จุติจิตและปฏิสนธิจิตคือจิตประเภทไหนที่ทำหน้าที่

 
เบน
วันที่  28 พ.ย. 2549
หมายเลข  2409
อ่าน  2,040

จุติจิต ปฏิสนธิจิต เป็นจิตประเภทเดียวกันไหม ถ้าการเกิดเป็นคนเกิดด้วยมหากุศลดวงใดดวงหนึ่ง แสดงว่าจุติจิตและปฏิสนธิจิตก็คือมหากุศลดวงที่นำเกิดใช่หรือไม่ ขอความกรุณาช่วยอธิบายละเอียดด้วย

ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 28 พ.ย. 2549

จุติจิต ปฏิสนธิจิต เป็นจิตประเภทเดียวกัน คือ เป็นจิตชาติวิบาก การเกิดเป็น มนุษย์เป็นผลของมหากุศลดวงใดดวงหนึ่ง คือ มหาวิบากหรืออเหตุกกุศลวิบาก สันตีรณก็ได้เมื่อปฏิสนธิ คือ เกิดขึ้นด้วยวิบากจิตประเภทใด ย่อมจุติด้วย วิบากจิตประเภทนั้น สรุป คือ มหากุศลเป็นจิตชาติกุศล เป็นจิตประเภทเหตุ ทำกิจปฏิสนธิหรือจุติไม่ได้ผลของมหากุศล คือ มหาวิบาก เป็นต้น ย่อมทำกิจ ปฏิสนธิและจุติได้

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Guest
วันที่ 28 พ.ย. 2549

อนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Sam
วันที่ 29 พ.ย. 2549

ข้อความจากหนังสือ ปรมัตถธรรมสังเขป ของท่านอาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ระบุถึง จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ภวังค์ และจุติ เป็นจิตชาติวิบาก ๑๙ ดวง คือ กามาวจร วิบากจิต ๑๐ ดวง รูปาวจรวิบากจิต ๕ ดวง และอรูปาวจรวิบาจิต ๔ ดวงครับ และ มีข้อความว่า “เมื่อวิบาก จิตประเภทใดทำปฏิสนธิกิจ วิบากจิตประเภทเดียวกันนั้น เองก็ทำภวังคกิจและจุติกิจ”

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เบน
วันที่ 29 พ.ย. 2549

ในชาตินี้ปฏิสนธิ เป็นคนแล้ว ก็ทำหน้าที่ภวังค์ ต่อเมื่อมีเหตุให้จุติเกิดคือตาย ขอเรียนถามว่า จุติจิตมีอะไร เป็นปัจจัยให้เกิด ในเมื่อจุติจิตมีอารมณ์ของชาติก่อน เมื่อจุติจิตเกิดปฏิสนธิเกิดทันที่โดยไม่มีระหว่างคั่น เหมือนจุติจิตถูกกำหนดไว้แล้ว ว่าต้องเป็นแบบนี้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
saowanee.n
วันที่ 29 พ.ย. 2549

จุติจิตเป็นชาติวิบากใช่มั้ยค่ะ จุติจิตจึงเป็นวิปากปัจจัย ทำกิจเคลื่อนจากภพชาติคือ ความเป็นบุคคลนั้น (หมดกรรมที่จะให้ผลเป็นบุคคลนั้นๆ อีกต่อไป) เมื่อจุติดับไป แล้ว ปฏิสนธิจิตต้องเกิดสืบต่อทันทีสำหรับผู้ที่ยังมีกิเลส โดยความเป็นอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย จะเป็นจิตดวงอื่นไม่ได้ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เบน
วันที่ 30 พ.ย. 2549

ขอเรียนถามว่าวิปากปัจจัยหมายถึงอะไร อย่างไรถึงเป็นวิปากปัจจัย วิบากจะเป็นผล ให้เกิดวิบากได้อย่างไร

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
devout
วันที่ 30 พ.ย. 2549

วิปากปัจจัย หมายถึง วิบากจิตและวิบากเจตสิกที่เกิดร่วมกัน และต่างก็เป็นปัจจัยแก่ กันและกัน ทำกิจรับรู้อารมณ์ต่างๆ ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ เพื่อรับผลของกรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล จึงหมายถึงนามขันธ์ ๔ เท่านั้น ซึ่งเป็นสภาพรู้ วิบากจึงเป็นการรับผลของกรรมเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่เหตุ แต่เหตุ คือ กรรมที่ได้กระทำแล้วโดยมีเจตนาเป็นกรรมปัจจัย เมื่อจุติจิตดับไปแล้ว ปฏิสนธิจิต (ซึ่งเป็นชาติวิบาก) เกิดสืบต่อทันทีเพราะยังมีเหตุ คือ กิเลสที่ยังไม่ได้ดับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
sci
วันที่ 4 ธ.ค. 2549

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
กลมวิเชียร
วันที่ 8 ธ.ค. 2549

อยากให้อธิบาย ว่า อะไร คือ จิต เอาแบบสั้นๆ ง่ายๆ นะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
saowanee.n
วันที่ 8 ธ.ค. 2549

จิตเป็นสภาพรู้ (สั้นและง่ายที่สุด) เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เมื่อเกิดขึ้นต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด คือ รู้สิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งที่จิตรู้เรียกว่า อารมณ์ ของจิต

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ม.ค. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ