การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นลักษณะของลักขณรูปของกลุ่มนั้นๆใช่หรือไม่อย่างไร

 
papon
วันที่  27 ธ.ค. 2556
หมายเลข  24245
อ่าน  4,322

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นลักษณะของลักขณรูปของกลุ่มนั้นๆ ใช่หรือไม่อย่างไร ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 27 ธ.ค. 2556

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เมื่อกล่าวถึงสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้ว ก็ต้องเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย และเมื่อเกิดแล้วก็มีความดับไปเป็นธรรมดา ไม่มีธรรมแม้แต่อย่างเดียวที่เกิดแล้วจะไม่ดับ ล้วนแล้วต้องดับไปทั้งนั้น เห็น เกิดแล้วดับ ได้ยินเกิดแล้วดับ สี เกิดแล้วดับ เสียงเกิดแล้วดับ เป็นต้น แต่เมื่อกล่าวถึงนามธรรม (จิตและเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย) กับ รูปธรรมแล้ว นามธรรมมีอายุที่สั้นแสนสั้น คือเพียง ๓ อนุขณะ คือ ๓ ขณะย่อย อันได้แก่ ขณะที่เกิดขึ้น (อุปปาทะ) ขณะที่ดำรงอยู่ยังไม่ดับ (ฐิติ) และ ขณะที่ดับ (ภังคะ) แต่ถ้าเป็นรูปธรรมที่มีสภาวลักษณะเป็นของตนเองมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ (หรือ ๕๑ อนุขณะของจิต) รูปธรรมที่มีสภาวลักษณะเป็นของตนเอง (สภาวรูป) นั้นเมื่อเกิดแล้วยังไม่ดับทันที จะมีลักขณรูป ๔ ได้แก่

เมื่อรูปเกิดขึ้นขณะแรกนั้น เป็น อุปจยรูป ๑

ขณะที่รูปเจริญขึ้น เป็น สันตติรูป ๑

ขณะที่รูปเสื่อมลง เป็น ชรตารูป ๑

ขณะที่รูปดับ เป็น อนิจจตารูป ๑

สภาวรูปแต่ละกลุ่มมีอายุเท่ากับ ๕๑ อนุขณะของจิต เทียบอนุขณะที่ ๑ เป็นอุปจยรูป อนุขณะที่ ๕๑ เป็นอนิจจตารูป ส่วนอนุขณะที่ ๒ - ๕๐ เป็นสันตติรูป และชรตารูป ดังนั้น รูปแต่ละกลุ่ม ต้องมีลักขณรูปทั้ง ๔ คือ เมื่อมีอุปจยะ คือ การเกิดของรูป แล้วก็ต้องมีสันตติ คือ ความสืบต่อจากการเกิดนั้นเพราะรูปนั้นยังไม่ดับ และเมื่อพิจารณาถึงลักษณะของสภาพธรรมรูปเป็นสังขตธรรมต้องมีการเกิดดับ ดังนั้น ในระหว่างขณะที่เกิดกับขณะที่ดับก็ต้องมีความสืบต่อที่จะต้องเป็นไปและเสื่อมลงจนกว่าจะถึงขณะที่รูปนั้นดับไป โดยอุปจยะและสันตติเป็นฝ่ายเกิด ชรตา และอนิจจตาเป็นฝ่ายดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 27 ธ.ค. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 28 ธ.ค. 2556

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

ทำไมรูปบางกลุ่มไม่มีลักขณรูปร่วมด้วยครับขอ ความ อนุเคราะห์ ด้วย ครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
mon-pat
วันที่ 28 ธ.ค. 2556

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 28 ธ.ค. 2556

เรียน ความคิดเห็นที่ 3 ครับ

รูปมีหลากหลายมาก รูปที่มีลักษณะ ก็มี รูปที่ไม่มีลักษณะ ก็มี ที่กล่าวถึงนั้น เป็นรูปที่ไม่มีลักษณะ หมายถึง อสภาวรูป ๑๐ รูป คือ

ปริจเฉทรูป ๑

วิญญัติรูป ๒

วิการรูป ๓

ลักขณรูป ๔

เพราะไม่มีสภาวะเป็นของตนเอง จึงไม่มีลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาเป็นของตน แต่อสภาวรูป หรือ สลักขณรูป ก็เป็นสังขารธรรม เพราะอาศัยสลักขณรูป (รูปที่มีลักษณะ) ซึ่งมีลักษณะที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อสลักขณรูปไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นและดับไป อสลักขณรูปซึ่งอิงอาศัยสลักขณรูปจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาไปด้วย ความเป็นจริง เป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 30 ธ.ค. 2556

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 6 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ