วิริยารัมภถถา

 
papon
วันที่  19 ม.ค. 2557
หมายเลข  24345
อ่าน  2,384

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

วิริยารัมภกถา หมายความว่าอย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับ

ขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ม.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็เข้าใจคำว่า วิริยะก่อนครับ

วิริยะ หมายถึง ความเพียร ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ที่เป็น วิริยเจตสิก เกิดกับจิตเกือบทุกประเภท ทั้ง กุศล และ อกุศล ความเพียร ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปเกิดร่วมกับจิตเกือบทุกประเภท เช่น ในขณะที่ฟังพระธรรม ขณะที่ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย หรือแม้กระทั่งขณะที่กุศลจิตเกิด ไม่พอใจ ขุ่นเคืองใจ โกรธ หรือติดข้อง ยินดีพอใจ เป็นต้น ก็มีความเพียรเกิดร่วมด้วย ดังนั้น ความเพียรจึงมีทั้งเพียรที่เป็นกุศล และเพียรที่เป็นกุศล ด้วย ครับ

เพราะฉะนั้น วิริยารัมภกถา จึงหมายถึง ถ้อยคำ คำพูดที่เป็นไปเพื่อที่จะปรารภความเพียร ในทางกุศล ในทางที่ดี ไม่ใช่ ถ้อยคำ คำพูด ที่ให้ปรารภความเพียร ทำในสิ่งที่ผิด ครับ

ที่สำคัญ จึงควรพิจารณาว่า ความเพียรใดๆ ก็ตาม ถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้วเป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศล ทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้นไม่ควรเริ่มต้น ไม่ควรประกอบ ในทางตรงกันข้าม ความเพียรใดๆ ถ้าหากว่าเมื่อเพียรไปแล้ว เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม ทำให้กุศลธรรมเสื่อมไป ความเพียรนั้น ควรเริ่มควรประกอบ ครับ

วิริยะ สภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับความเกียจค้าน กล่าวคือ ความเพียรที่เกิดร่วมกับความเห็นถูก ก็จะเพียรไปในกุศลธรรมมากขึ้น เพียรละเว้นกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพียรเจริญกุศลมากขึ้นในชีวิตประจำวัน ทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนเกิดจากความเข้าใจพระธรรม ซึ่งไม่มีตัวตนที่จะไปทำ ไม่มีตัวตนที่เพียร แต่สภาพธรรมกล่าวคือจิต และเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) เกิดขึ้นเป็นไปในกุศลธรรมนั่นเอง เพราะเหตุว่าทุกอย่างเป็นธรรม และเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยแล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง ความเพียรที่เป็นไปกับ การศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา พร้อมทั้งเจริญกุศลประการต่างๆ เพื่อขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน เป็นความเพียรที่คล้อยไปสู่การดับกิเลส พ้นจากทุกข์ได้ในที่สุด ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 20 ม.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิริยารัมภกถา เป็นถ้อยคำที่เป็นไปเพื่อการปรารภความเพียร เมื่อกล่าวโดยประมวลแล้ว ไม่พ้นไปจากพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีกุศลธรรมและปัญญาเจริญขึ้น ซึ่งถ้าไม่อาศัยพระธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงแสดงแล้ว ไม่มีทางที่สัตว์โลกจะมีคุณความดีเจริญขึ้นจนสามารถดับกิเลสได้เลย เพราะฉะนั้น ก็จะต้องมีความเพียร มีความอดทน ในการที่จะได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ขณะที่ฟังพระธรรม มีศรัทธาเห็นประโยชน์ของพระธรรม ความเพียรก็มีแล้วในขณะนั้น ซึ่งเป็นความเพียรที่เป็นไปพร้อมกับการอบรมเจริญปัญญา

ข้อที่ควรจะได้พิจารณาสำหรับผู้ที่เกิดมาเป็นมนุษย์ คือ ควรที่จะเจริญกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าการเกิด การตายเป็นธรรมดาของชีวิต เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ไม่มีใครรอดพ้นไปได้ ความตายจักต้องมีอย่างแน่นอน ไม่วันใดก็วันหนึ่งซึ่งไม่มีใครรู้ล่วงหน้าได้เลย ในระหว่างที่ยังไม่ตายนั้น ควรที่จะได้ทำอะไรที่จะเป็นประโยชน์จริงๆ ดังนั้น พึงเป็นผู้ไม่ประมาทในการเจริญกุศลประการต่างๆ และไม่ขาดการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาในชีวิตประจำวัน เพื่อเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง และเพื่อขัดเกลากิเลสของตนเอง นี่แหละคือสิ่งที่จะเป็นประโยชน์สำหรับชีวิตอย่างแท้จริง นี้คือเป็นตัวอย่างของวิริยารัมภกถา ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 20 ม.ค. 2557

ความเพียร มีทั้งที่เป็นไปในกุศล อกุศล เช่น เพียรฟังธรรม ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
umpai
วันที่ 20 ม.ค. 2557

"ทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนเกิดจากความเข้าใจพระธรรม ซึ่งไม่มีตัวตนที่จะไปทำ ไม่มีตัวตนที่เพียร แต่สภาพธรรมกล่าวคือจิต และเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) เกิดขึ้นเป็นไปในกุศลธรรมนั่นเอง"

อนุโมทนาในส่วนกุศลค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 29 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ