พระขับรถผิดไหม

 
fouron
วันที่  6 ม.ค. 2557
หมายเลข  24295
อ่าน  19,325

พระขับรถผิดไหม


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 ม.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โดยภาวปกติพระภิกษุจะนั่งโดยสารรถยนต์ยังไม่ได้ (เว้นไว้แต่ป่วย) ไม่ต้องพูดถึงขับเลยครับ ผิดพระวินัย ต้องอาบัติแน่นอน ไม่สมควรทำ เพราะประพฤติดั่งเช่น คฤหัสถ์ ส่วนพระวินัยของพระ ไม่ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลา เพราะ สัจจะความจริง ไม่ว่ายุคใดสมัยใด ก็เป็นความจริง ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
fouron
วันที่ 6 ม.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 6 ม.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บุคคลผู้ที่มีอัธยาศัยจริงๆ ในการที่บวชเป็นบรรพชิต ย่อมสามารถที่จะละอาคารบ้านเรือน วงศาคณาญาติ ทรัพย์สมบัติ แล้วบวช ซึ่งเมื่อบวชแล้ว ก็มีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา น้อมประพฤติตามพระธรรมวินัย ขัดเกลากิเลสของตนเอง อย่างนี้ คือ ผู้ที่มีอัธยาศัยน้อมไปในการบวชจริงๆ และเป็นประโยชน์อย่างแน่นอน แต่ถ้ายังมีพฤติกรรมเหมือนคฤหัสถ์ทุกประการ อย่างเช่น การขับรถเป็นต้น ไม่ใช่วิสัยของผู้ที่มีอัธยาศัยที่จะเป็นบรรพชิตที่แท้จริง และการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นความประพฤติที่ไม่สมควร เป็นอาบัติ เป็นโทษแก่ตนเองอย่างเดียว เพราะจุดประสงค์ของการบวชเป็นบรรพชิต ในพระพุทธศาสนา นั้น คือ เพื่ออบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเอง เท่านั้น ถ้าไม่ได้บวชเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าวนี้แล้ว ย่อมเป็นบุคคลผู้เสื่อมอย่างยิ่ง เสื่อมจากคุณความดีประการต่างๆ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 6 ม.ค. 2557

พระขับรถผิดพระวินัย ยานของพระภิกษุ คือ รองเท้า หรือ ร่ม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
WS202398
วันที่ 6 ม.ค. 2557

สิกขาบทใดบ้างครับที่ห้ามพระนั่งรถ เว้นจากป่วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
nopwong
วันที่ 7 ม.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 7 ม.ค. 2557

เรียน ความเห็นที่ 5 ครับ

[เล่มที่ 7] พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒- หน้าที่ 25

เรื่องยาน

[๑๔] ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคียี์ขี่ยานซึ่งเทียมด้วยโคตัวเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคาและแม่น้ำมหี ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปด้วยยาน รูปใดไปต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบทเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่อาพาธเสียกลางทาง และได้หลีกจากทางนั่งอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่งประชาชนพบภิกษุนั้น จึงเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปไหนขอรับ

ภิกษุนั้นตอบว่า อาตมาจะไปพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ป. นิมนต์มา ไปด้วยกันเถิด ขอรับ

ภิ. อาตมาไม่อาจ เพราะกำลังอาพาธ

ป. นิมนต์มาขึ้นยานเถิด ขอรับ

ภิ. ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามยาน

ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ ดังนั้นจึงไม่ยอมขึ้นยาน ครั้นไปถึงพระนครสาวัตถี แล้วจึงแจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้คิดกันว่า ยานที่ทรงอนุญาตนั้นเทียมด้วยโคตัวเมีย หรือเทียมด้วยโคตัวผู้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้และยานที่ใช้มือลาก.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่ผาสุกอย่างแรง เพราะความกระเทือนแห่งยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
WS202398
วันที่ 7 ม.ค. 2557

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

ยาน หมายรวมถึง อะไรบ้างครับ ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ยานพาหนะในปัจจุบัน ถือเป็นยานหรือไม่ครับ แล้วทำไมปัจจุบันการโดยสารยานพาหนะถึงเป็นปกติ นอกจากป่วยมีอนุญาตกรณีอื่นอีกหรือไม่ครับ สิกขาลักษณะนี้ จะถือว่าเป็นสิกขาบทเล็กน้อยได้หรือไม่ครับ พระอริยบุคคลผิดศีลได้หรือไม่ ภิกษุที่ผิดศีลแม้ขี่ยานนี้ เป็นทางกันมรรคผลหรือไม่ครับ มีสิกขาบทอีกมากมายที่ทรงห้ามแต่ในปัจจุบันก็ทำกันใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
paderm
วันที่ 7 ม.ค. 2557

เรียน ความเห็นที่ 8 ครับ

ยาน หมายถึง รองเท้า และ ร่ม ที่เป็นของพระภิกษุ ส่วน ยาน ที่เป็นยานพาหนะ ปัจจุบันไมได้มุ่งหมายที่จะเป็นยานของพระภิกษุ

สิกขาบทนี้ก็เป็นสิกขาบทที่ไม่มีกำลังมาก ส่วน พระอริยบุคคล ต้องอาบัติได้ เพราะไม่รู้ ไม่มีเจตนา แต่ถ้าท่านรู้ ย่อมไม่ล่วงอาบัติแม้เหตุแห่งชีวิต ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
WS202398
วันที่ 7 ม.ค. 2557

สรุปแล้วพระโดยสารรถยนต์ เรือ และเครื่องบินได้ไหมครับ (ปัจจุบันมีข่าวการเพ่งโทษนักบวชขี่เครื่องบินเจ็ตส่วนตัว ผมว่าเครื่องบินอะไรก็ไม่ต่างกันมิใช่ หรือครับ) แล้วการโดยสารกับการขับเองต่างกันไหมครับทางพระวินัย

เท่าที่ผมได้อ่านได้ฟังมา พระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบทบางสิกขาบท เพราะเป็นการกระทำที่ในสมัยนั้น ประชาชน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา คือเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส และผู้ที่เลื่อมใสก็จะมากๆ ขึ้นไป ดังนั้นสิ่งที่ไม่ขัดต่อกุศล แต่ประชาชนสมัยนั้นเห็นว่าไม่สมควรก็ไม่ควรกระทำใช่ไหมครับ เพราะถ้าทำแล้วทำให้ประชาชนไม่เลื่อมใส

ตามหลักธรรมะแล้ว ยังมีการกระทำอันเกิดจากอกุศลจิต ที่ไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ ดังนั้นสิ่งมีไม่ควรกระทำมิใช่มีเฉพาะในพระวินัยใช่ไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
paderm
วันที่ 7 ม.ค. 2557

พระวินัย เป็นสัจจะ ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งใด ไม่สมควรก็ไม่สมควร ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
nuch2013
วันที่ 7 ม.ค. 2557

ในกาลสมัยพุทธกาล กับ สมัยนี้ซึ่งเหลือเพียง พุทธพจน์ คำสอน และการที่ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด ละเว้นในพระวินัยบัญญัติในบางข้อ ดังเช่นกรณีข้างต้นนี้ (แค่ยกตัวอย่างค่ะ) จะเป็นการกั้น ความเป็นพระอริยบุคคลได้ หรือไม่คะ เพราะมีบางท่านกล่าวว่า ให้ดูตามกาลสมัย ดิฉันเลยขอกราบเรียนถาม ค่ะ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
paderm
วันที่ 7 ม.ค. 2557

เรียน ความเห็นที่ 12 ครับ

เครื่องกั้นการบรรลุ มรรคผล ข้อหนึ่ง คือ การมีอาบัติติดตัวอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อภิกษุต้องอาบัติ ไม่เห็นโทษ ไม่ต้องกล่าวถึง บรรลุธรรม แม้ สุคติ ก็ไม่สามารถเกิดได้ มีอบายภูมิ เป็นที่หวังได้เท่านั้น ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
nuch2013
วันที่ 7 ม.ค. 2557

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
WS202398
วันที่ 7 ม.ค. 2557

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
fouron
วันที่ 8 ม.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
Tommy9
วันที่ 5 ธ.ค. 2562

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
chatchai.k
วันที่ 3 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
Witt
วันที่ 6 ก.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ