เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติที่จะมาถึง...

 
devout
วันที่  29 พ.ย. 2549
หมายเลข  2411
อ่าน  2,131

บิดาเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตในทางโลก แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ให้กำเนิดชีวิต ในทางธรรม เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติที่จะมาถึง ขอเชิญทุกท่านร่วมส่งข้อความ เพื่อเป็นการน้อมระลึกถึงพระคุณของบุพการีกันนะคะ

พระคุณพ่อ เปรียบด้วย พสุธา

พระคุณแม่ เปรียบนภา แผ่นกว้าง

มหาสมุทร เปรียบด้วย คุณอาจารย์ท่าน

ดินฟ้ามหาสมุทรอ้าง เปรียบด้วย "พุทธคุณ"


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
yupa
วันที่ 29 พ.ย. 2549

พระคุณพ่อ พระคุณแม่ เปรียบเสมือน พระอรหันต์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
อ.บรรหาญ
วันที่ 29 พ.ย. 2549

พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก สมาชิกใหม่ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เต้ย
วันที่ 29 พ.ย. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Guest
วันที่ 29 พ.ย. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
กมลพร
วันที่ 29 พ.ย. 2549

บิดา มารดา เปรียบเป็นพรหมของบุตร คือ เป็นผู้มีความเมตตาและปรารถนาดีต่อ บุตรอย่างบริสุทธิ์ใจ เช่น เดียวกับพระพรหมที่มีความเมตตาต่อสัตว์โลก ไม่มีคุณพ่อ ฤา จะมีเราได้ในวันนี้ วันที่เราได้มีโอกาสเกิดเป็นมนุษย์ที่มีโอกาสสร้างคุณความดี สร้างกุศลกรรมเก็บสะสมไว้ เพื่อความหมดทุกข์ในวันข้างหน้า แม้จะอีกแสนนาน การทดแทนคุณบิดาที่ได้ชื่อว่าเป็นการทดแทนที่ประเสริฐที่สุดคือ การทำไห้ท่านลดละกิเลสลงได้

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
prachern.s
วันที่ 30 พ.ย. 2549

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

มารดาบิดา ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ เป็นอาหุเนยยบุคคลของบุตร เป็นผู้อนุเคราะห์ บุตรเพราะ ฉะนั้น บัณฑิตพึงนอบน้อม และพึงสักการะมารดาบิดานั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำและล้างเท้า เพราะการปรนนิบัติมารดาบิดานั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาละโลกไปแล้ว ยังบรรเทิงในสวรรค์.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เจตสิก
วันที่ 30 พ.ย. 2549

[เล่มที่ 16] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

[๑๙๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจักเลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑ จักปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑ เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornchai.s
วันที่ 30 พ.ย. 2549

แม้จะทำการปกปิดทิศเบื้องหน้า (ตอบแทนมารดา บิดา) ได้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดง แต่เราสามารถทำประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ให้แด่ท่าน ตามกำลังของเราก็ได้ นะครับ ดีกว่าไม่ทำเสียเลย

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
pornpaon
วันที่ 30 พ.ย. 2549

อนุโมทนาค่ะ

ในฐานะของผู้ที่เกิดมาเป็นลูกท่านขึ้นชื่อว่าเกิดมาดี (ได้มนุษย์สมบัติ) ท่านขึ้นชื่อว่าได้การบำรุงดี (ได้มีบิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิดคอยดูแลให้เป็นสุขทั้งกายใจ) ท่านขึ้นชื่อว่าได้การอบรมดี (ได้มีครูอาจารย์อบรมสั่งสอน แนะนำชี้ทางที่ถูกและเหมาะควร) ผู้เป็นลูกคนใดได้ครองสมบัติเหล่านี้แม้เพียงหนึ่งข้อ ควรเป็นผู้รู้จักกตัญญูผู้เป็นลูกพึงรู้เสมอว่าเมื่อผู้เป็นบิดามารดา ได้ บุตร ธิดาดี บิดามารดา แม้อยู่ที่แห่งใดย่อมนั่งนอนเป็นสุขเมื่อผู้เป็นครู อาจารย์ ได้ ลูกศิษย์ดี ครู อาจารย์ ย่อมไม่มีห่วงพะวงในผู้เปรียบดั่งลูก เมื่อสังคมทั้งหลายเหล่าใด ได้ลูกหลานเป็นคนดี สังคมทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมคงแต่สันติสุข สบายใจ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
supin.s
วันที่ 1 ธ.ค. 2549

[เล่มที่ 62] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

โสณนันทชาดก

ฯลฯ

"มารดาเมื่อหวังผลคือบุตร ย่อมนอบน้อมเทพดา ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย เมื่อมารดาอาบแล้ว ในเพราะฤดู สัตว์เกิดในครรภ์ย่อมก้าวลง ด้วยเหตุนั้น มารดา ท่านจึงเรียกว่า 'โทหฬินี (หญิงแพ้ท้อง) ,' ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า 'สุหทา (หญิงมีใจดี) .' มารดานั้น ถนอม (ครรภ์) ปีหนึ่งหรือหย่อนปีหนึ่งแล้ว จึงคลอด ด้วยเหตุนั้นๆ ท่านจึงเรียกว่า 'ชนยนฺตี ชเนตฺตี (ผู้ยังบุตรให้เกิด) .' มารดาปลอบโยนบุตรผู้ร้องไห้ด้วยน้ำนม ด้วยเพลงขับ และด้วยเครื่องกกคืออวัยวะ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า 'โตเสนฺตี (ผู้ยังบุตรให้ยินดีหรือ ปลอบโยน) .' แต่นั้น เมื่อลมและแดดแรงกล้ามารดาทำความหวั่นใจ คอยแลดูบุตรผู้ยังเป็นทารก ไม่เดียงสา, ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า โปเสนฺตี (ผู้เลี้ยง) ทรัพย์ของมารดาอันใดมีอยู่ และทรัพย์ของบิดาอันใดมีอยู่ มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้ทั้ง ๒ นั้นไว้เพื่อบุตรนั่น ด้วยหวังว่า เออก็ทรัพย์ทั้งหมดนี้ ควรเป็นของบุตรเรา.' มารดาเมื่อให้บุตรสำเหนียกว่า 'อย่างนี้ลูก อย่างโน้นลูกเป็นต้น ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้ เมื่อบุตรถึงความเป็นหนุ่มแล้ว มารดารู้ว่า บุตรมัวเมาในภริยาของผู้อื่น ในเวลาค่ำคืน ไม่กลับมาในเวลาเย็น ย่อมเดือดร้อน ด้วยประการฉะนี้

บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในมารดาย่อมเข้าถึงนรก บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาแล้วด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก เราได้สดับมาว่าเพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดาแม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ ย่อมฉิบหาย หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดา ความรื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ ทาน การให้ ๑ ปิยวาจา เจรจาคำน่ารัก ๑ อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑ สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควรในที่นั้นๆ ๑
ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 16 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ