ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก

 
PEERAPAT65
วันที่  25 ก.พ. 2557
หมายเลข  24524
อ่าน  1,215

ข้อความบางตอนจาก

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑

อรรถกถาธรรมทายาทสูตร

ปปัญจสูทนี อรรถกถมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ ๒๕๒

ธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีก

ครั้นแสดงโลภะ โทสะ และอุบายเป็นเครื่องละโลภะและโทสะนั้น

ในจำนวนธรรมทั้งหลายที่ต้องละอย่างนี้แล้ว บัดนี้ พระสารีบุตรเถระ

เมื่อจะแสดงธรรมที่ต้องละเหล่าอื่นอีกและอุบายเป็นเครื่องละธรรมเหล่านั้น

จึงกล่าวคำว่า ตตฺราวุโสโกโธดังนี้เป็นต้น บรรดาธรรม

ที่ต้องละเหล่านั้น.

(๑) โกธะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเดือดดาลหรือความดุร้าย

มีหน้าที่คือผูกอาฆาต (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความประทุษร้าย

(๒) อุปนาหะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความผูกโกรธ มีหน้าที่

คือไม่ยอมสลัดทิ้งการจองเวร (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือโกรธ

ติดต่อเรื่อยไป สมดังถ้อยคำที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า โกธะเกิดก่อน

อุปนาหะจึงเกิดภายหลัง เป็นต้น.

(๓) มักขะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือ ลบหลู่คนอื่น มีหน้าที่

คือทำคุณของคนอื่นนั้นให้พินาศ (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการ

ปกปิดคุณของคนอื่นนั้น.

(๔) ปฬาสะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการถือเป็นคู่แข็ง (ตีเสมอ)

มีหน้าที่คือการทำคุณของตนให้เสมอกับคุณของคนอื่น (และ)

ผลที่ปรากฏออกมาคือความปรากฏโดยการชอบประมาณ (ตีค่า)

เทียบคุณของคนอื่น.

(๕) อิสสามีลักษณะ (เฉพาะ) คือความริษยาต่อสมบัติของ

คนอื่น หรือไม่ก็ทนไม่ได้ต่อสมบัติของคนอื่นนั้น มีหน้าที่คือความไม่

ยินดียิ่ง ในสมบัติของคนอื่นนั้น (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความ

เบือนหน้าหนีจากสมบัติของคนอื่นนั้น.

(๖) มัจเฉระมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการซ่อนเร้นสมบัติ

ของตน มีหน้าที่คือความไม่สบายใจ เมื่อสมบัติของตนมีคนอื่นร่วมใช้

สอยด้วย (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความเคืองแค้น.

(๗) มายามีลักษณะ (เฉพาะ) คือปกปิดบาปที่ตนเองกระทำ

แล้ว หน้าที่คือซ่อนเร้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น (และ) ผลที่ปรากฏ

ออกมาคือการปิดกั้นบาปที่ตนเองกระทำแล้วนั้น.

(๘) สาเถยยะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการชอบเปิดเผยคุณ

ที่ตนเองไม่มี มีหน้าที่คือการประมวลมาซึ่งคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้น

(และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือการทำคุณที่ตนเองไม่มีเหล่านั้นให้ปรากฏออกมา

แม้โดยอาการทางร่างกาย.

(๙) ถัมภะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความที่จิตผยอง มีหน้าที่

คือพฤติการที่ไม่ยำเกรง (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความไม่อ่อนโยน.

(๑๐) สารัมภะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการทำความดีให้เหนือไว้

มีหน้าที่คือแสดงตนเป็นข้าศึกต่อคนอื่น (และ) ผลที่ปรากฏออกมา

คือความไม่เคารพ.

(๑๑) มานะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง มีหน้าที่

คือความถือตัวว่า เป็นเรา (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความจองหอง

(๑๒) อติมานะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความเย่อหยิ่ง

มีหน้าที่คือความถือตัวว่า เป็นเราจัด (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือ

ความหยิ่งจองหอง.

(๑๓) มทะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือความมัวเมา มีหน้าที่คือ

ความยึดถือด้วยการมัวเมา (และ) ผลที่ปรากฏออกมาคือความคลั่งไคล้

(๑๔) ปมาทะมีลักษณะ (เฉพาะ) คือการปล่อยจิตไปใน

เบญจกามคุณ มีหน้าที่คือการกระตุ้นให้ปล่อยจิตมากขึ้น (และ)

ผลที่ปรากฏออกมาคือความขาดสติ.

นักศึกษาพึงทราบถึงลักษณะเป็นต้น ของธรรมเหล่านี้ดังกล่าวมา

นี้เถิด ที่กล่าวมานี้เป็นความย่อในข้อนี้ ส่วนความพิสดารนักศึกษาพึง

ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในคัมภีร์วิภังค์นั่นเองว่า ตตฺถกตโมโกโธ

ดังนี้เป็นต้น.

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากบาปธรรมเหล่านั้น

อนึ่ง ในธรรมที่ต้องละเหล่านี้พึงทราบความโดยพิเศษขึ้นไปอีกดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาท ย่อมโกรธคนอื่นที่ได้ลาภ เพราะตนเอง

ไม่ได้๑ ความโกรธที่เกิดขึ้นครั้งเดียวของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น ชื่อว่า

โกธะอย่างเดียว โกธะที่เกิดขึ้นมากกว่าครั้งเดียวขึ้นไป ชื่อว่า อุปนาหะ.

ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นนั่นแล เมื่อโกรธแล้วด้วย และผูกโกรธ

ด้วย ย่อมหลู่คุณของคนอื่นที่มีลาภและถือเป็นคู่แข็ง และว่าแม้เราก็ต้องเป็น

เช่นนั้นให้ได้ อันนี้เป็นมักขะ (ความลบหลู่) และปฬาสะ (ตีเสมอ)

ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

ภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้นมีปกติลบหลู่ มีปกติตีเสมอดังกล่าวมาแล้ว

นี้ ย่อมริษยา ย่อมประทุษร้ายในลาภและสักการะเป็นต้น ของผู้มีลาภนั้น

ว่าภิกษุนี้จะมีประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ อันนี้เป็นอิสสา (ความริษยา) .

ก็ถ้าว่าเธอมีสมบัติบางอย่าง ย่อมทนไม่ได้ที่สมบัตินั้นมีคนอื่นนั้น

ร่วมใช้ อันนี้เป็นมัจเฉระ (ความตระหนี่) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

ก็เพราะลาภเป็นเหตุแท้ๆ เธอย่อมปกปิดโทษของตนที่มีอยู่เสีย

๑. ปาฐะเป็น อลภนฺโต เป็นฐมาวิภัตติ เข้าใจว่าจะเป็นอลภนโต คือโตปัจจัยที่ใช้แทน

ปัญจมีวิภัตติได้ จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.

อันนี้เป็นมายาของภิกษุ ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

เธอย่อมอวดคุณที่ไม่มีอยู่จริง อันนี้เป็นสาเถยยะ (ความโอ้อวด)

ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

เธอปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ถ้าได้ลาภตามที่ประสงค์ ย่อมเป็นผู้แข็ง

กระด้างมีจิตใจไม่อ่อนโยนเพราะลาภนั้น เป็นผู้ที่ใครๆ ไม่สามารถจะ

ว่ากล่าวได้ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้ อันนี้เป็นถัมภะ (ความหัวดื้อ) ของเธอ.

แต่ถ้าจะมีใครว่ากล่าวอะไรเธอ ว่า ท่านไม่ควรทำกรรมนี้อย่างนี้

เธอเป็นผู้มีจิตใจปรารภ คำกล่าวนั้น ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด พูดข่มขู่ว่า

ท่านเป็นอะไรกับผม อันนี้เป็นสารัมภะ (ความแข่งดี) ของภิกษุ

ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น .

ต่อจากนั้นไป เพราะถัมภะ (ความดื้อรั้น) เธอจะสำคัญตัวอยู่

ว่า เรานี้แหละดีกว่าคนอื่น เป็นผู้ถือตัวเพราะสารัมภะ (ความแข็งดี)

เธอกลับดูถูกคนอื่นว่า พวกนี้เป็นใครกัน เป็นผู้ถือตัว อันนี้เป็นมานะ

(ความถือตัว) และอติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) ของภิกษุผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

เพราะมานะและอติมานะเหล่านี้ เธอย่อมเกิดความเมาหลายแบบ

มีความเมาในชาติ (กำเนิดตระกูล) เป็นต้น เธอเมาแล้วย่อมประมาท

(เผลอสติ) ในวัตถุทั้งหลายแยกประเภทออกไป มีกามคุณเป็นต้น

อันนี้เป็นมทะ (ความเมา) และปมาทะ (ความเผลอสติ) ของภิกษุ

ผู้เป็นอามิสทายาทนั้น.

รวมความว่า ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ เธอย่อมไม่พ้นจากความเป็น

อามิสทายาทไปได้ นักศึกษาพึงทราบธรรมที่ต้องละในการเป็นอามิสทายาท

โดยธรรมที่เป็นบาปเหล่านี้ และโดยธรรมเหล่าอื่นแบบนี้อย่างนี้ก่อน. ส่วน

อุบายเป็นเหตุละ ว่าโดยบาลีและเนื้อหาสาระแล้วก็ไม่มีพิเศษอะไรเลย

ในธรรมทุกข้อ.


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ