อะไรที่ไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา เป็นอกุศลหมด

 
papon
วันที่  17 ก.พ. 2557
หมายเลข  24488
อ่าน  765

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

กระผมติดตามการถ่ายทอดการสนทนาธรรมวันเสาร์อาทิตย์และการบรรยายของท่านอาจารย์ และได้ยินเกี่ยวกับเวลาตอบปัญหาของท่านอาจารย์และวิทยากรว่า

"อะไรที่ไม่เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา เป็นอกุศลหมด"

ขอความกรุณาช่วยอธิบายเพื่อความเข้าใจด้วยครับ ขออนุโมทนาครับ


Tag  อกุศล  
  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 18 ก.พ. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความเป็นจริงเป็นอย่างไร ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ตามความเป็นจริงแล้ว ขณะใดที่จิตน้อมไปในการให้ทาน บ้าง ในการรักษาศีลวิรัติงดเว้นทุจริตประการต่างๆ ตลอดจนถึงกระทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม บ้าง เป็นไปในความสงบของจิต เช่น มีเมตตา หวังดี ปรารถนาดี ต่อผู้อื่น บ้าง เป็นไปในการฟังพระธรรมอบรมเจริญปัญญา บ้าง ขณะนั้นเป็นกุศล เป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ นอกจากนี้แล้ว ถ้าไม่กล่าวถึงขณะที่เป็นวิบาก กับ ขณะที่เป็นกิริยา (ขณะที่เป็นกิริยาของผู้ที่ไม่ได้เป็นพระอรหันต์ คือ จิตที่เกิดก่อนจิตเห็น ก่อนจิตได้ยิน ก่อนจิตได้กลิ่น ก่อนจิตลิ้มรส ก่อนจิตที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย ที่เรียกว่าปัญจทวาราวัชชนจิต และกิริยาอีกประเภทหนึ่ง คือ มโนทวาราวัชชนจิต) แล้ว ก็เป็นอกุศลทั้งหมด แสดงถึงความเป็นจริงว่า อกุศล จะเกิดมากมายแค่ไหนในชีวิตประจำวัน

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกุศลธรรมหรือกุศลธรรม ก็เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ปกติในชีวิตประจำวันของผู้ที่ยังมีกิเลส ยังถูกผูกมัดไว้ด้วยกิเลสประการต่างๆ จึงมีกุศลจิตเกิดขึ้นเป็นปกติธรรมดา และเกิดมากกว่ากุศลด้วย

ตามความเป็นจริง กุศลธรรม เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดีงาม ไม่นำประโยชน์อะไรๆ มาให้ใครเลย มีแต่จะนำทุกข์มาให้ในภายหลังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่จิตเป็นกุศลย่อมเร่าร้อนเพราะกุศลเจตสิกประการต่างๆ ที่เกิดร่วมด้วย และถ้ามีกำลังถึงขั้นล่วงเป็นกุศลกรรมบถที่ครบองค์ ยิ่งเร่าร้อนมาก กล่าวได้ว่าเร่าร้อนทั้งในขณะที่ทำ และในขณะที่ได้รับผลของกุศลกรรมนั้นๆ ด้วย ในทางตรงกันข้าม ขณะที่จิตเป็นกุศลนั้นย่อมผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เพราะไม่มีกุศลเจตสิกเกิดร่วมได้เลย เป็นจิตคนละประเภทกัน มีแต่สภาพธรรมฝ่ายดี เช่น ศรัทธา (สภาพธรรมที่เลื่อมใสในกุศล) สติ (สภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศล) หิริ (ความละอายต่อกุศล) โอตตัปปะ (ความเกรงกลัวต่อกุศล) เป็นต้น เกิดร่วมด้วย

การฟังพระธรรม ก็ย่อมจะเป็นไปเพื่อความเข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในขณะนี้ตามความเป็นจริง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 18 ก.พ. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาอาจารย์คำปั่นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 21 ก.พ. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ