อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์

 
papon
วันที่  9 ก.พ. 2557
หมายเลข  24441
อ่าน  11,199

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ของทวารทั้ง 5 จะมากหรือน้อยเป็นไปตามการสะสมของแต่ละคนใช่หรือไม่อย่างไรครับ

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อิฏฐารมณ์ กับ อนิฏฐารมณ์ คือ อะไร

อิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าพอใจ หมายถึง ที่ดีปานกลาง เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่สวยงาม เป็นที่น่าปรารถนาของคนทั่วไป แต่ไม่ถึงกับ ประณีตจนเป็นทิพย์ เป็นอารมณ์ของจิตได้ทั้ง ๔ ชาติ แต่สำหรับชาติวิบาก กรรม จัดสรรให้เฉพาะ "กุศลวิบากที่เกิดจากกุศลกรรมที่ปานกลางเท่านั้น" ที่มีอิฏฐารมณ์เป็น อารมณ์ (กุศลวิบากที่เกิดจากกุศลกรรมที่ประณีต มีอติอิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์ อกุศล วิบากซึ่งเกิดจากอกุศลกรรม มีอนิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์)

อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ หมายถึง อารมณ์ที่ไม่ดี เป็นสภาพที่หยาบทราม ไม่ประณีต เช่น สีที่ซากศพ เสียงด่า กลิ่นเหม็น รสเผ็ดจัด โผฏฐัพพะแข็งไป อ่อนไป ร้อนไป เย็นไป อนิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์ของกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต หรือกิริยาจิตก็ได้ แต่สำหรับวิบากจิต อนิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์ของอกุศลวิบากเท่านั้น เพราะอกุศลกรรมจัดสรรให้อกุศลวิบากรู้เฉพาะอนิฎฐารมณ์

การประสบกับ อนิฏฐารมณ์ หรือ อนิฏฐารมณ์ เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย การไดัรับสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นผลของกุศลกรรม แต่ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมแล้วจะทำให้ได้รับในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่มีใครทำให้เลย ต้องมาจากเหตุ คือกรรมที่แต่ละคนได้กระทำแล้ว

อารมณ์ที่น่าปรารถนา กับ ไม่น่าปรารถนา เป็นธรรมที่มีจริง โดยที่ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ถ้าเกิดความยินดี พอใจติดข้องในสิ่งใดหรือ เกิดความไม่พอใจ ในสิ่งใด ขณะนั้นเป็นผู้ถูกกิเลสทั้งหลายครอบงำ แล้ว ที่ติดข้อง ยินดีพอใจ หรือ แม้กระทั่ง ไม่พอใจ นั้น เพราะการได้สั่งสมกิเลสประเภทนั้นๆ มาแล้ว เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย กิเลสก็เกิดขึ้น เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเพราะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงมีการรู้อารมณ์ต่างๆ มี รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น และโดยปกติของผู้ที่เป็นปุถุชนจะห้ามไม่ให้ติดข้อง จะห้ามไม่ให้ยินดีในสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จะห้ามไม่ให้โทสะเกิดก็เป็นไปไม่ได้ เพราะสะสมมากิเลสประเภทนั้นๆ มาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ฎ์ อีกทั้งยังไม่เห็นโทษของกุศล ยังไม่เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง จึงถูกกิเลสกุศลครอบงำอยู่เป็นประจำ เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยกิเลสก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่

ส่วนผู้ที่ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว กิเลสย่อมไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะประสบกับอารมณ์ประเภทใดๆ ก็ตาม ดังนั้น ผู้ที่หมดกิเลสแล้ว กับ สัตว์โลก ผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น จึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 9 ก.พ. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนา อาจารย์คำปั่น และทุกท่าน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
papon
วันที่ 9 ก.พ. 2557

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

การติดข้องในอนิฏฐารมณ์เกิดขึ้นได้หรือไม่อย่างไรครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 9 ก.พ. 2557

เรียน ความคิดเห็นที่ ๓ ครับ

แต่ละคน ก็สะสมมาแตกต่างกันไป แม้จะเป็นอารมณ์ที่ไม่ดี ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ โลภะ ก็ติดข้องพอใจในสิ่งนั้นได้ ตามการสะสมจริงๆ เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของคุณ papon และทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 9 ก.พ. 2557

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 9 ก.พ. 2557

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

อนิฏฐารมณ์ เช่น สีของศพ โลภะติดข้องได้หรือ อย่างไรครับ

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
paderm
วันที่ 9 ก.พ. 2557

โดยทั่วไป ถ้าเป็นอารมณ์ที่ไม่ดีแล้ว ส่วนมาก ย่อมทำให้เกิดโทสะ ไม่ทำให้เกิดความติดข้อง แต่หากว่า ผู้ใด เคยสะสมความชอบ ในอารมณ์ที่ไม่ดีมาบ้าง ซึ่งมีเป็นส่วนน้อยมาก ก็ย่อมเกิดความติดข้องในอารมณ์ที่ไม่ดี ที่สมติว่าเป็น สีของซากศพได้ ครับ โลภะจึงเป็นสภาพธรรมที่ติดข้องได้เกือบทุกอย่าง ยกเว้น โลกุตตรธรรม มี มรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ และ นิพพาน เท่านั้น

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
j.jim
วันที่ 10 ก.พ. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
papon
วันที่ 10 ก.พ. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
peem
วันที่ 2 เม.ย. 2559

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ