วิหิงสาวิตกให้ผลอย่างไรคะ

 
ดวงทิพย์
วันที่  30 เม.ย. 2557
หมายเลข  24788
อ่าน  11,058

วิหิงสาวิตกคือการคิดประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่นให้ผลอย่างไรบ้างคะ * ___ *


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 เม.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิตก คือ สภาพธรรมที่ตรึก นึกคิด พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า วิตก เป็นดั่งเช่น เท้าของโลก คือ เที่ยวไปในอารมณ์ ในสิ่งต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า ตรึกนิดไปในอารมณ์ต่างๆ มากมาย ดังนั้นคำว่า วิตก โดยภาษาที่เข้าใจกันทางโลก ก็มักหมายถึง วิตกกังวล ความเครียด คือ ความวิตก แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิตกเจตสิกเกิดกับจิตเกือบทุกประเภท และ เกิดกับอกุศลจิตด้วย ทั้งโลภะ โทสะ ก็เช่นกัน วิตกก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ไม่ใช่เฉพาะขณะที่ทุกข์ใจ เครียดหรือกลัว จะเป็นอกุศลวิตก เท่านั้น ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดง ความวิตก 3 ประการ ดังนี้

1.กามวิตก 2.พยาปาทะวิตก 3.วิหิงสาวิตก

วิหิงสาวิตก หมายถึง ความคิดที่ตรึกไปในการเบียดเบียน เช่น คิดว่า ขอสัตว์นั้นจงถูกฆ่า จงพินาศ เป็นต้น

ซึ่งถ้าหากคิดในใจ ไม่ได้ทำร้ายทางกาย วาจา ก็ไม่ให้ผล เกิดวิบาก แต่ ถ้าล่วงออกมาทางกาย วาจา ที่มีเจตนาเบียดเบียนเขา จนถึง มีการฆ่า การด่า ว่าร้าย อันเกิดจากมีความคิดเบียดเบียน วิหิงสาวิตก อย่างนี้ ย่อมให้ผล เกิดวิบากได้ คือ เกิดในอบายภูมิ มี นรก เป็นต้น ครับ ขออนุโมทนา

เชิญอ่านคำบรรยายท่านอาจารย์สุจินต์ได้ที่นี่ ครับ

วิ. อีกส่วนหนึ่งก็คือเรื่องของ “วิตก” ทรงแสดงวิตกไว้ ๓ คือ กามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก ความต่างกัน คือพยาปาทวิตกกับวิหิงสาวิตกเป็นลักษณะคล้ายๆ โทสะ ลักษณะของสองอย่างนี้จะต่างกันอย่างไร

สุ. ก็ต้องเป็นโทสะ เพราะว่าจริงๆ แล้วถ้ากล่าวถึงพยาปาทในภาษาไทย พอเราได้ยินแล้วรู้สึกว่าแรง มีกำลังมาก ไม่ใช่เพียงขั้นโกรธ พยาบาทด้วย นี่คือเราเข้าใจความหมายในภาษาไทย แต่ถ้าอย่างละเอียด เราก็จะรู้ได้ว่าความโกรธต่างระดับจะเอาคำไหนมาใช้ แต่แม้ว่าเราจะใช้คำที่แสดงถึงความโกรธต่างระดับก็จริง จะตรงกับที่เราคิดหรือเปล่า หรือว่ามีความที่ละเอียดต่างกันไปอีก อย่างพระโสดาบันละพยาปาทหรือเปล่าที่เป็นมโนกรรม

วิ. ยัง

สุ. เห็นไหม แล้วเราจะไปคิดว่าพระโสดาบันจะพยาบาทระดับไหน นี่ก็เป็นความต่างกัน เพราะฉะนั้นการเบียดเบียนก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงว่าเมื่อมีโทสะถึงระดับนั้นก็ต้องใช้อีกคำหนึ่งให้รู้ว่าไม่ใช่เป็นแต่เพียงพยาปาท

ผู้ถาม กรณีที่เราจำความไม่ดีที่คนอื่นเขาปฏิบัติต่อเรา ไม่ลืม แต่ว่าไม่พยาบาทอันนั้นจะเรียกว่าอะไร

สุ. ต้องการเรียกหรือว่าความจริงเป็นอย่างนั้น

ผู้ถาม ความจริงเป็นอย่างนั้น

สุ. ความจริงเป็นอย่างนั้น จำก็คือจำ เพราะว่าคุณวิจิตรก็บอกเองใช่ไหมแต่ไม่พยาบาทหมายความว่าเวลาที่เราจำได้ และก็คิดถึงเรื่องนั้นจิตใดที่คิดเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลนี่ก็ประการหนึ่ง โกรธหรือเปล่า หรือยังขุ่นใจ มากหรือน้อยนั่นอีกเรื่องหนึ่ง หนือว่าคิดถึงจำได้ แต่ว่าไม่เหมือนกับตอนที่เราได้ยินแล้วโกรธมากในขณะนั้น เพราะฉะนั้นธรรมเป็นเรื่องจริง เพียงแต่คำจะมีมากหลากหลายที่จะทำให้เราค่อยๆ พิจารณาว่าเมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนั้น แต่การที่จะมีคำอื่นที่กล่าวถึงก็ต้องแสดงถึงระดับขั้นเหมือนอย่างวิตกทึ่คุณวิชัยกล่าวถึงเมื่อกี้นี้ วิตกเกิดกับสัมปฏิจฉันนจิต หลังจากที่จิตเห็นดับแล้ว จิต ๑๐ ดวงไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพราะว่าเป็นการประจวบกันของสภาพธรรมโดยกรรมเป็นปัจจัยที่จะให้แม้จักขุปสาทก็ยังไม่ดับ รูปที่เกิดซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะก็ยังไม่ดับกระทบกัน แล้วเป็นกาลที่จะมีจิตเห็นซึ่งเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้วก็ทำให้เกิดวิถีจิตซึ่งเป็นจิตเห็นเกิดขึ้น ขณะที่เห็นขณะนั้นไม่มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่จิตที่เกิดก่อนปัญจทวาราวัชชนจิตก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แม้สัมปฏิจฉันนจิตที่เกิดต่อก็มีวิตกเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่จะเป็นสัมมาสังกัปปะเหมือนอย่างมรรคมีองค์ ๘ หรือเปล่า นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความต่างระดับว่าแม้จะเป็นวิจกเจตสิกมีชื่อหลายอย่างก็ต้องเข้าใจตามความหมายด้วย วิตกเจตสิก ใครก็เปลี่ยนสภาพของวิตกเจตสิกให้เป็นวิจารเจตสิกหรือเจตสิกอื่นไม่ได้ วิตกเจตสิกก็เป็นวิตกเจตสิก แต่เกิดเมื่อไหร่ กำลังรู้อารมณ์อะไร ประกอบด้วยเจตสิกระดับไหน เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจเวลาที่ใช้สัมมาสังกัปปะ เราก็ไม่ได้ไปคิดถึงวิตกที่เกิดกับสัมปฏิจฉันนะหรือว่าวิตกที่เกิดกับปัญจทวาราวัชชนจิต ขณะนี้มีวิตกเจตสิกไหม

ผู้ถาม ก็มีสลับไปบ้าง

สุ. มีเมื่อไหร่ หลังจากเห็นแล้ว จิตที่เกิดต่อมีวิตกเจตสิก อันนั้นเป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดพร้อมกับสติสัมปชัญญะหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องไปคิดถึงชื่อสัมมาสังกัปปะ เพราะเหตุว่าตอนนั้นที่ใช้สัมมาสังกัปปะเพราะเกิดร่วมกับ ทิฏฐิและสัมมาสติ และมรรคมีองค์อื่น

ผู้ถาม สรุปแล้ววิตกจะเป็นโลภะก็ได้

สุ. วิตกเป็นโลภะไม่ได้ วิตกเป็นเจตสิกที่ตรึกจรดในอารมณ์ ไม่ว่าจะเกิดเมื่อไหร่ ถ้าพูดถึงวิตกเจตสิก ต้องรู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิตได้เกือบทั้งหมดเว้นจิตอะไรบ้างเท่านั้น

อ. คุณวิชัยได้กล่าวว่าสังกัปปะหรือวิตกเกิดกับจิตได้กี่ประเภทบ้าง เพราะว่าคงจะไม่ใช่เฉพาะกับโลภะอย่างเดียว

วิ. วิตกเจตสิกก็คือเว้นไม่เกิดกับทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง

อ. ทีนี้ระดับของวิตกนั้นก็แล้วแต่ว่าจะไปเกิดกับอกุศลจิตประเภทใด และมีกำลังมากกำลังน้อยอย่างไร ทำให้หลากหลายเป็นกามวิตกบ้าง ก็คือวิตกที่เกิดกับโลภมูลจิต พยาปาทวิตก เกิดกับโทสมูลจิต และก็วิหิงสาวิตกก็เกิดกับโทสมูลจิต แต่ว่าตรึกไปถึงการเบียดเบียน

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

ธิ. ที่เราโกรธ เรียกว่าโทสะ คือแสดงออกไปเลย แต่หลังจากนั้นมีการคิดถึงเรื่องนั้นและก็ยังไม่พอใจบุคคลนั้นอยู่ก็เรียกว่าเริ่มที่จะเป็นพยาปาท แต่ถ้าเริ่มที่จะมีกำลังมากๆ คิดที่จะปองร้ายเขา และถ้ามีการล่วงออกมามากกว่านั้นอีก มีการกระทำ เช่นคิดจะไปว่าเขา เมื่อใดที่มีการเบียดเบียนเขาด้วยวาจาจริงๆ ตรงนั้นก็เรียกว่าสำเร็จแล้วเป็นพยาปาททางมโนกรรม และก็ล่วงทางวจี แต่ถ้ามีการคิดปองร้ายเขาแต่ไม่ได้ล่วงทางวาจาต่างๆ ก็เป็นเพียงแค่ความคิดอยู่ ท่านอาจารย์คะ ไม่ได้ล่วงทางกายวาจาจะเป็นการสำเร็จเป็นกรรมไหม ถ้าเพียงแค่คิด

สุ. ก็มีองค์ของอกุศลกรรมบถทั้งหมดว่าเป็นกรรมประเภทไหน

ธิ. พยาปาท ถ้าพูดถึงตามองค์ก็จะมีแค่องค์ ๒ เท่านั้นเอง

สุ. องค์ ๒ เกิดแล้วใช่ไหม และทำอะไรหรือเปล่า

ธิ. ก็ยังไม่ได้ทำ

สุ. ก็แสดงให้เห็นว่าองค์ ๒ ก็จะทำให้เราสามารถที่จะรู้ว่ากรรมนั้นเป็นกายกรรมหรือว่าเป็นมโนกรรม

ผู้ถาม พยาปาทกับผูกโกรธและปริยุทถานุสัย จะเรียนถามท่านอาจารย์กิเลสทั้งสามขั้นตอน

สุ. ชื่อนี่ ให้ทราบเพื่อที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดกับเราหรือว่าต้องการจะเรียกชื่อ อย่างเวลาที่เกิดขุ่นใจ เอ๊ะนี่ชื่ออะไรนะ ชื่อปฏิฆะ หรือว่าชื่อโทสะ หรือว่าเป็นพยาปาท และยังมีชื่ออื่นอีก วิหิงสาหรือเปล่า ก็เป็นการที่พยายามจะคิดถึงชื่อ จริงๆ แล้วแม้แต่ลักษณะของโทสะมี เรารู้หรือเปล่า เรารู้เพียงชื่อหรือว่าเรารู้ลักษณะ โดยที่ว่าไม่คำนึงถึงชื่อเลย ถ้าลักษณะที่ขุ่นใจไม่สบายใจเกิดขึ้น เรารู้แล้วว่าถ้าจะคิดถึงเวทนาๆ ขณะนั้นตรงข้ามกับโสมนัสหรืออุเบกขา แต่ว่าเป็นความไม่สบายใจเลย เพราะเหตุว่าในขณะนั้นมีความขุ่นใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม ถ้าเราโกรธมากกว่านั้นอีก เราจะนึกถึงชื่อไหมว่าเปลี่ยนชื่อหรือยัง จากโทสะมาเป็นพยาปาทหรือยัง หรือรู้ว่าลักษณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นลักษณะอย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นใดๆ ก็ตามที่ลักษณะที่ประกอบด้วยความรู้สึกที่ไม่สบายใจทั้งหมด พอกลัว เอ๊ะ นี่อะไร จะชื่อปฏิฆะหรือว่าจะชื่อโทสะ หรือว่าจะชื่อพยาปาท ไม่สำคัญเลย เพราะเหตุว่าเรามัวกังวลหรือว่าคิดถึงเรื่องชื่อ แต่การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมลืมไม่ได้เลยในสัมัยก่อนโน้น ๒๕๐๐ กว่าปี ผู้ฟังเข้าใจ เพราะเหตุว่ามีลักษณะของสภาพธรรมกำลังปรากฏ ไม่ว่าจะใช้ชื่อใด จะใช้ว่าปฏิฆะ พยาปาท วิหิงสา ก็คือลักษณะของโทสะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ขณะที่โทสะกำลังเกิด มีลักษณะที่จะให้รู้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่เรา ลักษณะนั้นต่างกับลักษณะอื่น เพราะฉะนั้นก็เป็นเพียงสภาพธรรมลักษณะหนึ่งเท่านั้น ที่กว่าเราจะคุ้นเคยว่าไม่ใช่เราเพราะเป็นลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนั้นจะไม่มีชื่อ เพราะว่าเราคุ้นกับชื่อกับคิดเรื่องชื่อ แต่ว่าเราไม่ได้คุ้นกับลักษณะ เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราก็สามารถจะรู้ความต่างว่าการศึกษาธรรมเพื่อเข้าถึงลักษณะธรรมที่เป็นอนัตตาที่ไม่ใช่เรา เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีก็คงมีผู้ที่ได้ไปเฝ้าและได้ฟังพระธรรม แต่ความเข้าใจลักษณะของธรรมจะมีมากน้อยแค่ไหน จะติดตามมาจนกระทั่งถึงแม้ได้ยินได้ฟังอีก มีความเข้าใจในลักษณะของสภาวธรรมนั้นว่าเป็นธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน หรือว่าพะวงเรื่องชื่อเหมือนอย่างที่เคยได้ฟังชื่อต่างๆ มาตั้งเป็นพันๆ ปีก็ได้ เพราะฉะนั้นดิฉันคิดว่าถ้าเรามีความรู้เวลาที่เราอ่านพระธรรม ได้ยินชื่อต่างๆ รู้ว่านี่เป็นโทสะ หรือว่าได้ชื่อต่างๆ และก็รู้ว่านี่ไม่ใช่โทสะแต่เป็นวิตก เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง หรือว่าอีกประการหนึ่งนั่นไม่ใช่วิตก นี่เป็นวิจาร หรือว่านั่นเป็นโลภะ หรือนั่นเป็นมัจฉริยะ นั่นคือเราเรียกชื่อภาษาบาลี แต่ลักษณะนั้นไม่มีว่าจะต้องเป็นภาษาไหนเลย ถ้าเกิดริษยาต้องใช้คำในภาษาบาลีหรือเปล่า เอ๊ะ นี่ชื่ออิสสา ไม่ต้องนึกถึงเลย เพราะลักษณะนั้นก็เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นลักษณะที่อิสสาภาษาบาลี ถ้าจะใช้คำในภาษาไทย บางคนอาจจะใช้คำอิจฉา แต่ความจริงแล้วถ้าเป็นภาษาบาลี อิจฉาเป็นลักษณะของโลภะ นี่ก็คือการที่จะต้องเข้าใจในคำที่ได้ยิน แต่ว่าลึกกว่านั้นก็คือว่าเข้าใจในลักษณะซึ่งเราผ่านไปเรื่อยๆ เพราะว่าเรามัวคิดถึงชื่อ เพราะฉะนั้นถ้าในขณะนี้เราจะเข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 1 พ.ค. 2557

ขอบคุณคะ อนุโมทนาคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 1 พ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิหิงสาวิตก มีจริงๆ เป็นธรรม เป็นอกุศลธรรม คือ วิตักกเจตสิก เกิดร่วมกับจิตที่เป็นอกุศล ประเภทที่มีโทสะเกิดร่วมด้วย ดังนั้น จึงเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ตราบใดที่ยังไม่สามารถดับความโกรธ ความขุ่นเคืองใจได้อย่างหมดสิ้น ก็ยังมีเหตุปัจจัยทำให้ความโกรธเกิดขึ้นเป็นไป ความตรึกไปด้วยความโกรธก็เกิดพร้อมกันในขณะนั้น แต่เมื่อยังไม่ถึงขั้นประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่นทางกาย ทางวาจา ก็ยังไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากในภายหน้า แต่สะสมเป็นอุปนิสัยที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่จะประมาทไม่ได้ เพราะอกุศล จะมาก จะมีกำลังได้ ก็มาจาก น้อยๆ นี้เอง

การเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ว่าจะด้วยกาย ด้วยการประทุษร้าย โดยประการต่างๆ หรือ แม้แต่การเบียดเบียนด้วยคำพูด อย่างเช่น คำพูดที่พูดไปแล้วทำให้ผู้ฟังไม่สบายใจ คำด่า รวมไปถึงคำพูดที่เป็นการเหน็บแนม เสียดสี เป็นต้น นั้น เป็นเรื่องของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลส เป็นธรรมฝ่ายที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นเป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล เพียงคิดที่จะเบียดเบียนคนอื่น คิดไม่ดีกับคนอื่น ก็ไม่ดีแล้ว ขณะนั้นเป็นกุศลธรรมที่เกิดขึ้นทำร้ายจิตใจของตนเอง ยิ่งถ้าล่วงเป็นทุจริตกรรม มีการประทุษร้ายคนอื่นเกิดขึ้น ทางกาย ทางวาจา ด้วยแล้ว นั่นเป็นกุศลกรรม เมื่อกุศลกรรมให้ผล ก็ให้ผลที่ไม่ดีกับตนเอง เท่านั้น ในเมื่อเป็นกรรมที่ตนเองได้กระทำ ก็ต้องเป็นตนเองเท่านั้นที่ได้รับผลของกรรม

การเบียดเบียนผู้อื่น เป็นสิ่งที่ไม่ควรโดยประการทั้งปวง เพราะเจตนาเบียดเบียนผู้อื่น นั่นแหละที่จะเบียดเบียนตนเอง เพราะเป็นอกุศลของตนเอง ก็ย่อมให้โทษแก่ตนเอง ดังนั้น พึงเป็นผู้ใคร่ครวญด้วยปัญญา เห็นว่า สิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นทางกาย หรือ ทางวาจา ตนเองไม่ชอบฉันใด คนอื่นก็ย่อมจะเป็นฉันนั้น คือไม่ชอบเช่นเดียวกัน แล้วละสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้นเสีย ไม่พึงเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกายและด้วยวาจาเพราะเหตุว่า มีสิ่งควรทำ สิ่งที่ควรพูดอีกมากมายซึ่งเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ จึงควรทำ และพูดแต่สิ่งทีดี เท่านั้น ถ้าเป็นผู้รักตนจริงๆ แล้ว ก็จะต้องเป็นคนดี ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมกับฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกต่อไป เพราะสิ่งจะเป็นที่พึ่ง เป็นประโยชน์จริงๆ ย่อมไม่พ้นไปจากความดี และการเข้าใจพระธรรม ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 1 พ.ค. 2557

คิดเบียดเบียนในใจเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่อกุศลกรรม ไม่ใหผล ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 1 พ.ค. 2557

ขอบพระคุณคะ__/|\__:-D

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 1 พ.ค. 2557

ขอบพระคุณคะ__/|\__:-D

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 1 พ.ค. 2557

ขอบพระคุณคะ__/|\__:-D

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
bigcat001
วันที่ 17 ก.พ. 2565

สาธุ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ