รูปนิมิต หมายความว่าอย่างไรครับ

 
papon
วันที่  4 ธ.ค. 2556
หมายเลข  24123
อ่าน  2,388

เรียน ท่านอาจารย์ทั้งสองท่าน

ท่านอาจารย์บรรยายในพระอภิธรรมพื้นฐานตอนที่ ๒๑๑ เกี่ยวกับรูปนิมิต กับวิถีจิตกระผมยังไม่ค่อยเข้าใจว่ารูปที่เห็นไม่รู้ว่าเกิดขึ้นที่วิถีไหน ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 4 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขออนุญาตยกคำบรรยายเรื่อง นิมิต และ รูปนิมิต ครับ (ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์) คำว่า นิมิต อนุพยัญชนะ หมายความว่าอะไรคะ คุณคำปั่น (อาจารย์คำปั่น อักษรวิลัย) คำว่า นิมิตตะ นี่นะครับ ก็หมายถึง รูปร่างสัณฐานต่างๆ ส่วนคำว่า อนุพยัญชนะ นะครับ โดยศัพท์ ก็หมายถึงสิ่งที่เป็นเครื่องยังกิเลสให้เกิดขึ้น หรือว่า เป็นเครื่องยังกิเลสให้ปรากฏเวลาที่ติดข้อง ก็ติดข้องทั้งในนิมิต และก็ในอนุพยัญชนะ ซึ่งก็เป็นส่วนละเอียดละเอียด (ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์) ถ้าไม่มีสภาพธัมมะ ที่เกิดดับสืบต่อ จะมีนิมิตไหม อยู่ดีๆ ก็มีนิมิต โดยที่ไม่มีสภาพธัมมะได้อย่างไร นี่คือ ความเป็นเหตุเป็นผล อย่างยิ่งนะคะ ของธัมมะเป็นความจริง ที่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ไม่ว่าอะไรก็ตามค่ะ ที่ปรากฏว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ความจริงคืออะไรความจริงต้องมี ธัมมะอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดดับสืบต่อจนกระทั่งปรากฏเป็นรูปร่างสัณฐาน หรือ ความจำ อย่างหนึ่งอย่างใด เช่น คำว่า “เช่น” เป็นนิมิต หรือเปล่าคะ ถ้าเป็นเสียงเล็กน้อย เพียงกระทบหู ปรากฏแล้วดับ ที่ทรงแสดงไว้นะคะว่าจิตเกิดดับอย่างรวดเร็ว นับประมาณไม่ได้ ก็คือ เดี๋ยวนี้เนี่ยค่ะ ทันทีที่เห็น ก็เป็นคนเยอะเลย ทำไมนิมิตมามากมายอย่างนี้ ทั้งสิ่งที่ปรากฏที่เกิดดับ และจิตที่ไปรู้ด้วย ว่าเป็น รูปร่างสัณฐานต่างๆ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า การเกิดดับเร็วมากแล้วก็เพราะการเกิดดับอย่างเร็ว จึงไม่สามารถ ที่จะรู้เพียงหนึ่ง ที่เกิดแล้วดับ แต่เมื่อหลายๆ ขณะ เกิดสืบต่อ ทั้งสิ่งที่ปรากฏ ก็ปรากฏเป็นนิมิต และจิตก็เป็นนิมิตด้วย เช่น เห็นขณะนี้ค่ะ เห็น หนึ่ง ขณะ หรือเปล่าคะ ที่กำลังเห็นอยู่เดี๋ยวนี้ หลายขณะ จนรู้ว่า เห็น นี่คือ นิมิตของจิตเห็น เพราะฉะนั้น นิมิตทุกอย่าง นะคะ รูป รูปะนิมิต ไม่ว่าจะเป็นเป็นสีที่ปรากฏทางตา รูปร่างสัณฐานต่างๆ หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรสทั้งหมด เป็นนิมิต แล้วค่ะ เพราะว่า ไม่ได้เพียงเกิดแล้วดับ เพียงเกิดแล้วดับจึงสามารถที่จะรู้ว่า นั่นไม่ใช่นิมิต แต่เป็นธัมมะ แต่เพราะเหตุว่า เกิดดับอย่างเร็วนะคะเพราะฉะนั้น ตลอดเวลา รู้ นิมิตหมด ยังไม่ได้ รู้ การเกิดดับเพียงหนึ่ง เพราะว่า เกิดดับเร็วสุด ที่จะประมาณได้ ด้วยเหตุนี้ ก็จะเข้าใจ ความหมายของนิมิต ไม่ใช่ว่าเพียงแต่ ฟัง แล้วก็ ลืมไปแล้วว่ายังไงแต่นิมิตของสิ่งที่มีจริง เพราะ สิ่งที่มีจริง เกิดดับเร็วจึงปรากฏเป็นรูปร่าง หรือนิมิต แต่ละทาง เช่น นิมิตของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นได้เป็นอย่างนี้นะคะ เป็นคิ้ว เป็นตา เป็นจมูก เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้นั่นคือ รูปร่างสัณฐานของ สิ่งที่เกิดดับ ปรากฏให้เห็นได้นิมิตของเสียง ก็เป็นเรื่องเลยค่ะ ทันที เป็นคำออกมา แต่ละคำได้ยินเสียง หรือว่า ได้ยินคำ ได้ยินเสียง หรือว่า ได้ยินคำคะ ถ้าไม่มีเสียง จะมีคำ ได้ยังไงคะแต่เพราะเสียงนั้น นะคะ ต่างกัน หลากหลาย เป็นนิมิต ของแต่ละเสียงทำให้ คิดถึง แต่ละคำ ด้วยเหตุนี้ เวลาคิด คิดคำ ใช่ไหมคะ ทั้งๆ ที่ ถ้าไม่มีเสียง ก็ไม่มีคำ แต่ไม่ได้จำเสียง แต่จำคำซึ่งเป็นนิมิตของเสียง เพราะ ทุกครั้งที่คิดแต่ละคำ ก็คือ กำลังคิดถึง นิมิต ไม่ใช่จำเสียงนะคะ แต่หมายความว่า รู้ว่าเสียงนั้น นิมิตอย่างนั้นน่ะ หมายความถึงอะไรก็จำ แล้ว ก็คิดถึง ความหมายนั้นทันทีด้วยเหตุนี้ นะคะ ก็จะเห็นได้ว่า กว่าจะเข้าใจ แต่ละคำจริงๆ อย่างมั่นคง

ซึ่งรูปที่เห็นได้ จะต้องเห็นทางปัญจทวาร คือ เห็นสิ่งที่ปรากฎทางตา ที่เป็นปัญจทวารวิถี และ มโนทวารวิถี วาระแรก รับสืบต่อ หลังจากนั้น ก็นึกคิดเป็นรูปร่างสัณฐานต่างๆ ครับ ทางมโนทวารวิถีวาระต่อๆ ไป

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 4 ธ.ค. 2556

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

เวทนานิมิตมีลักษณะอย่างไรครับกรณีเช่นความเจ็บปวด เป็นต้นขอ ความ อนุเคราะห์ ด้วย ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 4 ธ.ค. 2556

เรียน ความเห็นที่ 2 ครับ

เวทนานิมิต โดยนัยของปรมัต ที่เป็นนิมิตของ เวทนา ก็มีลักษณะรู้สึก

เวทนา คือ ความรู้สึก เวทนาเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็นเจตสิก เกิดกับจิตทุกประเภท ประเภท ทั้ง กุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิตและกิริยาจิตครับ ดังนั้นเมื่อจิตเกิดขึ้น ก็จะต้องมีความรู้สึก คือ มีเวทนาเสมอครับ ซึ่งเวทนาความรู้สึก แบ่งได้ ๕ อย่าง คือ โสมนัสเวทนา (ความรู้สึก สุขทางใจ) สุขเวทนา (ความรู้สึกสุขทางกาย) อุเบกขาเวทนา (ความรู้สึกเฉยๆ) โทมนัสเวทนา (ความรู้สึกทุกข์ใจ) ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์กาย)

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 4 ธ.ค. 2556

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

เวทนาเกิดดับสืบต่อกันตามอนันตรปัจจัยของจิตหรือไม่อย่างไรครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 4 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก็เพราะมีความเกิดขึ้นเป็นไปของธรรมซึ่งเป็นสิ่่งที่มีจริงนั่นเอง ซึ่งหมายรวมถึงสภาพธรรมที่เกิดดับทั้งหมด ทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จึงมีนิมิต

เวทนาเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิตทุกขณะ เมื่อกล่าวถึงอนันตรปัจจัยแล้ว หมายถึง สภาพธรรม ที่เป็นจิต และ เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิต (และเจตสิก) ขณะต่อไปเกิดสืบต่อทันทีโดยไม่มีระหว่างคั่น ดังนั้น เมื่อเวทนาเกิดกับจิตทุกขณะ เมื่อดับไปแล้ว ก็ต้องเป็นอนันตรปัจจัยให้ขณะต่อไป เกิดสืบต่อทันที ตามความเป็นจริงของธรรม ครับ

ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 4 ธ.ค. 2556

เวทนาเจตสิก เป็นความรู้สึก เกิดกับจิตทุกประเภท ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สิริพรรณ
วันที่ 29 มี.ค. 2564

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง

กราบขอบพระคุณยินดีในกุศล อ.วิทยากร ด้วยความเคารพค่ะ

ถ้าไม่ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ไม่ได้ฟังคำที่ท่านอาจารย์กล่าวอธิบายซ้ำๆ ก็ไม่รู้ว่า อยู่กับสภาพที่เกิดดับตลอดเวลา แล้วก็หลงกับนิมิตด้วยความไม่รู้ความจริง ...ฟังแล้วก็ลืม จึงต้องฟังบ่อยๆ

คลิ๊กฟังเพิ่มเติม
เกิดมาหลงวนในโลกของนิมิต

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ