วัณณรูปในลักษณะที่สวย หรือน่ารัก

 
นิรมิต
วันที่  9 พ.ค. 2557
หมายเลข  24829
อ่าน  1,517

มีความสงสัยขอเรียนถามดังนี้ครับ

สงสัยว่า วัณณรูปบางรูป แสดงออกมาโดยอาการที่เราเห็นแล้วรู้สึกว่า แบบนี้สวย

วัณณรูปบางรูป แสดงออกมาโดยอาการที่เราเห็นแล้วรุ้สึกว่า แบบนี้เรียกว่าน่ารัก

หรือบางวัณณะรูป ก็แสดงออกมาโดยอาการที่เราเห็นแล้วรู้สึกว่า แบบนี้หล่อ แบบนี้ดูดี แบบนี้ให้อารมณ์ลักษณะนั้นๆ นี้ๆ

สอบถามว่า เข้าใจอย่างนี้ถูกไหม

วัณณรูปทั้งหลายที่เกิดจากกุศลกรรมมีความสวยงามต่างๆ กัน (ในกรณีนี้ ขออนุญาตยกตัวอย่างวัณณรูปเฉพาะที่เป็นกุศลวิบาก คือรูปที่งามอย่างเดียว) อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว

และเมื่อจิตกระทบวัณณรูปนั้น รูปนั้นเมื่อเป็นอารมณ์ของจิตอยู่ เพราะเหตุว่ามีลักษณะสวยงามต่างๆ กัน จึงยังผลให้โลภมูลจิตที่เกิดที่ชวนวิถี รับรู้รูปนั้นด้วยโลภะลักษณะแผลกๆ กันไป

เช่นรู้สึกว่าน่ารักบ้าง สวยบ้าง หล่อบ้าง โดยที่ ขณะที่รู้ว่าน่ารัก หรือสวย หรือหล่อ ขณะนั้นเป็นบัญญัติแล้ว

ทีนี้ สงสัยว่า

ก่อนจะถึงบัญญัติ การจะรู้ได้ว่า รูปนี้คือน่ารัก รูปนี้คือสวย

ต้องมีลักษณะของสภาพธรรมก่อนหน้านั้น ที่มีสภาพอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นรูปที่น่ารัก ต้องมีลักษณะประหนึ่งว่า ฟูขึ้น สดใส คือ ยังไม่เป็นความหมาย ยังไม่ถึงนามบัญญัติ แต่มีลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดกับจิต คือเห็นแล้ว จิตฟูขึ้น สดใส

ถ้าเป็นรูปที่สวย ต้องมีลักษณะประหนึ่ง บาดตา บาดใจ กรีดหัวใจ

เป็นอารมณ์ต่างๆ กัน ต่อนั้น นามบัญญัติจึงเกิด ทราบว่า แบบนี้คือน่ารัก แบบนี้คือสวย

สงสัยว่า ลักษณะนั้นๆ เป็นลักษณะหนึ่งของโลภเจตสิก หรือเวทนาเจตสิก หรือเป็นเจตสิกอื่นครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 พ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในความเป็นจริง รูปก็มีลักษณะ ความประณีตละเอียดแตกต่างกันไป ทั้งรูปที่เป็นอิฏฐารมณ์ รูปที่ดี ก็มีแบ่งระดับรูปที่ดี มากๆ และ รูปที่ดีไม่ถึงมากก็มี และ อนิฏฐารมณ์ รูปที่ดี ที่เกิดจากอกุศลวิบากเป็นปัจจัย ก็มีรูปที่หยาบมากๆ และ ไม่ถึงกับหยาบมาก ก็เป็นอนิฏฐารมณ์ ครับ

ซึ่ง รูปที่ดี เมื่อเห็นแล้ว แม้ในตัวอย่างในพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าทรงได้รับรสที่ดี รสอาหารที่ประณีต แต่ พระองค์ก็ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดโลภะ แต่ก็ทรงแสดงกับภิกษุทั้งหลายว่า เป็นรสที่ประณีต เกิดโสมนัสเวทนาในขณะนั้น ด้วยกิริยาจิต ที่ไม่ติดข้อง แม้เพียงยังไม่ได้รู้ว่าเป็นบัญญัติ เป็นรสอาหารอะไร แต่ เป็นเพียงรสที่ประณีตเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นโลภะ ที่จะทำให้เป็นการแบ่งรูปที่ดี และ รูปที่ดี แต่เพียงรับรู้อารมณ์ที่ดี จิตนั้นก็รู้รูปที่ดีแล้ว ส่วน จิตต่อไป ทางชวนจิต ก็จะติดข้อง หรือไม่ติดข้องก็ได้ หากแต่ว่า จิตได้รู้รูปที่ประณีตแล้ว ตามกุศลวิบากที่ประณีตในขณะนั้นครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 10 พ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วัณณรูป เป็นสิ่งที่สามารถปรากฏได้ทางตา ปรากฏเมื่อกระทบกับจักขุปสาท วัณณรูป ก็เป็นเพียงสิ่งปรากฏได้ทางตา เป็นสภาพที่ไม่รู้อารมณ์อย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ฉะนั้น วัณณรูปหรือสิ่งที่ปรากฏทางตาจึงไม่ใช่รูปร่างสัณฐาน ความหมายที่รู้จากสิ่งปรากฏทางตานั้น ก็ไม่ใช่วัณณรูป แต่เป็นบัญญัติซึ่งจิตทางมโนทวารคิดตามหลังจากที่จิตเห็นวัณณรูปทางตาดับไปแล้ว ตามความเป็นจริง แล้ว รูปธรรม เป็นรูปธรรม ไม่ใช่สภาพรู้ไม่ใช่ธาตุรู้ ไม่มีอำนาจบังคับบัญชาให้ผู้หนึ่งผู้ใดติดข้อง แต่ที่ติดข้องเป็นเรื่องของกิเลสที่ได้สะสมมา เป็นเรื่องของบุคคลผู้ที่ยังมีกิเลส แต่สิ่งที่น่าพิจารณาเพิ่มเติม คือ รูปร่างกาย ไม่เป็นประมาณ เพราะแม้จะมีรูปงาม แต่ถ้าประพฤติไม่ดี โกรธ ประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่น เป็นต้น ก็ไม่งามเลย, เพราะขณะที่งาม น่ารัก คือ ขณะที่คุณความดีเกิดขึ้น เป็นกุศล ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 10 พ.ค. 2557

ขณะที่ปัญญาเกิดไม่ติดข้องในสิ่งที่ปรากฏทางตา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
nong
วันที่ 13 พ.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ