จัณฑาลสูตร ... วันเสาร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗

 
มศพ.
วันที่  16 มี.ค. 2557
หมายเลข  24586
อ่าน  2,083

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ

ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ

สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ

••• ... .. ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••

... สนทนาธรรมที่ ...


มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (มศพ.)

พระสูตร ที่จะนำมาสนทนาที่มูลนิธิฯ ในวันเสาร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๗ คือ


จัณฑาลสูตร

... จาก ...

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๗๓

... นำสนทนาโดย ...

ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ คณะวิทยากร

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๗๓

๕. จัณฑาลสูตร

(ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว)

[๑๗๕] ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน? คือ อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ถือมงคล ตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม ๑ แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ สนับสนุนในศาสนานั้น ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑ ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑ ทำการ สนับสนุนในศาสนานี้ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.

จบจัณฑาลสูตรที่ ๕

อรรถกถาจัณฑาลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน จัณฑาลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปาสกปฏิกิฏฺโ ได้แก่ เป็นอุบาสกชั้นต่ำ.

บทว่า โกตุหลมงฺคลิโก คือ เป็นผู้ประกอบด้วยอารมณ์ที่ได้เห็น ได้ฟัง ได้ลิ้ม เป็นมงคล ได้แก่ ตื่นข่าว เพราะเป็นไปได้อย่างนี้ว่า สิ่งนี้จักมีได้ด้วยเหตุนี้

ดังนี้. บทว่า มงฺคล ปจฺเจติ โน กมฺม ได้แก่ มองดูแต่เรื่องมงคล ไม่มองดูเรื่องกรรม.

บทว่า อิโต จ พหิทฺธา ได้แก่ ภายนอกจากศาสนานี้.

บทว่า ปุพฺพการ กโรติ ได้แก่ กระทำกุศลกิจมีทานเป็นต้นก่อน.

จบอรรถกถาจัณฑาลสูตรที่ ๕


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 16 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความโดยสรุป

จัณฑาลสูตร

(ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว)

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงลักษณะของอุบาสกไม่ดี กับ ลักษณะของ อุบาสกที่ดี ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ดังนี้ ผู้ไม่มีศรัทธา ทุศีล เชื่อมงคลตื่นข่าว แสวงหาเขตบุญนอกศาสนานี้ และ ทำการสนับสนุนในศาสนานั้น ย่อมเป็นอุบาสกไม่ดี เศร้าหมอง น่าเกลียด ส่วนผู้ที่มีศรัทธา มีศีล เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ไม่แสวงหาเขตบุญ นอกศาสนานี้ และทำการสนับสนุนในศาสนานี้ ย่อมเป็นอุบากที่ดี เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก

ขอเชิญคลิกศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

สมชื่อว่าชาวพุทธ

มงคลตื่นข่าว - ความมั่นคงในกรรมและผลของกรรม

หน้าที่ชาวพุทธ

หน้าที่ของอุบาสกและอุบาสิกา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 16 มี.ค. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Chalee
วันที่ 17 มี.ค. 2557

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pamali
วันที่ 19 มี.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
เมตตา
วันที่ 20 มี.ค. 2557

...ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 20 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
j.jim
วันที่ 20 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
orawan.c
วันที่ 21 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 22 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Jans
วันที่ 23 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ