน  2,111

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

ข้อความบางตอน...

ในคำว่า มุสาวาทํ ปหาย นี้ คำว่า มุสา ได้แก่วจีประโยค หรือ

กายประโยค ที่ทำลายประโยชน์ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อน.

ก็เจตนาอันให้เกิดกายประโยคและวจีประโยค ซึ่งพูดให้ผู้อื่นคลาดเคลื่อน

ของบุคคลผู้มุ่งจะกล่าวให้คลาดเคลื่อนนั้น ด้วยประสงค์จะกล่าวให้คลาดเคลื่อน

ชื่อว่า มุสาวาท.

อีกนัยหนึ่ง คำว่า มุสา ได้แก่เรื่องที่ไม่เป็นจริง ไม่แท้. คำว่า วาท

ได้แก่กิริยาที่ทำให้เขาเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง

ไม่แท้นั้นว่า เป็นเรื่องจริง เรื่องแท้.

ว่าโดยลักษณะ เจตนาที่ให้เกิดวิญญัติอย่างนั้น ของผู้

ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่แท้ว่าเป็นเรื่องแท้ ชื่อว่า มุสาวาท.

มุสาวาทนั้น มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นน้อย

มีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ทำลายนั้นมาก.

อีกอย่างหนึ่ง สำหรับพวกคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยว่า

ไม่มี เป็นต้น เพราะประสงค์จะไม่ให้ของของตนมีโทษน้อย

ที่เป็นพยานกล่าวเพื่อทำลายประโยชน์ มีโทษมาก.

สำหรับพวกบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปโดยนัยแห่งการพูดว่าเป็นของบริบูรณ์

เช่นว่า วันนี้น้ำมันในบ้านไหลเหมือนแม่น้ำเป็นต้น ด้วยประสงค์จะหัวเราะ

เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสมาน้อย มีโทษน้อย

แต่เมื่อพูดถึงสิ่งที่ไม่เห็นเลย โดยนัยว่า เห็นแล้ว เป็นต้น มีโทษมาก.

 

มุสาวาทนั้น มีองค์ ๔ คือ

๑. อตถํ วตฺถุํ เรื่องไม่แท้

๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อน

๓. ตชฺโช วายาโม ความพยายามเกิดจากจิตคิดจะพูดให้คลาดเคลื่อนนั้น

๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ คนอื่นรู้เรื่องนั้น.

มุสาวาทนั้นมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยค. มุสาวาทนั้นพึง

เห็นด้วยการใช้กายบ้าง ใช้ของที่เนื่องด้วยกายบ้าง ใช้วาจาบ้าง กระทำ

กิริยาหลอกลวงผู้อื่น. ถ้าผู้อื่นเข้าใจความนั้น ด้วยกิริยานั้น ผู้นี้ย่อม

ผูกพันด้วยกรรม คือ มุสาวาทในขณะที่คิดจะให้เกิดกิริยาทีเดียว.

ก็เพราะเหตุที่บุคคลสั่งว่า ท่านจงพูดเรื่องนี้แก่ผู้นี้ ดังนี้ก็มี เขียนหนังสือแล้ว

โยนไปตรงหน้าก็มี เขียนติดไว้ที่ฝาเรือน เป็นต้น ให้รู้ว่า เนื้อความพึงรู้อย่างนี้

ดังนี้ ก็มีโดยทำนองที่หลอกลวงผู้อื่น ด้วยกาย ของเนื่องด้วย

กายและวาจา ฉะนั้น แม้อาณัตติกประโยค นิสสัคคิยประโยค และถาวรประโยค

ก็ย่อมควรในมุสาวาทนี้. แต่เพราะประโยคทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้มาในอรรถกถาทั้งหลาย

จึงต้องพิจารณาก่อนแล้วพึงถือเอา.ชื่อว่า สัจจวาที เพราะพูดแต่คำจริง.

ชื่อว่า สจฺจสนฺโธ เพราะเชื่อม คือ สืบต่อคำสัตย์ด้วยคำสัตย์ อธิบายว่า

ไม่พูดมุสาในระหว่างๆ .จริงอยู่ บุรุษใดพูดมุสาแม้ในกาลบางครั้ง

พูดคำสัตย์ในกาลบางคราวไม่เอาคำสัตย์สืบต่อคำสัตย์

เพราะบุรุษนั้นเอามุสาวาทคั่นไว้ ฉะนั้น บุรุษนั้นไม่ชื่อว่า ดำรงคำสัตย์

แต่พระสมณโคดมนี้ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่พูดมุสาแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

เอาคำสัตย์เชื่อมคำสัตย์อย่างเดียว เหตุนั้นจึงชื่อว่า

สัจจสันโธ.

บทว่า เถโต ความว่า เป็นผู้มั่งคั่ง อธิบายว่า มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน.

บุคคลหนึ่งเป็นคนมีถ้อยคำไม่เป็นหลักฐานเหมือนย้อมด้วยขมิ้น

เหมือนหลักไม้ที่ปักไว้ในกองแกลบ และเหมือนฟักเขียวที่วางไว้บนหลังม้า.

คนหนึ่งมีถ้อยคำเป็นหลักฐาน เหมือนรอยจารึกบนแผ่นหินและ เหมือนเสาเขื่อน

แม้เมื่อเขาเอาดาบตัดศีรษะ ก็ไม่ยอมพูดเป็นสอง บุคคลนี้เรียกว่า

เถตะ.

บทว่า ปจฺจยิโก ความว่า เป็นผู้ควรยึดถือ อธิบายว่า เป็นผู้ควรเชื่อถือ.

ก็บุคคลบางคนไม่เป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด?

คนโน้นพูดหรือ? ย่อมจะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า ท่านทั้งหลายอย่าเชื่อ

คำของคนนั้น บางคนเป็นคนควรเชื่อ เมื่อถูกถามว่า คำนี้ใครพูด คนโน้นพูดหรือ?

ถ้าเขาพูด ก็จะถึงความเป็นผู้ควรตอบว่า คำนี้เท่านั้นเป็นประมาณ

บัดนี้ ไม่ต้องพิจารณาก็ได้ คำนี้เป็นอย่างนี้แหละ ผู้นี้เรียกว่า

ปัจจยิกะ.

บทว่า อวิสํวาทโก โลกสฺส ความว่า ไม่พูดลวงโลก เพราะ

ความเป็นผู้พูดคำจริงนั้น.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ