ควรสนทนาธรรมกันหรือไม่

 
one_someone
วันที่  28 มี.ค. 2557
หมายเลข  24643
อ่าน  1,036

ความเข้าใจของแต่ละคน ย่อมแตกต่างกันไป ควรหรือไม่ที่จะสนทนาธรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความเข้าใจ ระหว่างมิตรสหายหรือผู้ที่สามารถเกื่้อกูลได้


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาัสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เชิญอ่านความเห็นของท่านอาจารย์สุจินต์ ดังนี้ครับ

ผู้ถาม เรียนถามว่าการอ่านกับการฟัง อย่างไหนจะสงบกว่ากัน

สุ. อ่านเพื่อสงบหรืออ่านเพื่ออะไร

ผู้ถาม อ่านเพื่อความเข้าใจธรรม

สุ. เพราะฉะนั้นทำไมถึงถามว่าสงบกว่ากัน

ผู้ถาม คือการใช้จักษุหรือการใช้โสตจะทำให้สงบ

สุ. เอาสงบประเภทไหน

ผู้ถาม ทางกาย จิตครับ

สุ. ต้องละเอียด กุศลทุกประเภทสงบ แต่ว่าระดับของความสงบต่างกัน ประกอบด้วยปัญญาหรือว่าไม่ประกอบด้วยปัญญา

อ. ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาพระธรรมไม่ว่าจะเป็นจากการฟังหรือจากการอ่าน เป็นประโยชน์ทั้งนั้น และเราก็ไม่ต้องเลือกว่าอย่างใดจะทำให้เกิดความสงบหรือเกิดความเข้าใจมากกว่ากัน แล้วแต่โอกาส แล้วแต่จังหวะที่ว่าอะไรเป็นโอกาสของกุศลที่ว่าเข้าใจจากการอ่าน เข้าใจจากการฟัง

สุ. ประโยชน์ของการอ่านก็มี ประโยชน์ของการไตร่ตรองธรรมก็มี แต่ถ้าเราอยู่เพียงลำพังความคิดของเราก็เป็นไปเฉพาะตัว แต่ว่าถ้าเราได้มีการร่วมสนทนาก็จะทำให้มีความคิดกว้างขวาง เพราะเหตุว่าได้ฟังความคิดความเข้าใจของบุคคลอื่นด้วย ก็มีการสนทนาเรื่องนี้เมื่อวานนี้ก็พูดถึงเรื่องการฟังวิทยุ การอ่านหนังสือและก็การติดต่อทางอินเตอร์เน็ต ก็มีผู้ที่บอกว่าแม้กระนั้นก็ยังไม่เท่ากับได้มีโอกาสสนทนากัน เพราะเหตุว่าได้มีการฟัง ได้มีการแลกเปลี่ยน ได้มีการรู้ว่าความละเอียดของธรรมส่วนไหนที่บุคคลได้พบ และอีกคนหนึ่งก็ไปพบส่วนอื่น ก็จะทำให้มีความเใจชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้นประโยชน์ก็คือว่าสนทนาธรรมจะทำให้ได้รับครบถ้วนทุกอย่างด้วย เพราะต่างคนก็ต่างไปอ่านมา ไตร่ตรองมา ก็ยังมีโอกาสได้แลกเปลี่ยน ได้เพิ่มเติมความรู้ด้วย

----------------

ซึ่งหากไม่มีการสนทนาหรือสอบถามจากผู้รู้แล้ว ก็จะไม่เข้าใจพระธรรมได้ถูกต้อง เพราะคิดเองครับ ดังเช่นพระสูตรที่กล่าวไว้ว่า ควรเข้าไปหา ไปนั่งใกล้และสอบถามย่อมทำให้เข้าใจพระธรรมถูกต้อง

ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และเข้าไปนั่งใกล้ แต่ไม่สอบถามเพียงใด ธรรมเทศนาของตถาคตย่อมไม่แจ่มแจ้งเพียงนั้น แต่เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา... และสอบถาม เมื่อนั้นธรรมเทศนาของตถาคตย่อมแจ่มแจ้ง

----------------

ที่สำคัญปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เพียงแค่ฟังเท่านั้น แต่ต้องสนทนา สอบถามจากผู้รู้เพื่อเข้าใจถูกต้องครับ

เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ........เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราว.......ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้งและบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว.

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nattawan
วันที่ 28 มี.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 28 มี.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม ย่อมไม่ละเลยโอกาสสำคัญที่จะทำให้ตนเองได้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พิจารณาไตร่ตรองในคำที่ได้ยินได้ฟัง หรือ ถ้าเกิดความสงสัย ก็สนทนาสอบถามเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริง ตรงตามความเป็นจริง และที่น่าพิจารณา คือถ้าไม่ได้สนทนาในสิ่งที่มีจริงเพื่อเข้าใจถูกในสิ่งที่มีจริงๆ ก็ไม่ชื่อว่าสนทนาธรรมแต่เป็นการสนทนาพูดคุยกันในเรื่องอื่น ครับ

....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
j.jim
วันที่ 28 มี.ค. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nopwong
วันที่ 29 มี.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
one_someone
วันที่ 29 มี.ค. 2557

สิ่งสำคัญ ในการสนทนาธรรม

คือ

การเป็นผู้ตรงต่อพระธรรม และ เพื่อเข้าใจธรรมถูกต้องด้วยใช่ไหมครับ

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
napachant
วันที่ 2 เม.ย. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ