ความตระหนี่และความประหยัดเป็นสภาพธรรมที่แตกต่างกันอย่างไรครับ

 
papon
วันที่  5 มี.ค. 2557
หมายเลข  24552
อ่าน  3,775

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

ความตระหนี่และความประหยัดเป็นสภาพธรรมที่แตกต่างกันอย่างไรครับ ขอความกรุณาช่วยยกตัวอย่างด้วยครับ ขอความอนุเคราะห์ด้วยครับและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 5 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความตระหนี่มีจริงๆ เป็นธรรม ที่เป็นอกุศลธรรม ที่ไม่ปรารถนาจะให้สิ่งของของตนทั่วไปแก่คนอื่น ขณะนั้นเป็นอกุศลธรรมอย่างแน่นอน ที่มีความประพฤติเป็นไปอย่างนั้น ตระหนี่ทั้งลาภ สิ่งของที่ได้มา ตระหนี่ที่อยู่อาศัย ไม่อยากให้คนอื่นมาใช้ร่วมด้วย ตระหนี่คำสรรเสริญ เมื่อผู้ทำดี ก็ไม่ชื่นชมไม่สรรเสริญ ตระหนี่ความรู้ความเข้าใจธรรม ไม่อยากให้คนอื่นเข้าใจธรรมอย่างที่ตนเองได้เข้าใจ หรือแม้กระทั่งรู้จักมักคุ้นกับใคร ก็ไม่อยากให้คนอื่นมาสนิทสนมกับบุคคลที่เรารู้จักมักคุ้นด้วย ทั้งหมดนี้ เป็นความเป็นไปของธรรมที่เป็นความตระหนี่ ซึ่งมีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แสดงให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ เพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง อกุศล เป็น อกุศล ไม่ดี ครับ

ส่วนความประหยัด มัธยัสถ์ขอเชิญคลิกศึกษาได้ที่นี่

ซึ่งเป็นประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง ครับ

ตระหนี่หรือมัธยัสถ์

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 5 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มัจฉริยะ หรือ ความตระหนี่ หมายถึง ความเหนียวแน่น ความหวงแหน ในสมบัติของตน หรือ ปกปิดสมบัติของตนไม่ให้ผู้อื่นรู้ หรือ อยากให้สิ่งที่มีอยู่กับตน หรือ สิ่งที่ดีๆ นั้นมีอยู่กับเราผู้เดียว ไม่อยากให้ผู้อื่นมี เป็นต้น นี่คือ ลักษณะของความตระหนี่ครับ

มัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ๕ อย่าง ได้แก่

๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่อาศัย

๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่ตระกูล

๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ

๔. วรรณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ คือคำสรรเสริญ

๕. ธรรมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม รวมถึง ความรู้

ส่วนความประหยัด เป็นเรื่องละเอียดนะครับ เพราะขณะที่ประหยัด เพื่อตัวเอง จะบอกว่าเป็นกุศลไม่ได้ เพราะขณะนั้น มีความตระหนี่ ในทรัพย์ โดยไม่รู้ตัว เพราะไม่ใช่ประหยัดเพื่อคนอื่น แต่ประหยัดเพื่อตนเอง เพราะฉะนั้น ความประหยัดที่เก็บทรัพย์เพื่อตนเอง ก็ต้องเป็นผู้ตรงที่เป็นความติดข้อง เป็นอกุศลธรรมในขณะนั้น ครับ

แต่ขณะใด ที่คิด เก็บเงิน เพื่อ ให้ทาน เพื่อประโยชน์กับผู้อื่น ขณะนั้น จิตคิดถึงประโยชน์ ในทางกุศลธรรม ขณะนั้นเป็นความประหยัด ด้วย จิต ที่เป็นกุศลธรรม ครับ

เพราะฉะนั้น ความแตกต่างของ ความตระหนี่ กับ ความประหยัด เป็นดังนี้ คือ

1.ความตระหนี่ เป็นอกุศลธรรม เท่านั้น แต่ ความประหยัด เป็นได้ทั้ง กุศลธรรม และ อกุศลธรรม

2.ความตระหนี่ ที่เป็นอกุศลธรรม เป็น ตระกูลโทสะ แต่ถ้าเป็นความประหยัด ที่เป็นอกุศลธรรม เป็นประเภท โลภะ ครับ

3.ประหยัดโดยไม่ตระหนี่ก็ได้

เพราะฉะนั้น จึงต้องพิจารณาที่สภาพธรรม คือ จิตเป็นสำคัญ ในขณะนั้น ครับว่าเป็นกุศล หรือ อกุศล และ เป็นโลภะ หรือ โทสะ จึงจะสามารถกล่าวได้ว่า เป็นตระหนี่ หรือ ประหยัด ครับ นี่คือความละเอียดลึกซึ้งของพระธรรม

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 5 มี.ค. 2557

ตระหนี่ ไม่ดี เป็นอกุศล ประหยัด เป็นกุศล หรือ อกุศล ก็ได้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
j.jim
วันที่ 6 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
papon
วันที่ 8 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 9 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ