อาบัติ ข้อปกิณณกะ

 
PATAEK
วันที่  27 พ.ย. 2556
หมายเลข  24093
อ่าน  2,098

เรียนถามครับ

เมื่อหลายปีก่อนผมเคยบวชตามประเพณีและด้วยความโง่ไม่ศึกษาพระวินัยให้มากจึงทำผิดโดยไม่รู้ตัวแต่พอระยะหลังมาศึกษาธรรมะรู้ว่าตัวเองทำผิดพระวินัย เช่น ยื่นฉี่ในห้องน้ำ จึงขอเรียนถามผมควรทำอย่างไรครับ ทุกวันนี้พยายามรักษาศีล เจริญสมาธิ และปัญญา แต่ยังเป็นกังวลเรื่องที่เคยทำสมัยบวชอยู่ครับ จึงขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 27 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สำหรัพระภิกษุที่ต้องอาบัติ ที่ไม่ถึงสังฆาทิเสส และปาราชิก หากรู้ว่าตนต้องอาบัติแล้ว ก็สามารถปลงอาบัติได้ กับพระภิกษุด้วยกัน ซึ่งก็สามารถแก้ไขได้ แม้จะผ่านไปเป็นเวลานานแล้วก็ตาม ครับ ก็จะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์อีกครั้ง ประโยชน์ของพระวินัยบัญญัติ จึงเป็นไปเพื่อละขัดเกลากิเลสทั้งหยาบและละเอียด และเห็นโทษของกิเลส และที่สำคัญที่สุด เมื่อรู้ว่าผิดแล้ว ก็แก้ไขด้วยวิธีที่ถูกต้อง มีการปลงอาบัติ ก็เป็นการสำรวมในวินัยของพระอริยเจ้าที่ถูกต้องครับ ไม่มีใคร ไม่เคยทำผิด แต่เมื่อทำผิดแล้ว เห็นโทษโดยความเป็นโทษแก้ไข และสำรวมระวังต่อไป ย่อมเป็นบัณฑิตได้ในที่สุด ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
PATAEK
วันที่ 27 พ.ย. 2556

เรียนถามเพิ่มครับ ตอนนี้ผมสึกออกมาแล้ว สามารถปลงอาบัติกับพระสงฆ์ไหมครับ
ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 27 พ.ย. 2556

ถ้าสึกออกมาแล้ว ไม่สามารถไปปลงอาบัติได้ แต่ ไม่ต้องห่วงครับ เมือ่สึกออกมาแล้วอาบัติที่เคยล่วงไป ย่อมไม่กลับมา และไม่เป็นโทษกับเพศคฤหัสถ์ นอกเสียจากกลับไปบวชใหม่ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
PATAEK
วันที่ 27 พ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 27 พ.ย. 2556

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 27 พ.ย. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระวินัยบัญญัติแต่ละสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง เพื่อให้พระภิกษุได้สำรวมระวัง ไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทนั้นๆ อันจะเป็นไปเพื่อฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส ถ้าไม่ได้ศึกษา พระธรรมวินัยให้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะล่วงละเมิดสิกขาบท ก็ย่อมจะมีได้มาก ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาบัติหนักหรือเบา ถ้าไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว ย่อมมีโทษแก่ภิกษุรูปนั้น เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรคผล นิพพาน และถ้ามรณภาพในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า แต่ถ้าได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เป็นเครื่องกั้น เมื่อลาสิกขาแล้ว ย่อมไม่มีอาบัติอีกต่อไป สามารถเป็นคนดี ในเพศคฤหัสถ์ได้ โดยไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องอาบัติเพราะเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติ ไม่ใช่เพศบรรพชิต อีกต่อไป ก็ควรที่จะเป็นคนดี ควบคู่ไปกับการฟังพระธรรมให้เข้าใจ ครับ ...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wannee.s
วันที่ 27 พ.ย. 2556

อาบัติเล็กน้อย แก้ไขได้ เช่น เคี้ยวอาหารเสียงดัง ก็บอกโทษของตนเอง กับ พระภิกษุว่าทำไม่ดียังไง ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 29 พ.ย. 2556

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 8 เม.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ